เศรษฐศาสตร์จุลภาค

vition........


โลกทรรศน์ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ มติชนรายวัน วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1335
ตอนนี้มีการอ้างกติกาบ้าง ธุรกิจล้วนๆ บ้าง ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่เวลานี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลและธุรกิจขนาดใหญ่ก็กำลังอ้าง ว่ากันตามจริง การทุจริตในบรรษัทขนาดใหญ่ทางด้านพลังงาน Enron ของสหรัฐจนเกิดการล้มละลายเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการอ้างกติกา ธุรกิจล้วนๆ ความโปร่งใสว่าไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะในบรรษัทขนาดใหญ่ระดับโลก
ในทางตรงกันข้าม นักรัฐศาสตร์อย่างผมกำลังสงสัย เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งอยู่เบื้องหลังบรรษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะ บรรษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง และบริษัทกึ่งเอกชนกึ่งรัฐชินคอร์ปว่า
จะเป็นการเปิดศักราชใหม่ของรูปแบบการจัดการทางเศรษฐกิจ ระบบการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกครั้งสำคัญ

ดีลแห่งศตวรรษ : เบื้องหน้า
ตลอดระยะเวลาที่บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ซื้อกิจการบริษัทกึ่งเอกชนกึ่งรัฐชินคอร์ป ผู้บริหารบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสิงคโปร์ไม่เคยให้สัมภาษณ์ใดๆ ถึงเรื่องนี้เลย จนกระทั่งเริ่มมีการรณรงค์ต่อต้านสินค้ากลุ่มบริษัทชินคอร์ป และอาจจะรวมถึงสินค้าของบริษัทสิงคโปร์ในประเทศไทย
บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง และรัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ได้ว่าจะมีการประท้วงจากประชาสังคมในประเทศไทย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรสำหรับเขา การดีลที่เล็กกว่านี้ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประชาสังคมในประเทศเหล่านี้ได้ประท้วงมาแล้ว แล้วการประท้วงนี้ก็เงียบไปเอง
แต่ที่นี่ประเทศไทย
บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์และรัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ผิด และกำลังปากกล้า ขาสั่น
9 มีนาคม 2549 เจ้าหน้าที่สถานทูตสิงคโปร์ในประเทศไทยกล่าวยืนยันว่า การดีลระหว่างทางบริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง และบริษัทชินคอร์ปเป็นการทำธุรกิจล้วนๆ เป็นการดำเนินการของภาคเอกชนและไม่ใช่ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล เจ้าหน้าที่สถานทูตสิงคโปร์ยังกล่าวต่อไปว่า บริษัทสิงคโปร์ทำธุรกิจในประเทศไทยต้องทำตามกฎหมายไทย (http:www.channelnewsasia.com/stories/singaporebusinessnews/view/197008/1/.html)
ต่อมา นาย Gordon Koh จากสถานทูตสิงคโปร์เขียนจดหมายถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Nation เป็นทำนองว่า คนสิงคโปร์กำลังตกเป็นเป้าหมายอย่างไม่มีเหตุผลโดยผู้ประท้วงชาวไทยที่ไม่มีความรับผิดชอบ รายการโทรทัศน์ของเรา (สิงคโปร์) รายงานการประท้วงนอกสถานทูตของสิงคโปร์ในกรุงเทพฯ ผู้ประท้วงต้องการให้รัฐบาลสิงคโปร์หยุดการซื้อ-ขายระหว่างบริษัทชินคอร์ปกับบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง
ถ้าข้อเสนอนี้ล้มเหลวพวกผู้ประท้วงจะต่อต้านต่อไปและหาหนทางต่อต้านสินค้าสิงคโปร์
นาย Gordon Koh กล่าวต่อไปว่า คนสิงคโปร์ทำผิดอะไร การทำธุรกิจกับคนไทย ใครก็ตามตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางธุรกิจอย่างเดียวล้วนๆ ไม่ว่าพลเมืองคนไหนก็ตามที่คอร์รัปชั่นหรือไม่ก็ตาม เขาไม่ได้คอร์รัปชั่นภายในประเทศของเรา ถ้าคุณคนไทยต้องการให้เราชาวสิงคโปร์ ไม่ทำธุรกิจกับคนที่คอร์รัปชั่นในประเทศของคุณ เราคนสิงคโปร์ต้องมองเห็นเหตุการณ์ที่แสดงว่าเขาคอร์รัปชั่น ทักษิณไม่ได้ถูกพิสูจน์ในศาลต่อข้อกล่าวหาว่าเขาคอร์รัปชั่น
หนังสือพิมพ์ Straits Times ได้ตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ของประธานาธิบดีสิงคโปร์ นายลี เซียว ลุง (Lee Hsien Loong) ว่าบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ซื้อบริษัทชินคอร์ปเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจ เขากล่าวถึงบริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ว่า เราสนับสนุนให้บริษัทก้าวสู่ภูมิภาค เราส่งเสริมให้บริษัทมีการลงทุนระยะยาวในประเทศเพื่อนบ้านของเรา เพราะเรามีความมั่นใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเพื่อนบ้านของเรา
นี่เป็นความเห็นครั้งแรกของประธานาธิบดีสิงคโปร์หลังจากที่การประท้วงในกรุเทพฯ โดยคนหลายหมื่นคนที่ต่อต้านนายกฯ ทักษิณ ผู้ประท้วงกำลังต้องการให้บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ยกเลิกการซื้อกิจการของบริษัทชินคอร์ป
ทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักการทูตตลอดจนถึงประธานาธิบดีสิงคโปร์ต่างยืนยัน กติกาบ้างและธุรกิจล้วนๆ บ้าง
หากดูพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมืองของสิงคโปร์ในเอเชีย รวมทั้งไทยจะมองสิ่งที่อยู่เบื้องหลังกติกา และธุรกิจล้วนๆ มากมาย
ดีลแห่งศตวรรษ : เบื้องหลัง
ไทยเป็น Strategic partner ของสิงคโปร์ จริงอยู่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง เป็นบริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ที่ลงทุนในเอเชียเป็นจำนวนมาก คือ ลงทุนในจีน อินเดีย ไต้หวัน มาเลเซียและไทยโดยมีการลงทุนครอบคลุมหลายด้านได้แก่ กลุ่มบริษัทดีบีเอสเน้นการลงทุนด้านบริการการเงิน เช่น ธนาคารในฟิลิปปินส์ ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุของไทย
การลงทุนทางด้านพลังงานโดยผ่านบริษัทเคพเพล กรุ๊ป ลงทุนด้านพลังงานและไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา อาเซอร์ไบจานและฟิลิปปินส์ อีกกลุ่มหนึ่งคือ สิงเทล เป็นหัวหอกการลงทุนในด้านสื่อสารโทรคมนาคมอันได้แก่ ออปตัสของออสเตรเลีย พีที บูกากาของอินโดนีเซีย ภารตี เทเลคอมของอินเดียและบริษัท เอไอเอส ของบริษัทชินคอร์ปในไทย เป็นต้น
แต่เมื่อย้อนกลับมาดูไทยด้วยเหตุผลทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์ ไทยเป็น Strategic partner ของสิงคโปร์มากกว่าประเทศใดๆ
คือเป็นพันธมิตรทั้งทางด้านการลงทุน ธุรกิจ รวมทั้งทางด้านความมั่นคงทางการทหาร
ชินคอร์ปและนโยบายของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดโครงข่ายโทรคมนาคมในอินโดจีน พม่า อินเดีย จีนหมดแล้ว ดังนั้น บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง จึงได้ทั้งการขยายตลาดโทรคมนาคมไปทั่วภูมิภาค อีกทั้งยังได้วงโคจรของไทย จากดาวเทียม Ipstar ของบริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ อันเป็นดาวเทียมบรอดแบรนด์ดวงแรกของโลก ที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจการเอกชน และทางการทหาร
บางคนอาจจะโต้แย้งว่า บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ถือหุ้น 51% ในดาวเทียม Indosat ของรัฐบาลอินโดนีเซียอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2545 แต่การถือหุ้นในดาวเทียมของรัฐบาลอินโดนีเซียช่วยทำให้เราตาสว่างขึ้นว่า แม้กฎหมายอินโดนีเซีย ไม่มีข้อห้ามการถือหุ้นต่างชาติในกิจการโทรคมนาคม คนอินโดนีเซียก็โจมตีการขายชาติของรัฐบาลอินโดนีเซีย
โดยเฉพาะเกลียดและกลัวสิงคโปร์ในความเอาเปรียบด้วย
ถึงกระนั้นก็ตาม อินโดนีเซียแตกต่างจากไทย กล่าวเฉพาะกิจการโทรคมนาคมรัฐบาลสิงคโปร์ โดยบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ทำดีลแห่งศตวรรษเปลี่ยนประเทศไทยเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจสู่อินโดจีน พม่าและจีน
ในแง่ยุทธศาสตร์ทางการทหาร ไทยก็เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของสิงคโปร์ไปแล้ว การบริจาคเครื่องบิน F 16 A/B 7 ลำมูลค่า 1 หมื่นล้านบาทแก่กองทัพอากาศไทย คนฉลาดอย่างสิงคโปร์คงไม่ได้ให้อะไรแก่ใครฟรีๆ การใช้จังหวัดกาญจนบุรี เป็นค่ายฝึกกำลังพล การใช้จังหวัดขอนแก่นเป็นสนามฝึกยิงปืน และการใช้จังหวัดอุดรธานีเป็นสนามฝึกบินคือ
สิ่งที่รัฐบาลทักษิณแลกเปลี่ยนก่อนที่จะมาถึงดีลแห่งศตวรรษมูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาท
นี่เป็นทั้งการตอบสนอง โรคความมั่นคง ของคนสิงคโปร์ที่เป็นประเทศเล็กและกลัวประเทศใหญ่อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย
ในเวลาเดียวกัน ดีลแห่งศตวรรษนี้แก้ปมทางจิตวิทยากลัวไทยลงไปได้
ดีลแห่งศตวรรษ : เบื้องลึก
นี่เป็นดีลแห่งศตวรรษจริงๆ แต่ไม่ใช่เรื่องมูลค่าตัวเงินแต่เป็นตัวแบบของหลายสิ่งหลายอย่าง
ถ้าดีลนี้สำเร็จ รัฐบาลสิงคโปร์จะเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในทางการบริหารจัดการธุรกิจ รัฐบาลสิงคโปร์ สามารถใช้นโยบายของรัฐบาลไทย เป็นปัจจัยการผลิตในโมเดลทางเศรษฐกิจได้ แต่ในด้านกลับกัน นี่เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของมิตรประเทศในกลุ่มอาเซียน
ในแง่ของไทย-สิงคโปร์เราควรศึกษาการวางตัว เป็นนายทุนนายหน้า (comprador) ในยุคโลกาภิวัตน์ จริงๆ กลุ่มทุนโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของไทยอาจจะเป็นเพียงนายทุนนายหน้าของกลุ่มทุนสิงคโปร์ เหนืออื่นใด เราอาจจะชี้ให้เห็น การติดสินบนข้ามชาติ ของกลุ่มทุนสิงคโปร์ที่ทำเหมือนกับทุนในประเทศเจริญแล้วในยุคล่าอาณานิคมและยุคโลกาภิวัตน์
กติกาและธุรกิจล้วนๆ เป็นคำโกหกพกลมทั้งผู้นำไทยและสิงคโปร์



DOWNLOADFREE

เศรษฐศาสตร์

Posted by เศรษฐศาสตร์ On 23:56 0 comments

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ
วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน(เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน
เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจกิจกรรมของตัวแทนปัจเจก เช่นครัวเรือนและหน่วยธุรกิจเป็นต้น 2. เศรษฐศาสตร์มหาภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานรวมและอุปสงค์รวม สำหรับปริมาณเงิน ทุน และสินค้าโภคภัณฑ์
สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรร ทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัด

ด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆ นั่นเอง
ในวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบนี้โอคลาสสิก
ความหมายของเศรษฐศาสตร์
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
โดยทั่วไปก่อนที่จะศึกษาอะไร สิ่งที่ผู้ศึกษาควรจะต้องทราบเป็นลำดับแรกก็คือสาขาวิชานั้นๆเป็นศาสตร์ที่ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด สำหรับการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ก็เช่นเดียวกัน มีผู้รู้ได้ให้คำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้มากมายหลายท่าน อาทิ
อัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงความหมาย ของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้ในหนังสือ Principle of Economics ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ของมนุษย์ทั้งระดับบุคคลและสังคม ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการดำรงชีพให้ได้รับความสุขสมบูรณ์
พอล แซมมวลสัน (Pual Samuelson) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ให้คำนิยามวิชาเศรษฐศาสตร์ว่าคือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่มนุษย์ และสังคมจะโดยใช้เงินหรือไม่ก็ตาม ตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้าและ บริการ และจำหน่ายจ่ายแจกสินค้า และบริการเหล่านั้นไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆในสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ส่วนคำนิยามที่ได้รับความนิยมได้แก่คำนิยามของไลโอเนล รอบบินส์ (Lionel Robbins) ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ An Essay on the Nature and Significance of Economic Science ว่าเศรษฐศาสตร์คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอัน มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
ประยูร เถลิงศรี ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ หลักเศรษฐศาสตร์ ว่าวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาว่ามนุษย์เลือก ตัดสินใจอย่างไรในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสิ่งของและบริการ และแบ่งปันสิ่งของและบริการเหล่านั้นเพื่ออุปโภคและบริโภคระหว่างบุคคล ต่างๆในสังคม ทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคต
มนูญ พาหิระ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ ทฤษฎีราคา ว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาในเรื่อง ที่เกี่ยวกับการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจมาทำการผลิตสินค้าและ บริการเพื่อสนองหรือบำบัดความต้องการของมนุษย์
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของคำว่าเศรษฐศาสตร์ไว้ อย่างไรก็ตาม พอสรุปได้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งโดยทั่วไปมีความ ต้องการไม่จำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ความหมายของเศรษฐศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสารรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด
ที่มาของเศรษฐศาสตร์
คำว่า “เศรษฐศาสตร์” มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- เศรษฐศาสตร์ เป็นความรู้เกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ เพื่อได้มาซึ่งสิ่งของและบริการสำหรับใช้ในการเลี้ยงชีพ เพื่อความคงอยู่ในโลกที่มีอารยธรรม
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตสิ่งของและบริการเพื่อบำบัด ความต้องการของมนุษย์ และจำแนกแจกจ่ายสิ่งของและบริการเหล่านี้ไปยังบุคคลที่ต้องการ
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการดำรงชีวิต โดยศึกษาเป็นหน่วยย่อยหรือส่วนรวมของสังคมว่าหารายได้มาอย่างไรและจะใช้จ่าย ไปอย่างไร
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่าง จำกัด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการที่มนุษย์และสังคมจะโดยมีการใช้เงินหรือไม่ก็ตาม เลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีจำกัดซึ่งอาจนำทรัพยากรนี้ไปใช้ในทางอื่นได้ หลายทาง ผลิตสินค้าต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันและจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าเหล่านั้นไปยังประชาชนทั่วไป และกลุ่มชนในสังคมเพื่อการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต
จะเห็นได้ว่าความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นแตกต่างกันออกไป แล้วแต่จะมองในแง่ใด อย่างไรก็ตามพอสรุปสาระสำคัญได้ว่า เศรษฐศาสตร์ คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการที่มนุษย์และสังคมเลือกใช้วิธีการในการนำเอา ทรัพยากรการผลิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อบำบัดความ ต้องการและหาวิถีทางที่จะจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการที่ผลิตไปยังประชาชน ทั่วไป
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ครอบครัว
เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การที่สังคมจะพัฒนาได้นั้น ต้องอาศัยครอบครัวและมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัว การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ครอบครัวจะช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักตัดสินใจในการเลือกซื้อสิ่งของและบริการที่มีความจำเป็นต่อการดำรง ชีวิต รู้จักวิธีการออมและการลงทุนในลักษณะต่างๆ รู้ภาวะเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงและใช้ความรู้ทาง เศรษฐศาสตร์เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์มีขอบข่ายในเรื่องของการผลิต การบริโภค การแบ่งสรร การแลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือ การกินดีอยู่ดี
ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาเศรษฐศาสตร์
ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ควรมีความรู้เบื้องต้นดังต่อไปนี้
1. ความต้องการ
ความต้องการ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์ และปัญหา
รากฐานทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นด้วยเพราะความต้องการของคนเรามีอยู่มากมาย แต่สิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการตามธรรมชาติได้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ด้วยเหตุที่ความต้องการของคนเรากับสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่สมดุลกัน จึงจำเป็นต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาให้พอกับความต้องการ เมื่อสร้างแล้วก็ต้องหาวิธีแจกจ่ายออกไปเพื่อสนองความต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดปัญหาในด้านการผลิต การขนส่ง การค้า การเงิน การธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมายตามมา ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวเศรษฐศาสตร์จะมีส่วนเข้าร่วมในการแก้ปัญหา ฉะนั้นในขั้นแรกควรได้รู้ลักษณะของความต้องการก่อน ในที่นี้ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น
1.1 ความต้องการโดยทั่วไปไม่มีที่สิ้นสุด ในสมัยโบราณคนเรามีความต้องการเพียงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมในเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์มีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น ต้องการเสื้อผ้าที่ทันสมัย บ้านที่สวยงาม ความต้องการเหล่านี้เมื่อได้มาแล้ว ก็ไม่สิ้นสุด และเกิดความต้องการอื่นๆอีกต่อไป
1.2 ความต้องการเฉพาะอย่าง แม้ว่าความต้องการโดยทั่วไปจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่ความต้องการเฉพาะอย่าง ย่อมมีที่สิ้นสุดได้เสมอ เช่น เมื่อเกิดความหิวก็ย่อมต้องการอาหาร และเมื่อได้รับประทานอิ่มแล้ว ความต้องการก็จะหมดไป
1.3 ความต้องการที่อาจทดแทนกันได้ หมายความว่า เมื่อเราต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะได้สิ่งนั้น เราอาจเลือกหาสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อสนองความต้องการ เช่น เมื่อเราหิวข้าวแต่ไม่มีข้าว เราอาจรับประทานก๋วยเตี๋ยวแทนได้
1.4 ความต้องการที่อาจกลายเป็นนิสัยได้ เมื่อเราต้องการสิ่งใด และสามารถหาสิ่งเหล่านั้นมาสนองความต้องการได้ทุกครั้งไป ในที่สุดจะกลายเป็นนิสัยเลิกไม่ได้ เช่น ผู้ที่ติดกาแฟ เป็นต้น
1.5 ความต้องการที่มีส่วนเกี่ยวพันกัน ความต้องการประเภทนี้ แยกออกจากกันได้ยาก เพราะเป็นส่วนประกอบของกันและกัน เช่น ถ้าต้องการปากกาหมึกซึม ก็ต้องการน้ำหมึกด้วยเป็นต้น




คำว่า เศรษฐศาสตร์
คำว่า เศรษฐศาสตร์ ในภาษาอังกฤษ Economics มาจากภาษากรีก οίκος [ออยคอส] แปลว่า 'ครัวเรือน' และ νομος [นอมอส] แปลว่า 'กฎระเบียบ' ดังนั้นรวมกันแล้วจึงหมายความว่า "การจัดการในครัวเรือน" ; สำหรับภาษาไทย [เศรษฐศาสตร์] แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ และ [ศาสตร์] แปลว่า ระบบวิชาความรู้ มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงแปลว่าวิชาที่ว่าด้วยประสิทธิภาพ)

นิยามของเศรษฐศาสตร์
ถ้าจะให้พูดกันอย่างกว้างๆแล้ว เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการในเรื่องของความต้องการ อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากคำนิยามดังกล่าวแล้วก็ยังมีคำนิยามหลากหลายนับแต่ อดีตจนถึงปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากศัพท์คำว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง จนมาถึงศัพท์สมัยใหม่คือคำว่าเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เคยให้คำนิยามเศรษฐศาสตร์ในฐานะที่เป็น "ศาสตร์เกี่ยวกับการคิด" ซึ่งตามประวัติของเศรษฐศาสตร์นั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับ "ความมั่งคั่ง" จนกระทั่งเป็น "สวัสดิการ" ไปจนถึงการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับภาวะการได้อย่างเสียอย่าง (trade offs) แต่สำหรับสำนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่อย่างนีโอคลาสสิกจะให้ความสนใจเกี่ยวกับ ตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้ และผลกระทบของมันกับระดับราคา
หากจะกล่าวโดยสรุป สามารถกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ให้กับมนุษย์ซึ่งมีความต้องการอย่างไม่จำกัด ศาสตร์นี้จึงให้ความสนใจว่าจะจัดสรรทรัพยากรอะไร ให้กับใคร เท่าใด เมื่อใด และอย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
อุปสงค์และอุปทาน
อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของ ราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิต ได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความ ต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุล
ระดับราคา
ระดับราคาเป็นตัวแปรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวัดการ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน ระดับราคานั้นเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด ดังนั้นทฤษฎีราคาจะกล่าวถึงเส้นกราฟที่แทนการเคลื่อนไหวของปริมาณที่สามารถ วัดค่าได้ ณ เวลาต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างราคากับตัวแปรที่วัดค่าได้อื่นๆ ในหนังสือ ความมั่งคั่งของประเทศชาติ ของ อดัม สมิท ได้กล่าวเอาไว้ว่ามักจะมีภาวะได้อย่างเสียอย่างเสมอระหว่างราคาและความสะดวก สบาย ทฤษฎีทางเศรษฐาสตร์ส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นอยู่บนพื้นฐานของระดับราคาและ ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทาน ในทางทฤษฎีเศรษฐศาตร์แล้วเราสามารถส่งผ่านสัญญาณไปทั่วทั้งสังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยผ่านทางระดับราคา เช่น ระดับราคาที่ต่ำลงจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปทาน ในขณะที่ระดับราคาที่สูงขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ เป็นต้น
แบบจำลองทางเศรษฐศาตร์ในความเป็นจริงหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่ามีรูปแบบ ของ ระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแสดงถึงข้อเท็จจริงที่ระดับราคาไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระใน หลายๆตลาด ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจมักจะเข้ามาแสดงประเด็นโต้แย้งเพื่อให้เห็นถึง สาเหตุของความติดขัดในทางเศรษฐกิจ หรือระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งในที่สุดแล้วก็จะทำให้ไม่สามารถบรรลุ ดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทานได้
มีเศรษฐศาสตร์บางสาขาจะให้ความสนใจว่าระดับราคานั้นสามารถวัดมูลค่าได้ อย่างถูกต้องหรือไม่ ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นกระแสหลักมักจะพบว่าภาวะความขาดแคลนซึ่งเป็น ปัจจัยหลักนั้นไม่ได้สะท้อนลงไปยังระดับราคา จึงอาจจะกล่าวได้ว่ามีผลกระทบภายนอกของต้นทุน ด้วยเหตุที่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดจะทำนายว่าสินค้าที่มีการขาดแคลนแต่มีราคา ต่ำกว่าปกติ จะถูกบริโภคมากเกินพอดี (ให้ดูต้นทุนทางสังคม) นี่จึงเป็นที่มาของทฤษฎีสินค้าสาธารณะ
ชนิดของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Mainstream economics)
เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค(Classical Economics)
เศรษฐศาสตร์ของเคนส์ (Keynesian Economics)
เศรษฐศาสตร์คลาสสิคสมัยใหม่ (Neoclassical Economics)
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)
เศรษฐศาสตร์มหภาค(Macroeconomics)
เศรษฐศาสตร์ทางเลือก (Hetarodox Economics)
เศรษฐศาสตร์แนวมาร์กซ์ (Post Keynesian Economics)
เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economics)
เศรษฐศาสตร์สถาบันแนววิวัฒน์(Evolutionary Institutional Economics)
เศรษฐศาสตร์สถาบันแนวใหม่ (New Institutional Economics)
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Economics)
เศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง(Experimental Economics)
เศรษฐศาสตร์แนวสตรีศึกษา (Feminist Economics)
เศรษฐศาสตร์สังคม (Social Economics)
แหล่งข้อมูลอื่น
Tangnamo.com เว็บเศรษฐศาสตร์สำหรับทุกระดับ
www.pkarchive.org เว็บไซต์ของพอล ครุกแมน
MBE economics เศรษฐศาสตร์ nida mbe 11 นิด้า พัฒนาการเศรษฐกิจ รวมบทความจากแหล่งข่าวต่าง ๆ
รวมงานเขียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ของปกป้อง จันวิทย์

DOWNLOADFREE

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการไปบำบัดความต้องการของมนุษย์อันมีอยู่อย่างไม่จำกัด เศรษฐศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจหน่วยย่อย และเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจส่วนรวม ทั้ง 2 แขนง มีความสัมพันธ์กัน และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ เศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ เช่น บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และจิตวิทยา เป็นต้น
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรคืออะไร และทฤฎีเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น เป็นการศึกษาเพื่อตัดสินว่าคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

การศึกษาเศรษฐศาสตร์ มี 2 วิธี คือ วิธีอนุมาน เป็นการศึกษาจากสาเหตุไปหาผล และวิธีอุปมาน เป็นการศึกษาจากผลเพื่อหาสาเหตุ ทุกสังคมในโลกล้วนมีปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีปัจจัยการผลิตจำกัด ทำให้ต้องมีการตัดสินใจว่า จะใช้ปัจจัยการผลิตนั้นไปเพื่อเลือกผลิตอะไร ใช้กรรมวิธีผลิตอย่างไร และจะแบ่งปันสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปให้ใครบ้าง
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์มาก เพราะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ผลิต เจ้าของปัจจัยการผลิต หรือผู้บริโภค
กิจกรรมชวนคิด
ให้นักศึกษาเสนอความคิดเห็นในฐานะผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า "การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงาน" ส่งอาจารย์มีคะแนนให้

แหล่งอ้างอิง
ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ที่ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี และศูนย์การเรียนรู้ ปวช. อาคารอำนวยการ ชั้น 3 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำพูน

DOWNLOADFREE

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

Posted by เศรษฐศาสตร์ On 23:48 0 comments

ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
คำว่า “เศรษฐศาสตร์” มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- เศรษฐศาสตร์ เป็นความรู้เกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ เพื่อได้มาซึ่งสิ่งของและบริการสำหรับใช้ในการเลี้ยงชีพ เพื่อความคงอยู่ในโลกที่มีอารยธรรม
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตสิ่งของและบริการเพื่อบำบัด ความต้องการของมนุษย์ และจำแนกแจกจ่ายสิ่งของและบริการเหล่านี้ไปยังบุคคลที่ต้องการ
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการดำรงชีวิต โดยศึกษาเป็นหน่วยย่อยหรือส่วนรวมของสังคมว่าหารายได้มาอย่างไรและจะใช้จ่าย ไปอย่างไร
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่าง จำกัด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการที่มนุษย์และสังคมจะโดยมีการใช้เงินหรือไม่ก็ตาม เลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีจำกัดซึ่งอาจนำทรัพยากรนี้ไปใช้ในทางอื่นได้ หลายทาง ผลิตสินค้าต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันและจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าเหล่านั้นไปยังประชาชนทั่วไป และกลุ่มชนในสังคมเพื่อการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต

จะเห็นได้ว่าความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นแตกต่างกันออกไปแล้วแต่จะมองในแง่ใด อย่างไรก็ตามพอสรุปสาระสำคัญได้ว่า เศรษฐศาสตร์ คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการที่มนุษย์และสังคมเลือกใช้วิธีการในการนำเอา ทรัพยากรการผลิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อบำบัดความ ต้องการและหาวิถีทางที่จะจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการที่ผลิตไปยังประชาชน ทั่วไป
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ครอบครัว
เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การที่สังคมจะพัฒนาได้นั้น ต้องอาศัยครอบครัวและมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัว การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ครอบครัวจะช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักตัดสินใจในการเลือกซื้อสิ่งของและบริการที่มีความจำเป็นต่อการดำรง ชีวิต รู้จักวิธีการออมและการลงทุนในลักษณะต่างๆ รู้ภาวะเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงและใช้ความรู้ทาง เศรษฐศาสตร์เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์มีขอบข่ายในเรื่องของการผลิต การบริโภค การแบ่งสรร การแลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือ การกินดีอยู่ดี

ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาเศรษฐศาสตร์

ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ควรมีความรู้เบื้องต้นดังต่อไปนี้

1. ความต้องการ

ความต้องการ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์ และปัญหา

ราก ฐานทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นด้วยเพราะความต้องการของคนเรามีอยู่มากมาย แต่สิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการตามธรรมชาติได้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ด้วยเหตุที่ความต้องการของคนเรากับสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่สมดุลกัน จึงจำเป็นต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาให้พอกับความต้องการ เมื่อสร้างแล้วก็ต้องหาวิธีแจกจ่ายออกไปเพื่อสนองความต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดปัญหาในด้านการผลิต การขนส่ง การค้า การเงิน การธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมายตามมา ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวเศรษฐศาสตร์จะมีส่วนเข้าร่วมในการแก้ปัญหา ฉะนั้นในขั้นแรกควรได้รู้ลักษณะของความต้องการก่อน ในที่นี้ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น

1.1 ความต้องการโดยทั่วไปไม่มีที่สิ้นสุด ในสมัยโบราณคนเรามีความต้องการเพียงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมในเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์มีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น ต้องการเสื้อผ้าที่ทันสมัย บ้านที่สวยงาม ความต้องการเหล่านี้เมื่อได้มาแล้ว ก็ไม่สิ้นสุด และเกิดความต้องการอื่นๆอีกต่อไป

1.2 ความต้องการเฉพาะอย่าง แม้ว่าความต้องการโดยทั่วไปจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่ความต้องการเฉพาะอย่าง ย่อมมีที่สิ้นสุดได้เสมอ เช่น เมื่อเกิดความหิวก็ย่อมต้องการอาหาร และเมื่อได้รับประทานอิ่มแล้ว ความต้องการก็จะหมดไป

1.3 ความต้องการที่อาจทดแทนกันได้ หมายความว่า เมื่อเราต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะได้สิ่งนั้น เราอาจเลือกหาสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อสนองความต้องการ เช่น เมื่อเราหิวข้าวแต่ไม่มีข้าว เราอาจรับประทานก๋วยเตี๋ยวแทนได้

1.4 ความต้องการที่อาจกลายเป็นนิสัยได้ เมื่อเราต้องการสิ่งใด และสามารถหาสิ่งเหล่านั้นมาสนองความต้องการได้ทุกครั้งไป ในที่สุดจะกลายเป็นนิสัยเลิกไม่ได้ เช่น ผู้ที่ติดกาแฟ เป็นต้น

1.5 ความต้องการที่มีส่วนเกี่ยวพันกัน ความต้องการประเภทนี้ แยกออกจากกันได้ยาก เพราะเป็นส่วนประกอบของกันและกัน เช่น ถ้าต้องการปากกาหมึกซึม ก็ต้องการน้ำหมึกด้วยเป็นต้น

DOWNLOADFREE

การประชุมเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา ซึ่งจัดขึ้นที่อรัญประ เทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นไปอย่างชื่นมื่น ผู้พัฒนาโครงการเร่งเสนอสิทธิพิเศษด้านการลงทุนหวังดึงทุนไทยเข้าร่วมพัฒนา พื้นที่เพียบ ทั้งยกเว้นภาษีรายได้นานถึง 9 ปีเปิดเส้นทางขนถ่ายสินค้าเชื่อมเมืองสีหนุวิล ก่อนขยายเส้นทางการค้าสู่ประเทศเวียดนาม ขณะเดียวกันยังขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางขนส่งสินค้าร่วมกัน นายวันชัย เกียรติดำรงวงศ์ รองประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า การประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ จังหวัดสระแก้ว หอการค้าไทย หอการค้าจังหวัดสระแก้ว สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษของประเทศกัมพูชา และบริษัทไซน์ชาย จำกัด ผู้พัฒนาบนพื้นที่ 6 พันไร่ด้านชายแดนประเทศกัมพูชา ซึ่งมีพรมแดนติดกับตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วของไทย เพื่อให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่มีทั้งโซนอุตสาหกรรมและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเมอร์เมท อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วในวันนี้ (22 มีนาคม) เป็นไปอย่างชื่นมื่น บริษัท ไซน์ชาย จำกัด ได้ดำเนินการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้มานานประมาณ 4 ปีแล้ว และในการพัฒนาดังกล่าวรัฐบาลกัมพูชายังได้ทำข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลไทยในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะพัฒนาเส้นทางขนถ่ายสินค้าจากแนวชายแดนจังหวัดสระแก้ว เชื่อมต่อไปยังจังหวัดศรีโสภณของกัมพูชา แต่ยังติดปัญหาเรื่องการ

ปักปันเขตแดนทำให้ไม่มีความคืบหน้า เช่นเดียวกับการยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับ Contact Farmimg ของไทยที่ขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการระบายสินค้าทางการเกษตรของกัมพูชาเป็นอย่าง มาก จนกัมพูชาต้องขอให้หน่วยงานของไทยผลักดันให้สามารถส่งสินค้าดังกล่าวไปยัง ประเทศคู่ค้าอื่นผ่านท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะติดปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี “บริษัทผู้ดำเนินโครงการเข้ามาเสนอแผนผังโครงการ และจัดทำโบชัวร์ต่างๆ เพื่อเชิญชวนให้นักลงทุนไทยที่สนเข้าไปลงทุนในพื้นที่ที่เขาได้พัฒนาไว้ ซึ่งจะสามารถจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้มากถึง 150 โรงงาน โดยรัฐบาลกัมพูชา ได้เสนอสิทธิพิเศษด้านการลงทุนไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิพิเศษ เรื่องการยกเว้นภาษีเงินได้นานถึง 9 ปี และโครงการแห่งนี้ยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากเอกซิมแบงก์ รวมทั้งสิทธิทางภาษีต่างๆ นอกจากนั้นรัฐบาลกัมพูชา ยังพัฒนาเส้นทางขนส่งสินค้าจากเมืองสีหนุวิลไปยังประเทศเวียดนาม เพื่อให้สามารถส่งสินค้าไปขายในประเทศเวียดนามได้อีกด้วย” นายวันชัย ยังเผยอีกว่าก่อนหน้านี้เจ้าโครงการ ยังได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ รวมทั้งคณะกรรมการหอการค้าไทย เดินทางข้ามแดนไปดูพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้แล้ว โดยสามารถสร้างความสนใจให้กับคณะผู้เดินทางได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ประโยชน์ที่นักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนจะได้รับนอกจากสามารถนำผลกำไร กลับสู่ประเทศไทยได้อย่างสะดวกแล้ว ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษยังสามารถที่จะย้ายฐานการผลิตเข้าไป ในพื้นที่แห่งนี้ได้ ที่สำคัญการลงทุนด้านอุตสาหกรรมบางชนิดยังสามารถขอคืนภาษีได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา แต่ก็ไม่มีผลต่อการค้าชายแดนมากนัก เนื่องจากขณะนี้การค้าชายแดนของไทยกำลังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็ง ตัว จนทำให้ราคาสินค้าจากไทยมีราคาสูงขึ้นกว่า 10% ซึ่งคาดว่าในอนาคตหากค่าเงินบาทไทยยังเป็นเช่นนี้ จะทำให้สินค้าจากจีนแดง ที่กำลังเข้าตีตลาดสินค้าไทย จะครอบครองส่วนแบ่งการตลาดสินค้าที่เป็นของไทยได้เกือบหมด

DOWNLOADFREE

ลาว
นับตั้งแต่ลาวได้รับสถานะความสัมพันธ์ทางการค้าแบบปกติ (Normal Trade Relation : NTR) จากสหรัฐอเมริกาในปี 2547 ส่งผลให้อัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากสินค้าส่งออกของลาวลดลง ส่งผลดีแก่การส่งออกของลาวต่อไป นอกจากนี้ การที่ลาวได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) จากประเทศคู่ค้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา ทำให้การส่งออกของลาว มีลู่ทางสดใสยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของลาวที่ถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ รองจากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ไม้และแร่ต่างๆ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังก่อให้เกิดการจ้างงานในลาวกว่า 25,000 คน ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนลาวด้วย
ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกของลาวอีกประการหนึ่ง คือ การส่งออกมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของลาว โดยสินค้าส่งออกของลาวมาไทยที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ คิดเป็นสัดส่วน 42% ของการส่งออกทั้งหมดของลาวมายังไทย รองลงมา ได้แก่ เชื้อเพลิงอื่นๆ (สัดส่วน 32%) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ (สัดส่วน 16.8%) ตามลำดับ

ลาวนำเข้าสินค้าจากไทย
ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนและส่วนประกอบ ข้าว ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เซรามิค เคมีภัณฑ์ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป

ลักษณะของผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าของลาว ปัจจุบันมีดังนี้
บริษัทของรัฐ (State-Owned Company): เป็นหน่วยงานของรัฐใช้ชื่อว่า ลาวขาเข้า- ขาออก (Societe Lao Import-Export) โดยกระทรวงการค้าของลาวเป็นผู้ดูแลและกำกับโดยการนำเข้าและส่งออกจะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
บริษัทเอกชน (Private Company) : เป็นบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าตามประเภทและหมวดที่ยื่นขอ และได้รับอนุญาตจากรัฐแล้วเท่านั้น โดยในลาวจะมีบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและส่งออกประมาณ 200 บริษัท โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทนายหน้านำเข้าและส่งออกสินค้าซึ่งคิดค่าบริการร้อยละ 1 ถึง 3
พ่อค้าชายแดน (Border Merchant) : เป็นผู้ที่ทำการค้าขายตามแนวชายแดนทั้งที่จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออก ตามแนวชายแดนหรือเป็นร้านค้าแผงลอยที่รับจ้างขนส่งสินค้า พ่อค้าชายแดนเหล่านี้จะมารับใบสั่งซื้อสินค้าตามร้านค้า และมินิมาร์ทในกรุงเวียงจันทน์ทุกวันและทำการขนสินค้าจากชายแดนไทยมาจัดส่งให้ร้านค้าและมินิมาร์ทดังกล่าว

การชำระเงินในการซื้อขายสินค้าระหว่างไทย-ลาว
การชำระเงินโดยการใช้ระบบการเปิด L/C (Letter of Credit) : ส่วนใหญ่เป็นการชำระเงิน จากรัฐบาลไทยในการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากลาว
การชำระด้วยเงินสด : คือ เงินบาทของไทย และเงินกีบของลาวซึ่งการซื้อขายระหว่างไทย-ลาว จะนิยมชำระเป็นเงินบาทมากกว่าเงินกีบ เนื่องจากการจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของรัฐบาลลาวและค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ
การชำระเงินโดยใช้ระบบ T/T (Telegraphic Transfer) : เป็นระบบของการไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยผู้ส่งออกไทยจะส่งสินค้าไปให้ผู้นำเข้าลาวโดยให้เครดิต (ระยะเวลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์) เมื่อครบกำหนดเครดิตผู้นำเข้าลาวจะโอนเงินกลับมาให้ผู้ส่งออกของไทย
การชำระเงินโดยระบบ D/A (Document Against Acceptance) : ผู้ส่งออกของไทยจะตรวจสอบฐานะของผู้นำเข้าลาวจนเป็นที่พอใจแล้วจะส่งสินค้าไปให้ผู้นำเข้าลาว พร้อมส่งเอกสารการออกสินค้า (Shipping Documents) ให้ธนาคารในลาว เพื่อการชำระเงิน ผู้นำเข้าของลาวจะต้องนำเงินมาชำระสินค้าที่ธนาคารก่อน จึงจะได้รับเอกสารเพื่อนำไปออกสินค้าจากคลังสินค้าได้

ช่องทางการจำหน่าย
สินค้าสำคัญที่เป็นที่ต้องการของตลาดลาว ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในตลาดลาวของผู้นำเข้าจำแนกตามประเภทสินค้าได้ดังนี้

สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Product)
ผู้นำเข้าลาวจะนำสินค้าเข้าไป โดยกระจายสินค้า
ให้กับผู้ค้าส่งผู้ค้าปลีกในตลาดต่างๆ ของลาว หรือให้พนักงานขายจำหน่ายโดยตรงไปตามจังหวัดและแขวงต่างๆ
วัสดุก่อสร้าง
ผู้นำเข้าสินค้าประเภทนี้ จะมีทั้งที่เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว (Sole Agent)
และเป็นตัวแทนจำหน่ายทั่วไป (Distributor) โดยผู้นำเข้าสินค้าจะสั่งตรงจากผู้ผลิตหรือผ่านตัวแทนจำหน่ายในจังหวัดชายแดนของไทย เพื่อกระจายสินค้าต่อไปยังผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก
เครื่องใช้ไฟฟ้า
ผู้นำเข้าจะเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทในไทยหรือประเทศอื่นๆ
(Authorized Distributor) และจะมีการแต่งตั้งตัวแทนขายในจังหวัดต่างๆ (Dealer)

ช่องทางการกระจายสินค้าผ่านแดน
การส่งสินค้าไปสู่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ผู้นำเข้าลาวจะนำสินค้าจากไทยเข้าทางด่านบึงกาฬ จังหวัดหนองคายตรงข้ามกับแขวงบอลิคำไซของลาว และจากด่านมุกดาหารตรงข้ามกับด่านของลาวที่แขวงสะหวันนะเขต โดยใช้เส้นทางหมายเลข 8 และเส้นทางหมายเลข 9 ของลาว และขนส่งสินค้าผ่านต่อไปทางด้านเมืองวินห์กับเมืองดานังของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

การส่งสินค้าเข้าไปสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้นำเข้าของลาวจะนำเข้าสินค้าจากด่านเชียงของ จังหวัดเชียงราย เข้าสู่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของลาว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 3 เข้าสู่จีนตอนใต้ ณ เมืองเชียงรุ้ง
จุดการค้าและเส้นทางการค้า
จุดการค้าที่สำคัญในตลาดลาวจะเป็นเมืองใหญ่ๆ ของลาว ได้แก่ กรุงเวียงจันทน์ จำปาสัก หลวงพระบาง และสะหวันนะเขต เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากและเป็นเมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจของลาว เส้นทางการค้าในลาวจะใช้เส้นทางคมนาคมที่มีอยู่ในประเทศ ดังนี้เส้นทางคมนาคมทางบก การขนส่งสินค้าทางบกนั้นลาวจะใช้ทางรถยนต์ เนื่องจากลาวยังไม่มีระบบการขนส่งทางรถไฟ ปัจจุบันเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างประเทศที่สำคัญของลาว ได้แก่
1) ถนนสายที่ 6 ระหว่างเมืองจำเหนือกับเมืองสบเสาติดชายแดนเวียดนาม
2) ถนนสายที่ 13 เชื่อมระหว่างเมืองหลวงพระบางผ่านกรุงเวียงจันทน์ เข้าสะหวันนะเขตจนถึงชายแดนกัมพูชา และผ่านเข้าถึงท่าเรือโฮจิมินห์ของเวียดนาม
3) ถนนสายที่ 7,8,9 เป็นถนนที่เชื่อมภาคตะวันออกของลาวกับภาคตะวันตกของเวียดนามโดยเฉพาะสาย 8 และสาย 9 เป็นสายเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อไทย-ลาว-เวียดนาม
4) ถนนสายที่ 10 เริ่มจากเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ไปยังด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานีของไทย
5) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว จากจังหวัดหนองคายของไทยเข้าไปบริเวณท่านาแล้ง กรุงเวียงจันทน์ ของลาว
เส้นทางคมนาคมทางน้ำ
เนื่องจากลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล การคมนาคมทางน้ำที่ใช้ คือ การคมนาคมในแม่น้ำโขง ได้แก่
1) ท่าข้ามบริเวณจังหวัดหนองคายตรงข้ามกับเมืองท่าเดื่อของกรุงเวียงจันทน์
2) ท่าข้ามบริเวณบึงกาฬ จังหวัดหนองคายตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ
3) ท่าข้ามบริเวณจังหวัดนครพนมตรงข้ามเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน
4) ท่าข้ามบริเวณจังหวัดมุกดาหารตรงข้ามแขวงสะหวันนะเขต
5) ท่าข้ามบริเวณเชียงคาน จังหวัดเลยตรงข้ามเมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์
6) ท่าข้ามบริเวณเชียงแสน จังหวัดเชียงรายตรงข้ามบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว

เส้นทางคมนาคมทางอากาศจากลาวที่สำคัญ ได้แก่

1) กรุงเวียงจันทน์ - กรุงเทพฯ
2) กรุงเวียงจันทน์ - พนมเปญ
3) กรุงเวียงจันทน์ - คุนหมิง
4) กรุงเวียงจันทน์ - โฮจิมินห์
5) กรุงเวียงจันทน์ - ฮานอย
6) กรุงเวียงจันทน์ - เชียงใหม่



DOWNLOADFREE

ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี
แหล่งนำเข้าที่สำคัญ : ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เสื้อ ผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ ในปี 2548 ลาวส่งออกสินค้าเป็นมูลค่าประมาณ 379 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 2
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : รถจักรยานยนต์และ ส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค ในปี 2548 ลาวนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่าประมาณ 541 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 0.21 (หมายเหตุ : สถิติการนำเข้า-ส่งออกดังกล่าวไม่รวมถึงการค้าชายแดนซึ่งมีปริมาณประมาณร้อย ละ 25-30 ของมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก)
ทรัพยากรสำคัญ : ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า

การลงทุน : รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการ ลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน
สภาพเศรษฐกิจ : ข้อมูลจากกรมเอเชียตะวันออก ของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ระบุไว้ว่า ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับโดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการ ตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
ในปี 2548 สปป.ลาวมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 7.2 เพิ่มจากร้อยละ 6.6 ในปี 2547 ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 190,000 เฮกตาร์ (1,187,500 ไร่) และผลิตข้าวได้ 2.6 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล สปป.ลาวได้อนุมัติสัมปทานโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเหมืองแร่ (ทองคำ ทองแดง ดีบุก ถ่านหิน สังกะสี ยิปซั่ม) โครงการผลิตซีเมนต์และเหล็กในหลายพื้นที่เพื่อเพิ่มการส่งออก ด้านการคมนาคมขนส่ง การก่อสร้างถนนเชื่อมโยงลาวกับประเทศในอนุภูมิภาคมีความคืบหน้าอย่างมาก ถนนที่สร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ ถนนหมายเลข 9 (ไทย-ลาว-เวียดนาม) และถนนหมายเลข 18 B (ลาว-เวียดนามตอนใต้) ในขณะที่ถนนหมายเลข 3 (ไทย-ลาว-จีน) ถนนหมายเลข 8 และหมายเลข 12 (ไทย-ลาว-เวียดนาม) จะแล้วเสร็จในปี 2550
ความร่วมมือด้านการค้า การค้าไทย-ลาวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2549 การค้าไทย-ลาว มีมูลค่ารวม 57,583.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.63 จากปี 2548 ที่มีมูลค่าการค้า 40,092ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค ยานพาหนะและอุปกรณ์ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ ได้แก่ ไม้และไม้แปรรูป เชื้อเพลิง สินแร่โลหะ ทั้งนี้ที่ประชุมกำหนดแผนความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทย-ลาว ระหว่างวันที่ 25-27 ธันวาคม 2549 ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าสองฝ่ายเป็น 2 เท่า และเพิ่มมูลค่าการส่งออกจากลาวไปไทยเป็น 3 เท่า ภายในปี 2553 ความร่วมมือด้านการลงทุน ไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในลาวมากที่สุด ในช่วงปี 2544-2548 มีบริษัทไทยได้รับอนุมัติโครงการลงทุนในลาวจำนวน 102 โครงการ มูลค่าประมาณ 606.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาขาที่มีการลงทุนมาก ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ขนส่งและโทรคมนาคม ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ธนาคาร อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เครื่องนุ่งห่มและหัตถกรรม
อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การขาดดุลการค้าที่สูง การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
สภาพสังคม : ปัญหา ยาเสพติดเป็นประเด็นที่รัฐบาล สปป.ลาวให้ความสำคัญในลำดับต้นและ ประสบความสำเร็จในการขจัดพื้นที่การปลูกฝิ่นในลาวให้หมดสิ้นไปภายในปี 2548 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้รวมทั้งได้จัดทำแผนขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพิ่มมากขึ้นเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาชนบท ป้องกันไม่ให้ประชาชนหวนกลับไปปลูกฝิ่นอีก สำหรับปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหา ความไม่รู้หนังสือของประชาชน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และปัญหาการเก็บกู้กับระเบิดที่ตกค้าง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่การเกษตรและเป็นสาเหตุสำคัญประการ หนึ่งของการเสียชีวิตของประชากรลาว


DOWNLOADFREE

Followers