เศรษฐศาสตร์จุลภาค

vition........

ลาว ประเทศลาว ลงทุนในประเทศลาว เศรษฐกิจประเทศลาว ผู้นำเข้าประเทศลาว ลาว นับตั้งแต่ลาวได้รับสถานะความสัมพันธ์ทางการค้าแบบปกติ (Normal Trade Relation : NTR) จากสหรัฐอเมริกาในปี 2547 ส่งผลให้อัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากสินค้าส่งออกของลาวลดลง ส่งผลดีแก่การส่งออกของลาวต่อไป นอกจากนี้ การที่ลาวได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) จากประเทศคู่ค้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา ทำให้การส่งออกของลาว มีลู่ทางสดใสยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของลาวที่ถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ รองจากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ไม้และแร่ต่างๆ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังก่อให้เกิดการจ้างงานในลาวกว่า 25,000 คน ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนลาวด้วย ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกของลาวอีกประการหนึ่ง คือ การส่งออกมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของลาว โดยสินค้าส่งออกของลาวมาไทยที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ คิดเป็นสัดส่วน 42% ของการส่งออกทั้งหมดของลาวมายังไทย รองลงมา ได้แก่ เชื้อเพลิงอื่นๆ (สัดส่วน

32%) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ (สัดส่วน 16.8%) ตามลำดับ ลาวนำเข้าสินค้าจากไทย ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนและส่วนประกอบ ข้าว ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เซรามิค เคมีภัณฑ์ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป ลักษณะของผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าของลาว ปัจจุบันมีดังนี้ บริษัทของรัฐ (State-Owned Company): เป็นหน่วยงานของรัฐใช้ชื่อว่า ลาวขาเข้า- ขาออก (Societe Lao Import-Export) โดยกระทรวงการค้าของลาวเป็นผู้ดูแลและกำกับโดยการนำเข้าและส่งออกจะเป็น สินค้าที่จำเป็นต่อการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ บริษัทเอกชน (Private Company) : เป็นบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าตามประเภทและหมวดที่ยื่น ขอ และได้รับอนุญาตจากรัฐแล้วเท่านั้น โดยในลาวจะมีบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและส่งออกประมาณ 200 บริษัท โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทนายหน้านำเข้าและส่งออกสินค้าซึ่งคิดค่าบริการร้อย ละ 1 ถึง 3 พ่อค้าชายแดน (Border Merchant) : เป็นผู้ที่ทำการค้าขายตามแนวชายแดนทั้งที่จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออก ตามแนวชายแดนหรือเป็นร้านค้าแผงลอยที่รับจ้างขนส่งสินค้า พ่อค้าชายแดนเหล่านี้จะมารับใบสั่งซื้อสินค้าตามร้านค้า และมินิมาร์ทในกรุงเวียงจันทน์ทุกวันและทำการขนสินค้าจากชายแดนไทยมาจัดส่ง ให้ร้านค้าและมินิมาร์ทดังกล่าว การชำระเงินในการซื้อขายสินค้าระหว่างไทย-ลาว การชำระเงินโดยการใช้ระบบการเปิด L/C (Letter of Credit) : ส่วนใหญ่เป็นการชำระเงิน จากรัฐบาลไทยในการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากลาว การชำระด้วยเงินสด : คือ เงินบาทของไทย และเงินกีบของลาวซึ่งการซื้อขายระหว่างไทย-ลาว จะนิยมชำระเป็นเงินบาทมากกว่าเงินกีบ เนื่องจากการจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของรัฐบาลลาวและค่าเงินกีบ ไม่มีเสถียรภาพ การชำระเงินโดยใช้ระบบ T/T (Telegraphic Transfer) : เป็นระบบของการไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยผู้ส่งออกไทยจะส่งสินค้าไปให้ผู้นำเข้าลาวโดยให้เครดิต (ระยะเวลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์) เมื่อครบกำหนดเครดิตผู้นำเข้าลาวจะโอนเงินกลับมาให้ผู้ส่งออกของไทย การชำระเงินโดยระบบ D/A (Document Against Acceptance) : ผู้ส่งออกของไทยจะตรวจสอบฐานะของผู้นำเข้าลาวจนเป็นที่พอใจแล้วจะส่งสินค้า ไปให้ผู้นำเข้าลาว พร้อมส่งเอกสารการออกสินค้า (Shipping Documents) ให้ธนาคารในลาว เพื่อการชำระเงิน ผู้นำเข้าของลาวจะต้องนำเงินมาชำระสินค้าที่ธนาคารก่อน จึงจะได้รับเอกสารเพื่อนำไปออกสินค้าจากคลังสินค้าได้ ช่องทางการจำหน่าย สินค้าสำคัญที่เป็นที่ต้องการของตลาดลาว ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในตลาดลาวของผู้นำเข้าจำแนกตามประเภทสินค้าได้ ดังนี้ สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Product) ผู้นำเข้าลาวจะนำสินค้าเข้าไป โดยกระจายสินค้า ให้กับผู้ค้าส่งผู้ค้าปลีกในตลาดต่างๆ ของลาว หรือให้พนักงานขายจำหน่ายโดยตรงไปตามจังหวัดและแขวงต่างๆ วัสดุก่อสร้าง ผู้นำเข้าสินค้าประเภทนี้ จะมีทั้งที่เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว (Sole Agent) และเป็นตัวแทนจำหน่ายทั่วไป (Distributor) โดยผู้นำเข้าสินค้าจะสั่งตรงจากผู้ผลิตหรือผ่านตัวแทนจำหน่ายในจังหวัดชาย แดนของไทย เพื่อกระจายสินค้าต่อไปยังผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้นำเข้าจะเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทในไทยหรือประเทศ อื่นๆ (Authorized Distributor) และจะมีการแต่งตั้งตัวแทนขายในจังหวัดต่างๆ (Dealer) ช่องทางการกระจายสินค้าผ่านแดน การส่งสินค้าไปสู่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ผู้นำเข้าลาวจะนำสินค้าจากไทยเข้าทางด่านบึงกาฬ จังหวัดหนองคายตรงข้ามกับแขวงบอลิคำไซของลาว และจากด่านมุกดาหารตรงข้ามกับด่านของลาวที่แขวงสะหวันนะเขต โดยใช้เส้นทางหมายเลข 8 และเส้นทางหมายเลข 9 ของลาว และขนส่งสินค้าผ่านต่อไปทางด้านเมืองวินห์กับเมืองดานังของสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม การส่งสินค้าเข้าไปสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้นำเข้าของลาวจะนำเข้าสินค้าจากด่านเชียงของ จังหวัดเชียงราย เข้าสู่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของลาว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 3 เข้าสู่จีนตอนใต้ ณ เมืองเชียงรุ้ง จุดการค้าและเส้นทางการค้า จุดการค้าที่สำคัญในตลาดลาวจะเป็นเมืองใหญ่ๆ ของลาว ได้แก่ กรุงเวียงจันทน์ จำปาสัก หลวงพระบาง และสะหวันนะเขต เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากและเป็นเมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจ ของลาว เส้นทางการค้าในลาวจะใช้เส้นทางคมนาคมที่มีอยู่ในประเทศ ดังนี้เส้นทางคมนาคมทางบก การขนส่งสินค้าทางบกนั้นลาวจะใช้ทางรถยนต์ เนื่องจากลาวยังไม่มีระบบการขนส่งทางรถไฟ ปัจจุบันเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างประเทศที่สำคัญของลาว ได้แก่ 1) ถนนสายที่ 6 ระหว่างเมืองจำเหนือกับเมืองสบเสาติดชายแดนเวียดนาม 2) ถนนสายที่ 13 เชื่อมระหว่างเมืองหลวงพระบางผ่านกรุงเวียงจันทน์ เข้าสะหวันนะเขตจนถึงชายแดนกัมพูชา และผ่านเข้าถึงท่าเรือโฮจิมินห์ของเวียดนาม 3) ถนนสายที่ 7,8,9 เป็นถนนที่เชื่อมภาคตะวันออกของลาวกับภาคตะวันตกของเวียดนามโดยเฉพาะสาย 8 และสาย 9 เป็นสายเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อไทย-ลาว-เวียดนาม 4) ถนนสายที่ 10 เริ่มจากเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ไปยังด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานีของไทย 5) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว จากจังหวัดหนองคายของไทยเข้าไปบริเวณท่านาแล้ง กรุงเวียงจันทน์ ของลาว เส้นทางคมนาคมทางน้ำ เนื่องจากลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล การคมนาคมทางน้ำที่ใช้ คือ การคมนาคมในแม่น้ำโขง ได้แก่ 1) ท่าข้ามบริเวณจังหวัดหนองคายตรงข้ามกับเมืองท่าเดื่อของกรุงเวียงจันทน์ 2) ท่าข้ามบริเวณบึงกาฬ จังหวัดหนองคายตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ 3) ท่าข้ามบริเวณจังหวัดนครพนมตรงข้ามเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน 4) ท่าข้ามบริเวณจังหวัดมุกดาหารตรงข้ามแขวงสะหวันนะเขต 5) ท่าข้ามบริเวณเชียงคาน จังหวัดเลยตรงข้ามเมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์ 6) ท่าข้ามบริเวณเชียงแสน จังหวัดเชียงรายตรงข้ามบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว เส้นทางคมนาคมทางอากาศจากลาวที่สำคัญ ได้แก่ 1) กรุงเวียงจันทน์ - กรุงเทพฯ 2) กรุงเวียงจันทน์ - พนมเปญ 3) กรุงเวียงจันทน์ - คุนหมิง 4) กรุงเวียงจันทน์ - โฮจิมินห์ 5) กรุงเวียงจันทน์ - ฮานอย 6) กรุงเวียงจันทน์ - เชียงใหม่ สนใจประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้นำเข้า ในประเทศ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า ติดต่อ Business Trade Online LP. 02-944-1083 Hotline 081-441-6987 ผู้จัดทำโฆษณาในสมุดโทรศัพท์ หน้าเหลืองประเทศเวียดนาม www.yp.com.vn หน้าเหลืองประเทศลาว www.laoyp.com หน้าเหลืองประเทศกัมพูชา www.yellowpages-cambodia.com หน้าเหลืองประเทศพม่า www.myanmarteldir.com สนใจประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้นำเข้าในประเทศ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า ติดต่อ 02-944-1083/081-441-6987 Business Trade Online LP. สนใจประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้นำเข้า ในประเทศ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า ติดต่อ 02-944-1083 Hotline 081-441-6987 Business Trade Online LP. ผู้จัดทำโฆษณาในสมุดโทรศัพท์ หน้าเหลืองประเทศเวียดนาม www.yp.com.vn หน้าเหลืองประเทศลาว www.laoyp.com หน้าเหลืองประเทศกัมพูชา www.yellowpages-cambodia.com หน้าเหลืองประเทศพม่า www.myanmarteldir.com

DOWNLOADFREE

Read more!

0 Response to "ลาว ประเทศลาว ลงทุนในประเทศลาว เศรษฐกิจประเทศลาว"

Post a Comment

Followers