เศรษฐศาสตร์จุลภาค

vition........

ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี
แหล่งนำเข้าที่สำคัญ : ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เสื้อ ผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ ในปี 2548 ลาวส่งออกสินค้าเป็นมูลค่าประมาณ 379 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 2
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : รถจักรยานยนต์และ ส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค ในปี 2548 ลาวนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่าประมาณ 541 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 0.21 (หมายเหตุ : สถิติการนำเข้า-ส่งออกดังกล่าวไม่รวมถึงการค้าชายแดนซึ่งมีปริมาณประมาณร้อย ละ 25-30 ของมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก)
ทรัพยากรสำคัญ : ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า

การลงทุน : รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการ ลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน
สภาพเศรษฐกิจ : ข้อมูลจากกรมเอเชียตะวันออก ของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ระบุไว้ว่า ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับโดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการ ตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
ในปี 2548 สปป.ลาวมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 7.2 เพิ่มจากร้อยละ 6.6 ในปี 2547 ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 190,000 เฮกตาร์ (1,187,500 ไร่) และผลิตข้าวได้ 2.6 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล สปป.ลาวได้อนุมัติสัมปทานโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเหมืองแร่ (ทองคำ ทองแดง ดีบุก ถ่านหิน สังกะสี ยิปซั่ม) โครงการผลิตซีเมนต์และเหล็กในหลายพื้นที่เพื่อเพิ่มการส่งออก ด้านการคมนาคมขนส่ง การก่อสร้างถนนเชื่อมโยงลาวกับประเทศในอนุภูมิภาคมีความคืบหน้าอย่างมาก ถนนที่สร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ ถนนหมายเลข 9 (ไทย-ลาว-เวียดนาม) และถนนหมายเลข 18 B (ลาว-เวียดนามตอนใต้) ในขณะที่ถนนหมายเลข 3 (ไทย-ลาว-จีน) ถนนหมายเลข 8 และหมายเลข 12 (ไทย-ลาว-เวียดนาม) จะแล้วเสร็จในปี 2550
ความร่วมมือด้านการค้า การค้าไทย-ลาวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2549 การค้าไทย-ลาว มีมูลค่ารวม 57,583.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.63 จากปี 2548 ที่มีมูลค่าการค้า 40,092ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค ยานพาหนะและอุปกรณ์ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ ได้แก่ ไม้และไม้แปรรูป เชื้อเพลิง สินแร่โลหะ ทั้งนี้ที่ประชุมกำหนดแผนความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทย-ลาว ระหว่างวันที่ 25-27 ธันวาคม 2549 ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าสองฝ่ายเป็น 2 เท่า และเพิ่มมูลค่าการส่งออกจากลาวไปไทยเป็น 3 เท่า ภายในปี 2553 ความร่วมมือด้านการลงทุน ไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในลาวมากที่สุด ในช่วงปี 2544-2548 มีบริษัทไทยได้รับอนุมัติโครงการลงทุนในลาวจำนวน 102 โครงการ มูลค่าประมาณ 606.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาขาที่มีการลงทุนมาก ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ขนส่งและโทรคมนาคม ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ธนาคาร อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เครื่องนุ่งห่มและหัตถกรรม
อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การขาดดุลการค้าที่สูง การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
สภาพสังคม : ปัญหา ยาเสพติดเป็นประเด็นที่รัฐบาล สปป.ลาวให้ความสำคัญในลำดับต้นและ ประสบความสำเร็จในการขจัดพื้นที่การปลูกฝิ่นในลาวให้หมดสิ้นไปภายในปี 2548 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้รวมทั้งได้จัดทำแผนขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพิ่มมากขึ้นเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาชนบท ป้องกันไม่ให้ประชาชนหวนกลับไปปลูกฝิ่นอีก สำหรับปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหา ความไม่รู้หนังสือของประชาชน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และปัญหาการเก็บกู้กับระเบิดที่ตกค้าง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่การเกษตรและเป็นสาเหตุสำคัญประการ หนึ่งของการเสียชีวิตของประชากรลาว


DOWNLOADFREE

Read more!

0 Response to "สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการจ้างงานของประเทศลาว"

Post a Comment

Followers