เศรษฐศาสตร์จุลภาค

vition........

ธรรมกับภาวะโลกร้อน

Posted by เศรษฐศาสตร์ On 02:17 0 comments

ธรรมกับภาวะโลกร้อน ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารึ. "ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม" ธรรมะที่ข้าพเจ้ากล่าวในที่นี้หมายถึง ธรรมชาติ ธรรมดา ปกติ แต่ปัจจุบันสภาวะอันไม่ปกติกำลังเกิดขึ้นกับชีวิตเราเป็นอันมาก เพราะเรากำลังใช้ชีวิตห่างจากธรรมะ ห่างจากความเป็นธรรมดา ธรรมฃาติ เราจึงต้องประสบกับปัญหาอันยิ่งใหญ่ คือ ภาวะโลกร้อน หรือสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง กำลังบอกเราว่า ไม่มีสัญญาณว่าโลกจะเย็นขึ้นแต่อย่างใด นี่คือความจริงที่ว่า ทำไมมันถึงเกิดขึ้น อะไรคือสาเหตุ และมีผลกระทบกับโลกนี้อย่างไรและหนทางแก้ไขแบบธรรมะจะทำได้อย่างไร ใช่แน่นอน โลกกำลังแสดงสัญญาณหลายอย่างว่า ภาวะอากาศ กำลังเปลี่ยนแปลง • อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.8 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ปี 1880 และส่วนมากเพิ่มขึ้นในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จากข้อมูลของสถาบันวิจัยอวกาศกอดดาร์ดส์แห่งนาซา • อัตราการเพิ่มของอุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2 ทศวรรษในศตวรรษที่ 20 มีปีที่ร้อนที่สุด ในรอบ 400 ปี และเป็นไปได้ว่าที่สุดในรอบ 1000 ปี จากข้อมูลของ IPCC ระบุว่า ใน 12 ปีที่ผ่านมา

มี 11 ปีเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่ปี 1850 • อาร์กติกได้รับผลกระทบมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยในอลาสกา แคนาดาตะวันตก และรัสเซียตะวันออก เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานของ multinational Arctic Climate Impact Assessment ช่วงปี 2000-2004 • น้ำแข็งในอาร์กติก กำลังละลายอย่างรวดเร็ว และอาจไม่มีน้ำแข็งอีกเลย ในฤดูร้อน ปี 2040 หรือเร็วกว่า ชาวพื้นเมืองและหมีขั้วโลกก็กำลังเผชิญกับภัยนี้เช่นกัน • ธารน้ำแข็ง และหิมะบนภูเขา ได้ละลายอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นธารน้ำแข็งในอุทยานแห่งชาติมอนทาน่า ปัจจุบันเหลือเพียง 27 ธารน้ำแข็งจาก 150 เมื่อปี 1910 • ปะการัง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากอุณหภูมิน้ำ ได้ตายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 1998 ปะการังกว่า 70% ขาวซีดในบางพื้นที่ • ภาวะอากาศแปรปรวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น คลื่นความร้อนพายุ และการเกิดไฟป่า อะไรกำลังจะเกิดขึ้น • รายงานของ IPCC ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาระบุว่า ในอนาคต อาจเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำ และภัยพิบัติต่อสัตว์ป่า • ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นระหว่าง 7-23 นิ้ว ซึ่งระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 4 นิ้วก็จะเข้าท่วมเกาะ และพื้นที่จำนวนมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • ผู้คนนับร้อยล้านที่อยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 1 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล อาจะต้องย้ายถิ่น โดยเฉพาะในสหรัฐ รัฐฟลอริดา และหลุยส์เซียนาก็เสี่ยงเช่นกัน • ธารน้ำแข็งละลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำจืดได้ • พายุที่รุนแรง ภาวะแห้งแล้ง คลื่นความร้อน ไฟป่า และภัยธรรมชาติต่างๆ จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติ ทะเลทรายจะขยายตัวทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในบางพื้นที่ • สัตว์นับล้านสปีชี่ส์ จะสูญพันธุ์ จากการไม่มีที่อยู่ ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง และน้ำทะเลเป็นกรด การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร อาจเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งย่อยๆ ในยุโรป และภาวะอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่ • ในอนาคต เมื่อภาวะโลกร้อนอยู่ในขั้นที่ควบคุมไม่ได้ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Positive Feedback Effect ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ถูกเก็บ อยู่ในส่วนชั้นน้ำแข็งที่ไม่เคยละลาย (Permafrost) และ ใต้ทะเลออกมา หรือคาร์บอนที่ถูกน้ำแข็งกับเก็บไว้ ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น มนุษย์เป็นตัวการหรือ จากรายงานของ IPCC มีความเป็นไปได้สูงมาก โดยรายงานนี้จัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์กว่า 2500 คนใน 130 ประเทศ ได้สรุปว่า มนุษย์เป็นตัวการของสาเหตุเกือบทั้งหมด ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน • การทำอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า และการปล่อยมลพิษอย่างมหาศาล ได้เพิ่มความเข้มข้นของไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ในบรรยากาศ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บความร้อนไว้ทั้งสิ้น (ดูข้อมูลเพิ่มเติมว่าโลกร้อนเกิดได้อย่างไร ที่ • มนุษย์กำลังเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ มากกว่าที่ต้นไม้และมหาสมุทรสามารถรับได้ • ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะอยู่ในบรรยากาศไปอีกนาน หมายความว่าการหยุดปล่อยก๊าซเหล่านี้ ไม่สามารถหยุดภาวะโลกร้อนได้ทันที • ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนเกิดเป็นวัฎจักรสม่ำเสมอ ซึ่งเกิดจากปริมาณแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังโลก และเป็นวัฏจักรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในรอบเวลานับแสนปี แต่การเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาแค่เป็นร้อยปี จึงมีผลการวิจัยที่หักล้างทฤษฎีดังกล่าวออกมา สิ่งที่เราสามารถทำได้ง่ายๆแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ตามหลักพุทธศาสนาโดยไม่ต้องลงทุนซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเป็นที่ยอมรับกันแล้ว รวมทั้งทั่วโลกต่างรู้กันดีว่าในคำสอนและการปฏิบัตขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นวิทยาศาสตร์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่าแท้จริง เริ่มจาก เมตตา โปรดแผ่เมตตาให้สัตว์ป่า ปรารถนาให้ทุกคนและสรรพสัตว์มีความสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อยู่ป่าแผ่เมตตาให้สัตว์ร้าย ป้องกันอันตราย และเมตตาต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมปล่อยให้เขาอยู่อย่างธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะเมตตาเราด้วย เราก็จะอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข กรุณา ช่วยไถ่ชีวิตสัตว์ป่า ปล่อยคืนสู่ถิ่น ช่วยกันปลูกต้นไม้ที่มีลูกให้สัตว์ป่ากินในแหล่งที่มีอาหารขาดแคลน ไม่ฆ่าสัตว์ทารุณสัตว์ทรมานสัตว์ ศีลข้อที่หนึ่ง ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางโทษภัย วางของมีคม แล้วมีความละอายต่อการทำบาป มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ "อุโปสถสูตร") นับตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลนานมา พระพุทธองค์ทรงวางนโยบายอนุรักษ์ชีวิตสัตว์โลกเอาไว้แล้ว โดยการกำหนดปฏิบัติที่เรียกว่า "ศีล" ให้แก่ชาวโลกดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากผู้คนพยายามรักษาศีลข้อที่หนึ่งนี้เพิ่มมากขึ้น ปัญหาการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าต่างๆจะลดลง ในป่าจะมีสัตว์อาศัยอยู่ และสัตว์ทั้งหลายก็จะมีป่าให้อยู่ สัตว์กับป่าไม้เป็นสื่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ไปทำสัตว์ป่าให้กลายเป็นสัตว์บ้าน นำมาบังคับใส่กรงขังไว้ แล้วทำลายป่าราบเรียบ สร้างเป็นตึกสูง เป็นห้องแถวอย่าทำให้สัตว์ป่าไร้ป่าอยู่ ซึ่งผิดธรรมชาติของมัน อย่าทำให้ป่าต้องร้างสัตว์อยู่ ซึ่งผิดธรรมชาติของป่า และอย่าทำให้วงจรชีวิตของธรรมชาติ ที่สัตว์กับป่าต้องพึ่งพาอาศัยกัน นั้น ต้องถูกทำลายสมดุล ในตัว ของมันเองไป อันเนื่องมาจากการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์ การข่มเหงบังคับสัตว์อย่างทารุณ ด้วยฝีมือของมนุษย์โปรดช่วยกันเอ็นดู ให้ความเมตตากรุณา และให้ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงบ้างเถิด อย่ารังแกกันเกินไปนักเลย วินัยพระสงฆ์ ห้ามตัดไม้ พรากของเขียว ห้ามขุดดิน ห้ามถ่ายอุจจาระปัสสาวะหรือบ้วนน้ำลายบนต้นไม้หรือในแม่น้ำลำธาร และให้อยู่ตามโคนต้นไม้ วินัยข้อนี้ชี้ชัดเรื่องของการอนุรักษ์ต้นไม้ โดยไม่ให้ภิกษุตัดต้นไม้เอง และไม่บอกคนอื่นตัดต้นไม้ให้ เพื่อรักษาชีวิตของป่าไม้เอาไว้ แล้วป่าช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล ช่วยป้องกันภัยจากน้ำท่วมไหลบ่าได้มาถึงทุกวันนี้ ต้นไม้ขาดแคลนมหาศาล ไม่มีจำนวนเพียงพอฟอกอากาศพิษในเมือง ที่พ่นพิษออกจาก ท่อไอเสียรถ หรือปล่อยพิษออกจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ "ปอดธรรมชาติของโลก" ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง เพราะต้นไม้ถูกมนุษย์ตัดโค่นทำลาย เมืองไทยเคยมีป่าเขตร้อน ปกคลุมพื้นที่อยู่ ๘๐% แต่ทุกวันนี้เหลือไม่ถึง ๒๐% ซึ่งส่วนใหญ่ ถูกทำลายลงเพราะ.... การพัฒนา เศรษฐกิจ-สังคม เลียนแบบประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญแล้วทางเทคโนโลยีทั้งหลายฉะนั้นหากหวังจะหายใจกันได้อย่างปลอดภัย ไม่หวั่นควันพิษจากรถที่จะทำให้สมองเสื่อม หรือทำให้เยื่อหลอดลมอักเสบ หรือทำให้หายใจไม่ออกแล้ว ต้องเร่งช่วยกันปลูกต้นไม้มากๆทั่วประเทศ-ทั่วโลก แล้วอากาศบริสุทธิ์จึงจะกลับคืนมาสู่มนุษยชาติได้อีกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ "ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔ ใช้จนสิ้นซาก จีวรก็เอามาจากผ้าห่อศพ จีวรสวมใส่แล้วเก่าๆ ก็เอามาทำผ้าเช็ดตัว เก่าแล้วก็เอามาทำผ้าเช็ดมือ เก่าแล้วก็เอาไปทำผ้าเช็ดหม้อ เก่าอีกก็เอามาเป็นผ้าถูพื้น เก่าอีกจนรุ่งหริ่ง ก็เอาไปผสมดินปั้นภาชนะ ในชีวิตประจำวันที่บ้านและในโรงงานควรพยายามใช้ประโยชน์จนสิ้นซาก หรือใช้ 4 R คือ Reduce (ลดละเลิก)เป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นทำให้โลกไม่เกิดปัญหาขยะล้นโลก Reuse (นำกลับมาใช้ใหม่)ใช้แล้วใช้อกเปลี่ยนสภาพการใช้จนกว่าจะสลายไปเพื่อไม่ให้เกิดการสิ้นเปลืองธรรมชาติมากเกินความจำเป็น Repair(พยายามซ่อมจนถึงที่สุด แล้วจึงค่อยคิดเปลี่ยน) และ Refill (เอาไปถมที่ดิน)คือการเติมสู่ธรรมชาติอีกสร้างธาตุอาหารให้แก่ดินอีกเพื่อยังประโยชน์แก่ต้นไม้ที่จะเกิดต่อไป การอยู่ในสิ่งแวดล้อมดีเป็นมงคล ในมงคล 38 การอยู่ในสิ่งแวดล้อมดีถือว่าเป็นมงคล คือดีทั้งสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคม จึงไม่ควรทำลายสิ่งที่เป็นมงคลให้เป็นอัปมงคล และควรทำให้สิ่งเป็นมงคลมีมากเพิ่มขึ้น ปฏิจจสมุปบาท “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย” “นายก็พึ่งบ่าว เจ้าก็พึ่งข้า ป่าก็พึ่งเสือ เรือก็พึ่งน้ำ” “เสือพีเพราะป่าปก หญ้ารกเพราะเสือยัง ดินดีเพราะหญ้ายัง หญ้ายังเพราะดินดี” นั่นคือ ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ที่มีการพึ่งพาอาศัยกัน มีทั้งชนิดที่ต่างก็ได้รับประโยชน์ทั้งคู่ ( ภาวะพึ่งพากัน ) และฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์แ... ( ภาวะอิงอาศัย ) ความจำเป็นในการพึ่งพาซึ่งกันในทุกวันนี้ มีสาเหตุมาจากเพื่อทดแทนในส่วนที่ตนขาด หรือไม่มีความสามารถพอ โดยไม่มีจิตที่คิดจะเอาเปรียบกัน จะทำให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติขึ้นได้โยง่าย กตัญญูต่อธรรมชาติ เห็นบุญคุณของธรรมชาติของป่าไม้ ป่านั้นเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ไม่มีแม่น้ำลำธาร เราก็อยู่ไม่ได้ เราก็ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่ได้ พระพุทธรูปปางถวายเนตร เป็นพระประจำวันของผู้เกิดวันอาทิตย์ พระพุทธเจ้าประทับยืนห่างจากต้นมหาโพธิ์ เอาพระหัตถ์ขวาทาบบนพระหัตถ์ซ้าย จ้องพระเนตรไม่กระพริบไปที่ต้นมหาโพธิ์ที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 วัน เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต้นไม้ พุทธประวัติ ประสูติในสวนลุมพินีวัน ตรัสรู้ในป่าใต้ต้นมหาโพธิ์ เดินทางสั่งสอนอยู่ในวัดป่า ชื่อเวฬุวัน ซึ่งเป็นสวนไม้ไผ่ ปรินิพพานในป่าระหว่างต้นสาละคู่หนึ่ง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นทรงใช้ชีวิตที่มีอยู่นั้นอยู่กับธรรมชาติทั้งสิ้น โดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติเลย วนโรปสูตร ในพระไตรปิฎก “ชนเหล่าใด ปลูกป่า ปลูกสวน สร้างสะพาน สร้างโรงน้ำ ขุดบ่อดิน บริจาคอาคารที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นได้บุญตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน” สรุปแล้วความรู้กับข้อปฏิบัติ ที่จะช่วยคุ้มครองโลกให้งดงาม คุ้มครองตนให้ไปสู่ดีนั้น ได้มีมาแต่โบราณกาล อีกทั้งยังมีอยู่แล้วมากมาย แต่จนถึงทุกวันนี้ โลกยิ่งเสียหายยับเยินลงไปทุกที เพราะความวิปริต แปรปรวน ของสภาพแวดล้อมทั้งหลายนั้น ล้วนเกิดจากผลงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น นี่ย่อมแสดงถึง.... ความตกต่ำทางใจ ของมนุษย์ทวีมากขึ้นเป็นลำดับดังนั้นตราบใดที่ยังแก้ไข "ความเลวในหัวใจมนุษย์" ให้เลิกขี้โลภเห็นแก่ตัวไม่ได้ ตราบนั้นอย่าหวังเลยว่า สภาวะสมดุลของธรรมชาติจะเกิดขึ้นได้และตราบใดที่ "หัวใจของคนดี" ท้อถอยต่อการเสียสละ เลิกล้มการสร้างสรรโลก หยุดผงาดขึ้นยืนหยัดต้านภัยพาล ตราบนั้นก็อย่าหวังเลยว่า สังคมโลกนี้จะสวยงามสุขเย็นได้ เพราะโลกนี้ไร้แล้วซึ่งที่พึ่งพิงรอเวลาแหลกสลายจะมาถึงเท่านั้นเองโลกนี้จึงกำลังต้องการคนดีที่ใจเด็ด กล้าทน สร้างกรรมดีสืบไปได้ตลอดตาย เพื่อกอบกู้โลกให้น่าอยู่ยั่งยืนยาวนานถึงที่สุด จะเห็นได้ว่าการลดภาวะโลกร้อนนั้นเราสามมารถทุกคนทำได้ง่ายมากบางครั้งอาจง่ายเกินกว่าที่เราจะคิดถึงเสียอีกเพียงแค่เราทุกคนต่างใช้ชีวิตแบบสงบสุข พอเพียง ไม่เบียดเบียนกันเท่านั้น เราก็จะสามมารถลดภาวะโลกร้อนได้ง่าย จนอาจพูดได้ว้เราไม่ต้องทำอะไรเลยเพียงแต่ใช้ชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเท่านั้น “ อารักขสัมปะทา “ คือขอให้ทุกคน ทุกชุมชน มีนิสัยโน้มเอียงไปสู่การรักษาดูแล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะหากเราให้ทุกข์กับธรรมชาติ ธรรมชาติก็ลงโทษเรา

FROM HER
FROM HER
PROGRAM FREE
DOWNLOADFREE

ป่าฝนเขตร้อนคือความสะพรั่งพร้อมแห่งชีวิตของธรรมชาติในป่า เราจะพบพืชและสัตว์จำนวนมากมาย หลากหลายกว่าแหล่งอื่นใดในโลก เมื่อป่าหมด….ส่วนหนึ่งของความมั่งคั่งสมบูรณ์ของชีวิตก็ค่อยๆ หายไปช้าๆ เอเคอร์ต่อเอเคอร์ วันต่อวัน จากการสูญเสียพันธุ์พืชและสัตว์นี้เอง ทำให้ผลประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวงที่จะบังเกิด แก่มนุษยชาติย่อมสูญเสียไปด้วย เพราะป่าฝนเป็นประดุจคลังอาหาร ยา และทรัพยากรอื่นๆ ถ้าเพียงแต่เรา จะเริ่มค้นหา สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในป่าฝนเขตร้อนได้รับการศึกษาเพื่อค้นหาประโยชน์ของมันไม่ถึงร้อยละ ๑ ด้วยซ้ำ
ป่าฝนเขตร้อนเป็นบ้านของชาวพื้นเมืองนับล้านที่สามารถบอกเล่าความลี้ลับของป่าให้เรารู้ได้ นอกจากนั้น ป่ายังเป็นตัวควบคุมบรรยากาศโลก ช่วยป้องกันไม่ให้โลกร้อนขึ้น อันเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่าปรากฏการณ์ เรือนกระจก ท้ายที่สุดความอุดมสมบูรณ์ของสรรพชีวิตที่ทำให้ป่าฝนมีเอกลักษณ์ ก็คือทรัพยากรของป่านั่นเอง แหล่งพันธุกรรมของป่าฝนซึ่งมีความหลากหลายทางขีวภาพคือรากฐานที่ทุกชีวิต รวมทั้งชีวิตเราเองต้องพึ่งพา เพื่อความอยู่รอด

คนของป่า

ป่าไม้เขตร้อนทั่วโลกเป็นที่อาศัยของคนกว่า ๑๔๐ ล้านคน ส่วนหนึ่งเป็นชาวพื้นเมือง ประมาณการว่า มีชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ กันกว่า ๗๐๐ กลุ่มอาศัยอยู่ในปาปัวนิวกินี ประมาณ ๒๐๐ กลุ่ม อยู่ในที่ลุ่มคองโกเบซิน แห่งอัฟริกา อย่างน้อย ๖๐ กลุ่มอยู่ในโคลัมเบีย รวมทั้งสิ้นแล้วจะมีชนเผ่าต่างๆ อยู่มากกว่า ๑,๐๐๐ กลุ่มที่ยังมีชีวิต อยู่ทั่วโลก หลายกลุ่มยังคงรูปแบบทางวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น ชาวปีนันแห่งมาเลเซีย อีเฟและแซร์ ที่ยังคงล่าสัตว์ และเก็บของป่ายังชีพ

แม้ว่าวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามาทำลายสังคมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องยาวนาน เราก็ไม่อาจปล่อยให้เกิดการ กดขี่ทางวัฒนธรรมต่อไปได้ คนเหล่านี้สมควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เคยเป็นมา เท่ากับที่เราเองก็ควรมีชีวิตอยู่ ตามแบบของเรา ในความเป็นจริงวัฒนธรรมของพวกเขาสมควรแก่การเคารพ ด้วยเหตุที่เป็นวัฒนธรรมอันยั่งยืน ซึ่งหามีไม่ในวัฒนธรรมตะวันตกอัน “ศรีวิไล”

ยิ่งกว่านั้น เราอาจเรียนรู้หลายอย่างจากประเพณี วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่สั่งสมมาของชาวพื้นเมือง เหล่านี้ พวกเขาเป็นทรัพยากรที่ไม่สามรถทดแทนได้ เขาสามารถสอนเราว่าพืชชนิดใดกินได้ พืชชนิดใดเป็นยา วิธีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการชลประทาน รวมถึงวิธีการป้องกันพืชผลจากโรคและแมลงตัวอย่างเช่น ชนเผ่าลัวะทางภาคเหนือของประเทศไทยปลูกพืชอาหาร ๗๕ ชนิด สมุนไพร ๒๑ ชนิด ชนเผ่าฮานุนูในฟิลิปปินส์ ใช้ประโยชน์จากพืชในป่าได้ถึง ๔๓๐ ชนิด ชาวลาคันดอนมายาในเม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ระบบชลประทาน และระบบเกษตรที่ซับซ้อนและเอื้อต่อระะบบปลูกพืชร่วม (inter cropping) และวนเกษตร เทคนิคดังกล่าว ทำให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ในป่าฝนเขตร้อนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พืชอาหารต่างๆ เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่วลิสง อโวคาโด มะม่วงหิมพานต์ และวานิลลา ล้วนเป็นพืชอาหารที่เราเรียนรู้จาก ชาวอินเดียนแดงแห่งลาตินอเมริกา และชุมชนในเขตป่าระยะต้น ชาวพื้นเมืองในป่ายังให้ควินินซึ่งใช้รักษา มาลาเรียแก่เรา รวมทั้งพืชสมุนไพรอื่นที่มีตัวยารักษาโรค


แต่โชคร้ายที่ชาวพื้นเมืองต้องเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผลกระทบจากโลกสมัยใหม่ได้แผ่ขยาย เข้าไปถึง แม้ส่วนที่ห่างไกลที่สุดของป่าฝนเขตร้อน ไม่มีชนเผ่าใดที่ปลอดความเสี่ยงจากการทำลายล้าง ทั้งโดยการ ทำลายอย่างย่อยยับ และการผสมกลมกลืน ตัวอย่างเช่น เมื่ออารยธรรมตะวันตกรุกถึงลุ่มน้ำอะเมซอน ประชากร ชาวพื้นเมืองก็ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจากประมาณ ๖-๙ ล้านคน เหลือไม่ถึง ๒ แสนคน ในศตวรรษที่ผ่านมา เฉพาะในประเทศบารซิลชนเผ่าต่างๆ ๘๗ เผ่าถูกทำลายล้างลงอย่างสิ้นเชิง

เราทุกคนได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยวัฒนธรรมหลากรูปแบบและมีเอกลักษณ์ที่ดำรงอยู่ในโลกวัฒนธรรมต่างๆ เหล่านี้ ประดุจผืนม่านประดับที่ประกอบด้วยสังคมมนุษย์ทั่วโลก ทุกครั้งที่วัฒนธรรมไม่ว่าเล็กๆ หรือเก่าแก่เพียงใด สูญไป เราจะค่อยๆ ยากจนลงทีละน้อย

มะม่วง มันสำปะหลัง และอื่นๆ

เมื่อดื่มกาแฟ ปอกกล้วย หรือโรยอบเชยลงบนขนมปัง คุณเคยคิดบ้างหรือไม่ว่า อาหารต่างๆ เหล่านี้ มาจากไหน คำตอบก็คือป่าไม้เขตร้อน ผลิตผลเหล่านี้และอื่นๆ อีกนับพันที่เราต้องพึ่งพาได้มาจากพืชและต้นไม้ ที่ขึ้นในเขตร้อน ผลิตผลจากป่ามีมากมายนับแต่ยางไม้ที่อยู่ในสีทาบ้านถึงยางล้อรถยนต์ ฟุตบอลที่ลูกคุณเล่น จนถึงยาที่รักษาชีวิตของคุณเอง เช่น ยาชา ยารักษาโรค มะเร็ง จนถึงยาปฏิชีวนะ

ป่าไม้เขตร้อนเป็นคลังของสรรพสิ่งนับแต่ ข้าว กาแฟ ชา ช็อคโกแลต มะนาว ส้ม กล้วย และสับปะรด เหล่านี้เป็นพืชอาหารของเขตร้อนซึ่งมีอยู่จำนวนมากและนำมาใช้ปรุงอาหารได้ พืชผลทางการเกษตรจำนวนมาก ที่เราคิดว่าเป็นพืชในบ้านเรานั้น แท้จริงแล้วมีกำเนิดในเขตร้อน และในความเป็นจริง ผลผลิตต่างๆ ในสหรัฐ อเมริกามีเพียงร้อยละ ๒ เท่านั้นที่ได้จากพืชประจำถิ่น พืชที่ยังไม่ปลูกเป็นการค้าก็มีอีกหลายชนิดที่เป็นอาหารได้ มีผลไม้กินได้ ๑๕ ชนิด ที่มีความสำคัญทางการค้าจาก ๒,๕๐๐ ชนิดในป่าเขตร้อน

ผลผลิตจากป่าไม้เขตร้อนที่มีความสำคัญในตลาดอาหารทั้งในญี่ปุ่นและในยุโรป เช่น ธอมาติน (thaumatin) เป็นสารให้ความหวานที่ไม่ทำให้อ้วน ซึ่งผลิตจากพืชเขตร้อนก็เพิ่งถูกนำเข้าสู่ตลาดเมื่อเร็วๆ นี้ สารให้ความหวาน ตัวนี้มีความหวานมากกกว่าน้ำตาลซูโครส อีกไม่นานเราคงเห็นวางจำหน่ายตามชั้นขายเอง

ชนิดของพืชที่นำเข้ามาจากป่าไม้เขตร้อน ไม่เพียงแต่เพิ่มความหลากหลายให้อาหารเท่านั้น ยังสามารถ ใช้ในการปรับปรุงสายพันธุ์พืชที่เราได้กินได้ใช้อยู่ทุกวันอีกด้วย พืชเขตร้อนจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของพืช ในบ้านเราโดยการผสมพันธุ์ ผลของการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์เขตร้อนกับสายพันธุ์ท้องถิ่นของบ้านเรา ทำให้กาแฟกับอ้อยไม่สูญพันธุ์ไปเพราะโรค ข้าวโพดป่าผสมกับข้าวโพดบ้าน ทำให้ได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรค จึงไม่จำเป็นต้องปลูกซ่อมทุกปีเช่นพันธุ์ที่เราใช้ในปัจจุบันนี้เป็นอยู่

กำจัดแมลงโดยธรรมชาติ

แมลงทำลายพืชผลทางการเกษตรในสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่าถึงปีละ ๒ พันล้านเหรียญสหรัฐ และกว่า ครึ่งหนึ่งของแมลงศัตรูพืชในสหรัฐอเมริกาเริ่มต้านทานต่อสารกำจัดแมลงประเภทอนินทรีย์ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติมากขึ้น เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือความต้านทานของแมลงศัตรูพืช ประกอบกับความตระหนักรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

มีการค้นหาวิธีควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติโดยมองมาที่ป่าเขตร้อน พืชพันธุ์ในป่าฝนเขตร้อน จำนวนมากมีกลไกธรรมชาติต่อสู้แมลง บางชนิดมีสารประกอบบางอย่างที่สามารถใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ที่เราปลูก นอกจากนั้น กำลังมีความพยายามทดลองใช้แมลงจากเขตร้อนเป็นศัตรูธรรมชาติต่อสู้กับแมลงในท้องถิ่น ของสหรัฐอเมริกา การพึ่งพาศัตรูธรรมชาติจึงเริ่มเป็นที่สนใจในเชิงเศรษฐกิจ จากตัวเลขของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกาพบว่า การนำเข้าแมลงที่เป็นปฏิปักษ์กับศัตรูพืชทำกำไรให้ ๓๐ เหรียญสหรัฐต่อการลงทุน ๑ เหรียญสหรัฐ

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

ป่าไม้เขตร้อนเป็นประดุจตู้ยาอันแสนมหัศจรรย์ พืชในเขตร้อนจำนวนมากมีสารประกอบธรรมชาติที่นำมา ทำยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยารักษาโรคหัวใจ และฮอร์โมนต่างๆ หนึ่งในสี่ของตำรับยาที่ขายในสหรัฐอเมริกา มีสารประกอบที่ได้จากพืช ประมาณมูลค่าของยาเหล่านี้ทั่วโลกในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ มีมูลค่าถึง ๕๑ พันล้านเหรียญ สหรัฐ พืชประมาณร้อยละ ๕ มีคุณสมบัติเป็นยาและเป็นพืชเขตร้อนในจำนวนนับพันชนิด ขณะที่มีการศึกษา ความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ไม่ถึง
ร้อยละ ๑

สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้จำแนกพบว่าพืช ๓,๐๐๐ ชนิด มีคุณสมบัติแก้โรคมะเร็ง ในจำนวนนี้ร้อยละ ๗๐ มาจากป่าเขตร้อน ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ แพงพวงฝรั่ง มีสารแก้มะเร็งในเม็ดเลือดที่เกิดในเด็ก ซึ่งต้องขอบคุณพืชเขตร้อนที่ทำให้เด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีโอกาสหายได้ร้อยละ ๙๙ เปรียบเทียบกับแต่เดิม ก่อนค้นพบตัวยา โอกาสหายมีเพียงร้อยละ ๒๐ สารดังกล่าว ยังสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin’s disease) มะเร็งหน้าอก และมะเร็งต้นคอ (cervical cancer)

กบซอมบี้

เตโตรโดท็อกซินที่ใช้เป็นยาขจัด ความเจ็บปวดในการผ่าตัดเฉพาะที่และเป็นยาคลายกล้ามเนื้อของแพทย์ตะวันตก มีความแรงกว่าโคเคนถึง ๑๖๐,๐๐๐ เท่านั้น เป็นยาโบราณที่หมอผีวูดูแห่งไฮติใช้ในการทำให้คนคล้ายเข้าญาณดังซอมบี้ สารประกอบนี้ ได้จากกบชนิดหนึ่งในป่าฝนอเมริกากลาง

ไดออสจีนินเป็นสารออกฤทธิ์ในยาคุมกำเนิด และคอร์ติโซนที่ใช้รักษาผื่นคัน อาการติดเชื้อ อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง เป็นสารประเภทสเตอรอยด์ที่ได้จากพืชในป่าฝนเขตร้อนของเม็กซิโกและกัวเตมาลา ควินินได้จากเปลือกต้นซินโคนา ซึ่งเป็นไม้เขตร้อน เป็นสารประกอบชนิดแรกที่พบว่ามีประสิทธิผลในการักษา โรคมาลาเรีย ซึ่งคร่าชีวิตของผู้คนมานับล้านทั่วโลก ยารักษาโรคมาลาเรียที่สังเคราะห์ขึ้นมาก็ใช้ยาธรรมชาติ ตัวนี้เป็นแม่แบบ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่า ยาสังเคราะห์ดังกล่าวนั้นสูญเสียประสิทธิภาพในการต่อสู้กับ เชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ที่พัฒนาความต้านทานขึ้น แต่กรณีแบบนี้มิได้เกิดกับยาธรรมชาติที่สกัดจากเปลือกต้น ซินโคนาซึ่งไม่เสียประสิทธิภาพแม้จะใช้มานานนับศตวรรษ

พลังแห่งต้นไม้

มีการนำสารประกอบต่างๆ จากเขตร้อนไปใช้ในทุกอย่างนับแต่เครื่องสำอางถึงยางล้อรถยนต์ ยางล้อรถยนต์ และรถเมล์ส่วนใหญ่ร้อยละ ๔๐ เป็นยางธรรมชาติซึ่งมีความยืดหยุ่นและทนความร้อนสูงกว่ายางสังเคราะห์ ยางล้อเครื่องบินและรถไถส่วนใหญ่ทำจากยางธรรมชาติเกือบทั้งหมด ซึ่งหมายถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ส่งออก มูลค่าการส่งออกของยางธรรมชาติสูงถึงกว่า ๓ พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และเป็นสินค้าส่งออกปริมาณสูง เป็นอันดับ ๔ ของประเทศโลกที่สาม การกรีดยางออกจากต้นโดยไม่ต้องตัดต้นไม้ทำให้ยางเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถทดแทนได้

ต้นยางขึ้นเป็นแปลงขนาดใหญ่ในมาเลเซีย และประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นแหล่งตั้งเดิม ของยางธรรมชาติ ยางพันธุ์พื้นเมืองในบราซิลมีความจำเป็นในการใช้ผสมพันธุ์กับยางพันธุ์ปลูก เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ ต้านทานโรคอย่างมีประสิทธิภาพและทนต่ออากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้ง ส่วนพันธุ์ป่าซึ่งให้น้ำยาง ไม่เหมือนกันก็ใช้ปรับปรุงส่วนผสมของยางได้

กำบังพายุ

ป่าไม้เขตร้อนที่บทบาทต่อสิ่งแวดล้อมหลายประการ นับแต่ช่วยป้องกันและบรรเทาภาวะน้ำท่วม และแห้งแล้ง ช่วยยึดหน้าดินและลดแรงปะทะของพายุ

ป่าฝนเขตร้อนครอบคลุมเนื้อที่ไม่ถึงร้อยละ ๗ ของพื้นที่ผิวโลก แต่ก็เป็นพื้นที่รับฝนเกือบครึ่งหนึ่ง ของฝนที่ตกบนผืนดินป่าดูดซับน้ำฝนเต็มเปี่ยมใสตลอดปี หากป่าถูกตัดทำลาย แม่น้ำจะถูกตะกอนทับถม ภายหลังฝนตกและน้ำลดลงยามแล้ง ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมและแห้งแล้ง และเกิดการพังทลายของหน้าดินเร็วขึ้น

ผลของการทำลายป่าอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ พายุ ในประเทศไทยทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ก่อความเสียหายอย่างมหาศาล มีผู้เสียชีวิต ๔๐๐ คน กลายเป็น ผู้ไร้ที่อยู่อาศัยถึง ๒๕๐,๐๐๐ คน ความเสียหายมากกว่า ๕ ล้านเหรียญสหรัฐ พายุได้ทำลายธรรมชาติอย่างรุนแรง เพราะการทำลายป่าอย่างหนักหน่วง ปัญหาคล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นในป่าไม้เขตร้อนทั่วโลก การตัดไม้ในป่าฝน เขตร้อนหนึ่งในสามส่วนของซาราวัค มาเลเซีย ทำให้เกิดน้ำท่วม ภาวะแห้งแล้งและขาดแคลนอาหาร ภาวะแห้งแล้งที่ผ่านมาในอัพริกาโค่นถล่มในบราซิล ล้วนแล้วแต่เป็นผลจากการทำลายป่าทั้งสิ้น ประมาณการว่า มีประชากรกว่า ๑ พันล้านคนทั่วโลกได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ความเสื่อมโทรมของดินและน้ำ เป็นระยะๆ โดยมีสาเหตุมาจากการทำลายป่าไม้เขตร้อน

การกร่อนของหน้าดินซึ่งเป็นผลมาจากการทำลายป่า ทำให้เกิดตะกอนมหาศาลพัดพาลงมาตามกระแสน้ำ มาติดค้างตามหน้าเขื่อนและลำคลอง ทำให้แม่น้ำตื้นเขินและน้ำท่วมง่ายขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิด ความเสียหาย เช่นในประเทศปานามาเกิดตะกอนจากการไหลบ่าของน้ำจากพื้นที่ป่าไม้ซึ่งถูกทำลาย รวมทั้งตะกอน จากหน้าเขื่อน สะสมในแม่น้ำที่ไหลลงคลองปานามาทำให้คลองใช้การไม่ได้ ส่งผลให้เรือต้องเดินทางอ้อม ทวีปอเมริกาใต้ สำหรับในเอเซีย อัฟริกา และอเมริกาใต้ การสะสมของตะกอนลดอายุการใช้งานของเขื่อน หลายแห่งลงถึงร้อยละ ๕๐

ป่าเขตร้อนเป็นแนวธรรมชาติที่ป้องกันพายุเฮอริเคน ไซโคลนและใต้ฝุ่น ในแต่ละปีจะมีพายุร้อนเกิดขึ้น ๘๐-๑๐๐ ครั้งทั่วโลก เมื่อพายุเหล่านี้เคลื่อนผ่านเหนือแผ่นดิน ป่าเขตร้อนจะรับแรงจากสายลมกรรโชก ในแถบชายฝั่ง ป่าเขตร้อนจะป้องกันน้ำที่ถูกพายุซัดไม่ให้กัดเซาะชายหาดและแนวฝั่งทะเล เมื่อการพัฒนาได้เข้ามาทำลายป่าฝน ชายฝั่งทำให้สูญเสียกันชนไป ความเสียหายจากพายุก็เกิดมากขึ้น ในแต่ละปีจะมีคนเสียชีวิตเพราะพายุเขตร้อน อย่างน้อย ๒๐,๐๐๐ คน คิดเป็นค่าเสียหาย ๘ พันล้านเหรียญสหรัฐ

ควบคุมบรรยากาศ

ป่าไม้เขตร้อนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมบรรยากาศผืนพันธุ์ไม้ที่แผ่ขยายกว้างใหญ่ ให้น้ำหมุนเวียน ออกมามหาศาล ด้วยเหตุนี้จึงมีอิทธิพลต่อบรรยากาศโลกเช่นเดียวกับที่มีอิทธิพลต่อน้ำฟ้าและอุณหภูมิในท้องถิ่น ผลกระทบจากการสูญเสียป่าไม้เขตร้อนประการหนึ่งก็คือทำให้บรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลง เมื่อป่าถูกทำลาย ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๓๐ ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปล่อยสู่บรรยากาศ บวกกับก๊าซมีเธนและไนตรัสออกไซด์ที่ไม่รู้ปริมาณ ก๊าซเหล่านี้มีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้น ซึ่งมีผลร้ายต่อการเกษตร และคุณภาพชีวิตทั่วโลก

ประมาณ ๒ ใน ๓ ของน้ำจืดบนผิวโลกอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำอะเมซอน (ไม่รวมน้ำแข็งขั้วโลกและน้ำใต้ดิน) น้ำดังกล่าวจะหมุนเวียนคงตัวอยู่ในวัฏจักรน้ำ เมื่อฝนตกลงมาจะถูกดินและป่าไม้ดูดซับไว้ น้ำบางส่วนระเหยไป เพราะความร้อน บางส่วนถูกพืชดึงไปใช้และปล่อยกลับไปสู่บรรยากาศ ไอน้ำรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆและคืนสู่ผืนดิน อีกครั้งในรูปฝน น้ำมากกว่าครึ่งในแถบนี้กลับคืนสู่ระบบในลักษณะดังกล่าว

ขณะที่น้ำหมุนเวียนอยู่ในวัฏจักร มันจะช่วยควบคุมสมดุลของภูมิอากาศที่คงตัวมานานหลายศตวรรษ แต่เมื่อป่าไม้ถูกทำลายไปเรื่อยๆ น้ำในวัฏจักรก็เหลือน้อยลง การสูญเสียพื้นที่ป่าส่งผลให้ปริมาณฝนลดลง และเพิ่มอุณภูมิผิวดินของป่าฝนเขตร้อน ผลก็คือความแห้งแล้งมีแนวโน้มจะแผ่ขยายไปทั่ว ซึ่งในที่สุดผลกระทบ ต่อสภาพภูมิอากาศจะขยายวงกว้างขึ้น การทำลายป่าในแถบอะเมซอนเป็นตัวอย่างหนึ่งที่คาดว่าจะทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของพื้นที่เกษตรกรรม ไปเป็นแบบทางตอนใต้และตะวันตกของที่ราบลุ่มน้ำ

การทำลายป่าไม้เขตร้อนอาจทำให้แบบแผนของบรรยากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลง เนื่องจากพื้นผิวดิน ลักษณะต่างๆ ดูดซับหรือสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากัน หิมะ และทะเลทราย ซึ่งค่อนข้างสะท้อนแสง จะสะท้อนพลังงานจากแสงอาทิตย์กลับคืนสู่บรรยากาศ และอวกาศภายนอก พื้นที่ป่าโดยเฉพาะป่าทึบเขียว ของเขตร้อนจะดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ การขยายตัวของอากาศเป็นวงกว้างตามแนวป่าฝนเขตร้อน ขนาบ เส้นผ่าศูนย์สูตรส่วนหนึ่งเกิดจากความร้อนที่ป่าไม้เขตร้อนดูดซับไว้ การขยายตัวอย่างมากมายนี้เองที่ช่วยให้เกิด แบบแผนการหมุนเวียนของบรรยากาศในโลกทั้งโลก แต่การทำลายป่าไม้เขตร้อน สามารถที่จะทำลาย กระบวนการนี้ได้โดยทำให้แบบแผนของลมและฝนทั่วโลกเปลี่ยนแปลง ผลที่คาดว่าจะตามมาก็คือ ปริมาณฝนลดลง และทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมแก่การปลูกข้าวในพื้นที่ตอนบนของสหรัฐอเมริกาแลแคนาดา รวมไปถึงยุโรป และสหภาพโซเวียต

ป่าไม้ในเขตร้อนก็เหมือนกับป่าไม้ทั่วไปที่มีคาร์บอนและไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ผลของการทำลายป่ามีผลต่อสภาพอากาศของโลก โดยการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ มีเธนและไนตรัสออกไซด์ ปล่อยออกมาจากการเผาไหม้ หรือการย่อยสลายรูปแบบอื่น ก๊าซเหล่านี้จะดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ทำให้บรรยากาศของโลกร้อนขึ้น กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่าปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งโดยปกติแล้ว จะช่วย รักษาโลกให้อบอุ่นเพียงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนนั้น ก๊าซที่ปล่อยออกมาจาก กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกตามธรรมชาติอยู่แล้ว ผลที่คาดว่า จะตามมาจากภาวะโลกร้อนก็คือ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น พายุรุนแรงขึ้น แบบแผนอากาศเปลี่ยนแปลง และป่าไม้ยืนต้นตาย

คาร์บอนไดออกไซด์ทีบทบาทมากที่สุดในบรรดาก๊าซที่ทำให้โลกร้อนขึ้น เป็นตัวการประมาณครึ่งหนึ่ง ของการเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นเมื่อเชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel) เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินถูกเผาไหม้เพื่อผลิตไฟฟ้า เป็นพลังงานในรถยนต์หรือให้ความร้อนในบ้าน นอกจากนั้น เมื่อป่าไม้ถูกตัดเผาย่อมปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาด้วย จนปัจจุบันนี้ ปริมาณคาร์บอนได้ออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๒๕ ของปริมาณเมื่อ ๑๐๐-๑๕๐ ปีก่อนโน้น

การทำลายป่าผืนบริสุทธิ์ที่หนาทึบ ทำให้เกิดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ ๑.๔ พันล้านตันต่อปี เมื่อรวมกับการทำลายป่าเปิด แลเป่ารุ่นที่สอง ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นอีก ๑.๑ พันล้านตัน รวมปริมาณทั้งสิ้น ๒.๕ พันล้านตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ ๓๐ ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา จากกิจกรรมของมนุษย์ในแต่ละปี

ความเข้มข้นของก๊าซมีเธนและไนตรัสออกไซด์ที่เพิ่มขี้นในบรรยากาศ ก็ทำให้โลกร้อนขึ้นเช่นกัน โดยที่มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่าในรอบศตวรรษ มีเธนที่แพร่ออกมาจากากรทำลายป่าไม้เขตร้อนมีปริมาณ ร้อยละ ๑๐-๑๕ ของปริมาณที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันส่วนไนตรัสออกไซด์นั้นยังไม่มีการประมาณ

การทำลายและเผาป่าฝนเขตร้อน มีส่วนทำให้เกิดการสะสมของคาร์บอนในบรรยากาศ เนื่องจากพืชพันธุ์ไม้ ที่มีชีวิตอยู่ในป่าเขตร้อนเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้เป็นปริมาณมหาศาล คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ จะเสริมให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกมากขึ้น เมื่อป่าเขตร้อนถูกตัดทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ต้นไม้และพันธุ์พืช ที่ถูกเผาหรือปล่อยทิ้งไว้ให้ย่อยสลายจะคายคาร์บอนไดออกไซด์และมีเธนออกมาสู่บรรยากาศ

สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (The National Academy of Science) ประมาณการว่าอุณหภูมิของ บรรยากาศโลกจะเพิ่มขึ้นระหว่าง ๒.๗ - ๘.๑ องศาฟาเรนไฮต์ (๑.๕ - ๔.๕ องศาเซลเซียส) ใน ๕๐ - ๑๐๐ ปีข้างหน้า หากประมาณอย่างต่ำ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบรรยากาศ ๒.๗ อาศาฟาเรนไฮต์ (๑.๕ องศาเซลเซียส) จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกโดยรวมเพิ่มขึ้นในอัตราที่มองไม่เห็นใน ๖,๐๐๐ ปี แต่หากประมาณอย่างสูง คือ ๘.๑ องศาฟาเรนไฮต์ (๔.๕ องศาเซลเซียส) ภายในเวลาไม่ถึงร้อยปี อุณหภูมิโลกจะถูกปรับให้อยู่ในระดับเฉลี่ยเท่าที่เคย ปรากฏในยุคไดโนเสาร์

โอกาสที่ความแห้งแล้งจะรุนแรงขึ้น ถี่ขึ้นนั้น ก็เพิ่มขึ้นตามการสะสมของก๊าซเรือนกระจก ผลกระทบ ประการหนึ่งที่รัฐบาลอเมริกาได้คาดการณ์ไว้ก็คือ จำนวนวันที่อุณหภูมิสูงกว่า ๙๕ องศาฟาเรนไฮต์ (๓๕ องศาเซลเซียส) ในแหล่งปลูกข้าวโพดของสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นเป็น ๓ เท่า ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเพียง ๓ องศาฟาเรนไฮต์ (๑.๖ องศาเซลเซียส) มีผลให้ผลผลิตลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพราะภาวะโลกร้อนอีก ๑ - ๒ ฟุต น้ำเค็มจะหนุนเข้ามาในระบบน้ำดื่มบริเวณชายฝัง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง มีผลกระทบต่อภาวะ เศรษฐกิจและการใช้ประโยชน์แถบชายฝั่งทั่วประเทศ ตัวอย่างเช่น เมืองชายฝั่งทะเลอย่างไมอามีจำเป็นต้องมีที่ ระบายลมพายุ หรือไม่ก็กำแพงกั้นน้ำ เพื่อให้น้ำทะเลอยู่เฉพาะในอ่าวไม่หนุนขึ้นมา เมืองในที่ลุ่มส่วยใหญ่ รวมทั้งเมืองที่อยู่บริเวณปากน้ำมิสซิสซิปปี้น้ำอาจท่วมทำลายที่วางไข่ของปลา คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านเหรียญ สหรัฐ

วิธีการหนึ่งที่จะทำได้ คือ ลดการแพร่ของก๊าซเรือนกระจก โดยการชักชวนประเทศพัฒนาให้ป้องกัน ป่าไม้เขตร้อน แต่อย่างไรก็ดีการตัดไม้ของสหรัฐอเมริกาในแถบวอชิงตัน โอเรกอน อลาสก้า และการอนุรักษ์ป่าบรรพกาลผืนสุดท้ายซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไม่ค่อยเอาจริงเอาจังนั้น ก็ได้ทำลาย ความเชื่อถือในการแสวงหาความร่วมมือจากประเทศเขตร้อนไปด้วยเช่นกัน

ประเทศในเขตร้อนนั้นมีความตระหนักรู้มากกว่าด้วยซ้ำ ดังตัวอย่างในปีพ.ศ. ๒๕๓๒ เลขานุการ กระทรวงต่างประเทศของบราซิล นายเปาโล ทาโซ ฟรีซา เดอลิมา ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่สุดเมื่อพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น การปรับปรุงนโยบายป่าไม้ของรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว จึงจำเป็นมากในการโน้มน้าวรัฐบาลประเทศที่มีป่าฝนเขตร้อน

กติการของป่า

ป่าไม้เขตร้อนอุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นแหล่งพันธุกรรมที่ธรรมชาติต้องพึ่งพา เพื่อความอยู่รอด สิ่งมีชีวิตทุกชนิดในป่าเขตร้อนเป็นที่รวมของหน่วยพันธุกรรม (genetic information) ปริมาณมหาศาล เป็นแม่แบบในการสร้างชีวิต แหล่งพันธุกรรมอันกว้างขวางและหลากหลาย ทำให้เรามั่นใจ ในความสมบูรณ์และสมดุลของระบบนิเวศน์ ทำให้กระบวนการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติอันเป็นหัวใจสำคัญ ของวิวัฒนาการเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยแหล่งพันธุกรรมอันหลากหลายและมหาศาลนี้ สิ่งมีชีวิตก็สามารถปรับตัว และสืบพันธุ์สนองตอบต่อภาวะกดดันจากสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและโรคได้

ความหลากหลายทางชีวภาพทำให้ธรรมชาติยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้เนื่องจากโลกร้อน จะก่อให้เกิดแรงกดดันต่อระบบนิเวศน์ของป่าแบบที่ไม่อาจคาดเดาได้ ยิ่งระบบนิเวศน์มีความหลากหลายเท่าใด โอกาสที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ก็มีมากขึ้นเท่านั้น

น่าเศร้าใจที่โลกใบนี้กำลังสูญเสียแหล่งพันธุกรรมอย่างมหาศาล เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย จนใกล้สูญพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ประมาณการว่า สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปถึง ๑๗,๐๐๐ ชนิดต่อปี เมื่อป่าฝนเขตร้อน ถูกทำลาย

สรรพชีวิตเกี่ยวพันกันด้วยสายใยซับซ้อนของความสัมพันธ์และมีภาวะพึ่งพากัน เช่นแมลงช่วยผสม เกสรดอกไม้ให้พืช พืชให้อาหารแก่แมลงและสัตว์กินพืชอื่นๆ สัตว์กินพืชและแมลงให้อาหารแก่สัตว์กินสัตว์และนก สัตว์เหล่านี้เป็นตัวควบคุมประชากรของเหยื่อของมัน และให้อาหารแก่พืชด้วยของเสียที่ถ่ายออกมา

ความผันแปรใดๆ ของกระบวนการเหล่านี้ จะมีผลกระทบตลอดทั้งระบบ ทั้งนี้ขึ้นกับความซับซ้อน ของความสัมพันธ์ของพืชและสัตว์ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครทราบได้ว่า หากจะเกิดการสูญเสียแล้ว สิ่งมีชีวิตใด ต้องสูญเสียบ้าง ลองนึกภาพหมุดเล็กที่ติดปีกเครื่องปิน เราอาจเอาหมุดออก ๒ - ๓ ตัวได้โดยที่เครื่องบิน ยังบินได้อยู่ แต่หากเราเอาหมุดออกจำนวนหนึ่งที่มากพอ ปีกเครื่องบินก็จะหลุด คำถามก็คือหมุดกี่ตัวที่จำเป็น ต่อการให้เครื่องบินบินอยู่ได้?

การสูญพันธ์ของพืชและสัตว์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อ ๖๕ ล้านปีก่อนโน้น สิ่งมีชีวิตบนโลกก็สูญพันธ์ไปแล้ว ร้อยละ ๖๐ - ๘๐ แม้จะไม่รู้เหตุผลที่แท้จริงของการสูญพันธ์ครั้งใหญ่นั้นว่าเกิดจากอะไร แต่เรารู้ว่าปัจจุบันนี้ การสูญเสียพันธุ์พืชและสัตว์เกิดขึ้นเพราะอะไร วาทะอมตะของโปโก ๑ กล่าวไว้ “เราพบศัตรูแล้ว … คือตัวเราเอง”

บุญคุณไก่งวง

เมล็ดของต้นซัลวาเรียอันงดงามไม่งอกมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว นักพฤกษศาสตร์เดาว่าเมล็ดพวกนี้ จะขึ้นได้ต่อเมื่อ ถูกนกโดโดกินก่อน แต่นกโดโดก็สูญพันธ์ไปแล้ว นกโดโดกับต้นซัลวาเรียมีกำเนิดบนเกาะมอริเซียสในมหาสมุทร อินเดีย ที่เกาะแห่งนี้ไม่พบต้นกล้าของซัลวาเรีย มีแต่ต้นที่โตเต็มที่อายุนับร้อยปี นักพฤกษศาสตร์จึงนำเมล็ด ซัลวาเรียไปเลี้ยงไก่งวงบ้านหลังจากไก่งวงกินแล้วถ่ายออกมา เมล็กพันธุ์ก็งอก ต้นไม้จึงรอดจากการสูญพันธุ์

การสูญเสียครั้งใหญ่ในระยะแรกต่างจากการสูญเสียอย่างฉับพลันในปัจจุบันนี้ เชื่อกันว่าพันธุ์พืชจะถูก ทำลายอีกครั้งหนึ่งมากกว่าเดิม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เห็นว่าจะมีปัญหาต่อสรรพชีวิตในอนาคต หมายความว่า ข้อเท็จจริงอันซับซ้อนที่กล่าวมานี้อันตรายกว่าการสูญพันธุ์ในยุคไดโนเสาร์ เนื่องจากสาเหตุซึ่งได้แก่กิจกรรม ของมนุษย์อาจสืบเนื่องไม่หยุดยั้ง ดังนั้นการที่ธรรมชาติจะฟื้นกลับคืนดังที่เคยเกิดขึ้นหลังการสูญเพันธุ์ครั้งก่อน คงเป็นไปไม่ได้ก็ได้ นักวิทยาศาสตร์เกรงว่าจะรุนแรงพอๆ กับภัยเหมันต์นิวเคลียร์ ๒ เลยทีเดียว

หากปล่อยให้ชีวิตส่วนใหญ่ในโลกสูญเสียย่อยยับไป มนุษยชาติเองก็ไม่อาจรอดชีวิต หรือหากรอดชีวิต… ชีวิตบนโลกที่สูญเสียพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ไปกว่าครึ่งก็ย่อมแร้นแค้น เราคงต้องซื้ออาหาร ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และยารักษาโรค ที่เก็บรวมอยู่ในป่าฝนเขตร้อนในราคาแพงลิบตลอดไป ชนกลุ่มน้อยนับล้านต้องสูญเสียที่อยู่อาศัย สูญเสียวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เราต้องเผชิญกับภูมิอากาสที่เปลี่ยนแปลงและแปรปรวนบนโลกที่เหลือแหล่งพันธุกรรม น้อยลงและเปราะบาง จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าเราต้องพิทักษ์ป่าไม้เขตร้อนเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตบนโลกใบนี้

๑. โปโล - ชื่อตัวการ์ตูนของ วอล์ท เคลลี ซึ่งเป็นที่นิยมมากในอเมริกา โปโกเป็นตัวโอพอสซัม

๒. เหมันต์นิวเคลียร์ คือ หายนภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หากเกิดสงครามนิวเคลียร์ในโลก โดยฝุ่นควันจากการระเบิดจะบดบังแสงอาทิตย์ จนเกิดความหนาวเย็นเฉียบพลันทั่วทั้งโลก และทำลายสรรพชีวิตในโลกจนหมดสิ้น




FROM HER
FROM HER
PROGRAM FREE
DOWNLOADFREE

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย

จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น



ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่

1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด

2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน

2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่



1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้

2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ

3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ

4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้

ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)

ข. สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ

1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด

2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์

สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย

สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ

1) มนุษย์

2) ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (น้ำเน่า อากาศเสีย)

ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก

สรุป มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ ความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

สหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (Earth Resources Technology Satellite หรือ ERTS) ดวงแรกของโลกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ดาวเทียมนี้จะโคจรรอบโลกจากขั้วโลกเหนือไปทางขั้วโลกใต้รวม 14 รอบต่อวันและจะโคจรกลับมาจุดเดิมอีกทุก ๆ 18 วัน ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจะมีทั้งรูปภาพและเทปสมองกลบันทึกไว้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของโลก ส่วนประเทศไทยก็ได้รับข้อมูล และภาพที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร การสำรวจทางธรณีวิทยา ป่าไม้ การชลประทาน การประมง หลังจากที่สหรัฐส่งดาวเทียมดวงแรกได้ 1 ปีแล้ว ได้ส่งสกายแล็บ และดาวเทียมตามโครงการดังกล่าวอีก 2 ดวง ในปี พ.ศ. 2520 และ พ.ศ. 2522 นับว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและการวางโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดบนพื้นโลก

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่าและปลา น้ำ ดิน อากาศ แร่ธาตุ มนุษย์และทุ่งหญ้า

ทรัพยากรนันทนาการ




นันทนาการ หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ สนุนสนาน เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เสริมสร้างความรู้ และออกกำลังกาย การนันทนาการเปรียบเสมือนอาหารใจที่ทำให้คนเกิดความสมบูรณ์ทางด้านสมองและจิตใจ ดังนั้นการนันทนาการจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาหารที่มนุษย์รับประทานเข้าไป

จากการที่มนุษย์ต้องตรากตรำทำงานหนักตลอดทั้งวันหรือสัปดาห์ จะทำให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า สมองตึงเครียด และเบื่อหน่ายต่องานที่ทำ จึงจำเป็นที่ต้องหาเวลาพักผ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากวันสิ้นสุดสัปดาห์หรือวันหยุดเทศกาลต่าง ๆ

ประชาชนชาวเมืองจะเดินทางออกไปพักผ่อนในชนบทที่อยู่ห่างไกลออกไป ในขณะที่คนในชนบทจะหลั่งไหลกันเข้าเมืองเพื่อพักผ่อนตามโรงภาพยนตร์ หรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและเลือกซื้อสินค้าตามศูนย์การค้าต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการนันทนาการอาจจะทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรสนิยม ความถนัด และความต้องการ

ในสภาพปัจจุบันสถานที่นันทนาการจะเพิ่มความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และมีเวลาว่าง จึงทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนกระทำได้ไกลจากถิ่นที่อยู่มาก ซึ่งทำให้สถานที่นันทนาการทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่อยู่ห่างไกลออกไปจากย่านชุมชน มีผู้เข้าไปใช้บริการมากยิ่งขึ้น เอกชนบางแห่งได้หันมาลงทุนเพื่อดำเนินการทำธุรกิจทางด้านนันทนาการเป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่า การจัดสร้างสวนสนุก สวนสัตว์ โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า รีสอร์ต การบริการทางด้านการขนส่ง และสนามกีฬา ซึ่งธุรกิจเหล่านี้นอกจากจะทำรายได้ให้กับผู้ประกอบการอย่างดีแล้วยังช่วยในการสร้างงานให้กับประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย

การนันทนาการจะทำได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเพศ วัย และความสนใจของแต่ละบุคคล ถ้าหากจะจัดชนิดของการนันทนาการตามหลักสากลแล้ว อาจจะแบ่งออกได้ 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ การกีฬา การออกกำลังกาย เพื่อศึกษาหาความรู้ และเปลี่ยนบรรยากาศ

ความสำคัญของสถานที่นันทนาการ

สถานที่ที่่ใช้นันทนาการ สามารถมีหลายสถานที่เช่น สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ วัด โรงมหรสพ ศูนย์การค้า เป็นต้น สถานที่ดังกล่าว เป็นแหล่งความรู้ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังเป็นการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยในการสร้างงานในท้องถิ่น

สถานที่นันทนาการนับว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำการบำรุงรักษาไว้ ทั้งนี้เพราะสถานที่นันทนาการจะเสื่อมสภาพไปตามกาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่นันทนาการทางวัฒนธรรม แม้แต่สถานที่นันทนาการทางธรรมชาติ เช่น ทะเลสาบ ชายหาด ถ้ำ น้ำตกและอื่น ๆ เมื่อมีผู้เข้าไปใช้บริการมาก ๆ จะทำให้เสื่อมโทรมและสกปรกได้เช่นเดียวกัน ถ้าหากไม่มีการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ



ทรัพยากรธรรมชาติ

ในอดีต ประเทศไทยเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและในน้ำ การเร่งรัดพัฒนาประเทศที่เริ่มต้นเมื่อกว่าสามสิบปีมาแล้ว โดยมิได้ระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเท่าที่ควร ทำให้มีการตักตวง ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองมิได้คำนึงถึงอัตราการเกิดทดแทนหรือการฟื้นตัวตามธรรมชาติ ดังนั้นในปัจุบันทรัพยากรธรรมชาติของประเทศจึงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม สร้างข้อจำกัดของการพัฒนาในระยะต่อไป ในขณะนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่าย ทั้งส่วนราชการและเอกชนจะต้องหันมาสนใจ และร่วมมือกันเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง ให้สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชน ทั้งในเมืองและในชนบท และการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไปตามหลักวิชาการ จัดประเภททรัพยากรธรรมชาติ ออกเป็น 3 ประเภท ที่สำคัญดังนี้

๑. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมด หรือสูญหายไป เราสามารถใช้ทรัพยากรประเภทนี้ได้อย่างไม่จำกัด เนื่องจากธรรมชาติสร้างให้มีใช้อยู่ตลอดเวลา ได้แก่ บรรยากาศน้ำที่อยู่ใน วัฎจักร ซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของน้ำ กล่าวคือ เมื่อน้ำตามที่ต่างๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปบนบรรยากาศเมื่อกระทบกับความเย็นก็จะ รวมตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบกับความเย็น ก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ ลำธาร และไหลออกสู่ทะเล เป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา ทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอทรัพยากรประเภทนี้รวมทั้งแสงแดด ลม และทัศนียภาพที่สวยงามตามธรรมชาติ อีกด้วย

๒. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดแต่สร้างทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น ป่าไม้ ดิน ที่ดิน แหล่งน้ำ ทุ่งหญ้า และสัตว์ป่า เป็นต้น ทรัพยากรประเภทนี้เมื่อใช้แล้วจะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ อย่างไรก็ดีการใช้ประโยชน์ก็ต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ควรใช้มากเกินต้องการและเกินกว่าที่ธรรมชาติ จะสร้างขึ้นมาทดแทนได้ มิฉะนั้นทรัพยากรชนิดนั้นก็จะร่อยหรอ เสื่อมโทรมลง และสูญสิ้นไป การเสื่อมโทรมและสูญสิ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรชนิดอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์ และอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน

๓. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่มีการสร้างทดแทนได้ เช่น แร่น้ำมัน ที่ดิน ในสภาพธรรมชาติ แหล่งที่เหมาะสมสำหรับศึกษาธรรมชาติแหล่งธรรมชาติที่หาดูได้ยาก แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งสภาพธรรมชาติใดๆ ที่ถูกใช้ไปแล้วก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เหมือนเดิมอีก เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน เมื่อนำมา ใช้ประโยชน์ก็จะหมดสิ้นไป โดยธรรมชาติไม่อาจจะสร้างขึ้นทดแทนได้ในชั่วอายุของคนรุ่นปัจจุบันทรัพยากรประเภทนี้ควรใช้โดยประหยัดที่สุด คุ้มค่า และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรประเภทที่ดินสวยงามในสภาพธรรมชาติ เช่น แพะเมืองผี ที่จังหวัดแพร่ เกิดจากการกัดกร่อนตามธรรมชาติ ทำให้มีรูปร่างลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวผู้ไปเยี่ยมชมมากมาย เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาไว้ ให้คงสภาพตามธรรมชาติให้นานที่สุด



การพัฒนา

การพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลงชีวาลัย (Biosphere) อันเป็นบริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ได้แก่ บริเวณที่เป็นมหาสมุทร ที่ซึ่งมีน้ำจืด บรรยากาศและชั้นดินบางส่วน โดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์สินเงินทอง ทรัพยากรที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และปรับปรุงชีวิตมนุษย์ให้มีคุณภาพ







http://www.school.net.th/library/snet6/envi5/que/que.htm





ร้อยวิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม


1. ใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู

เราใช้กระดาษทิชชูเช็ดมือ เช็ดหน้า ปีละหลายล้านฟุต ซึ่งหมายถึง การโค่นต้นไม้ลงจำนวนมหาศาล ช่วยกันลดการใช้กระดาษทิชชูด้วยการวางผ้ามือไว้ใกล้อ่างล้างมือ แล้วใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนการใช้กระดาษทิชชูเช็ด

2. ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

ประหยัดถุงพลาสติกได้โดยการใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หากถุงพลาสติกสกปรก ก็ให้ทำความสะอาดแล้วแขวนไว้ให้แห้ง เพื่อส่งกลับเข้าโรงงานสำหรับผลิตใหม่

3. แยกทิ้งเศษกระดาษจากขยะอื่น

โปรดหลีกเลี่ยงการทิ้งเศษกระดาษลงในถังกับขยะอื่น ๆ เพราะจะทำให้กระดาษเปรอะเปื้อนไขมัน และเศษอาหารจะทำให้เศษกระดาษนั้นนำไปผลิตใหม่อีกไม่ได้

4. กระดาษที่นำไปรีไซเคิลไม่ได้

กระดาษที่ไม่สามารถนำไปเข้ากระบวนการผลิตใหม่เป็นกระดาษใช้ได้อีก ได้แก่ กระดาษที่เคลือบด้วยขี้ผึ้ง กระดาษที่เข้าเล่มด้วยกรรมวิธีการละลายโดยใช้ความร้อน เช่น สมุดโทรศัพท์ นิตยสารต่าง ๆ ตลอดจนกระดาษที่ถูกเปรอะเปื้อนด้วยการชนิดที่ไม่ละลายน้ำ

5. หนังสือพิมพ์สามารถแก้ไขปัญหา ขยะกระดาษ

แหล่งสร้างขยะกระดาษที่สำคัญก็คือหนังสือพิมพ์ หน้าที่เป็นขยะกระดาษโดย ผู้อ่านไม่ได้อ่าน ก็คือหน้าโฆษณาธุรกิจ ซึ่งมีอยู่ฉบับละหลาย ๆ หน้า ซึ่งแม้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหนังสือพิมพ์ แต่ ควรคำนึงว่า นั่นคือ การทำลายกระดาษสะอาด และสร้างขยะกระดาษให้เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน

6. เศษหญ้ามีประโยชน์

เศษหญ้าที่ถูกทิ้งอยู่บนสนามนั้น สามารถให้ประโยชน์ต่อสนามหญ้าได้มาก เพราะในเศษหญ้านั้น มีธาตุอาหาร ที่มีคุณค่าเทียบเท่ากับปุ๋ย ที่ใช้ใส่หญ้าทีเดียว

7. วิธีตัดกิ่งไม้

วิธีการตัดกิ่งก้านของต้นไม้ ไม้พุ่มใบไม้ ควรตัดให้เป็นเศษเล็กเศษน้อย เพื่อช่วยลดเศษขยะให้กับสวนได้ และทั้งยังช่วยให้เกิดการเน่าเปื่อยขึ้นกับเศษใบไม้นั้นเร็วขึ้นด้วย

8. ใช้เศษหญ้าคลุมไม้ใหญ่

เศษหญ้าที่ตัดจากสนามและสวนนั้น สามารถนำไปคลุมต้นไม้ใหญ่ได้ การใช้เศษหญ้าปกคลุมพืชในสวนจะช่วยในการกำจัดวัชพืชได้เพราะวัชพืช จะไม่สามารถแทงลำต้นผ่านเศษหญ้าได้ นอกจากนี้เมล็ดของวัชพืชที่ร่วงหล่นก็ไม่อาจหยั่งรากทะลุผ่านเศษใบไม้ได้ด้วย

9. ประโยชน์ของพลาสติกช่วยถนอมอาหาร

พลาสติกทุกชนิดหากถูกไฟไหม้ จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตราย ได้มีการรณรงค์ให้เลิกใช้พลาสติก แต่จริง ๆ แล้ว พลาสติกยังคงมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันโดยเฉพาะพลาสติก มีประโยชน์ในการถนอมอาหารให้สดอยู่ได้ เป็นเวลานาน ๆ

10. พลาสติกรีไซเคิล

ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 200 แห่ง ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกได้ทำการรีไซเคิลพลาสติก จำนวน 20% จากขวดเครื่องดื่ม

พลาสติกที่ทำจาก Polyethylene Terephthalate หรือ PET จะถูกนำไปรีไซเคิล เป็นด้ามเครื่องจับไฟฟ้า กระเบื้องปูพื้น เส้นใยสังเคราะห์ในหมอน ถุงนอน หรือใช้บุเสื้อแจ็คเก็ต

11. พลาสติกรีไซเคิล (2)

ภาชนะพลาสติกที่ใส่น้ำผลไม้และนมนั้นทำมาจากพลาสติกชนิด Polyethylene ที่มีความเข้มข้นมากเมื่อใช้แล้วได้ถูกนำมารีไซเคิลทำเป็นท่อพลาสติก กระถางต้นไม้ เก้าอี้พลาสติก

12. วิธีเก็บขวดแก้วที่ใช้แล้ว

ขวดแก้วทุกชนิดที่บรรจุของเมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และแยกชนิดของแก้ว และแยกสีของแก้วด้วย

13. วิธีเก็บกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้ว

นำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาบี้ให้แบนก่อนทิ้ง หรือขายแก่คนรับซื้อเศษโลหะ

14. น้ำสะอาดมาจากน้ำใต้ดิน

น้ำสะอาดที่เราใช้ประโยชน์ดื่มกิน ส่วนใหญ่ มาจากน้ำใต้ดิน การทิ้งขยะบนพื้นผิวดินทำให้มีผลถึงน้ำใต้ดิน เพราะน้ำฝนจะชะความเป็นพิษและความโสโครกให้ซึมลงไปถึงชั้นน้ำใต้ดินทำให้น้ำใต้ดินเน่าเสียและเป็นพิษได้

15. วิธีล้างรถยนต์

ล้างรถยนต์ด้วย ฟองน้ำ และใช้ถังน้ำจะใช้น้ำเพียง 15 แกลลอน แต่ถ้าล้างด้วยสายยางจะต้องสูญเสียน้ำถึง 150 แกลลอน

16. ดูแลรักษารถด้วยการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

การดูแลรักษารถจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอได้แก่ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือและทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ควรเปลี่ยนไส้กรองด้วย

17. รักษารถ ด้วยการเปลี่ยนไส้กรอง

ไส้กรองอากาศที่สกปรก จะทำให้การไหลของอากาศที่สะอาดทำได้น้อยลง มีผลต่อการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ด้วย

18. รักษารถ ช่วยลดมลพิษ

การดูแลรักษารถจะทำให้รถสามารถวิ่งได้เพิ่มขึ้นอีก 10% ของจำนวนไมล์ ซึ่งเท่ากับสามารถลดราคาเชื้อเพลิงลงได้ถึง 10% เช่นกัน การลดการใช้เชื้อเพลิงลงก็เท่ากับเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศให้กับโลกได้ด้วย

19. ยางรถยนต์ ช่วยประหยัดน้ำมัน

การเติมลมยางรถ ให้พอดีและขับรถตามข้อกำหนดความเร็ว จะช่วยในการประหยัดน้ำมันได้

20. วิธีป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเครื่อง

การป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเครื่องจากตัวถังรถยนต์ สามารถทำได้ด้วยการปิดสลักเกลียวในเครื่องยนต์ทุกตัวให้แน่น โดยเฉพาะในส่วนที่ซึ่งน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกไปได้

ช่วยป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเพื่อลดมลพิษให้กับอากาศของเรา

21. ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่

ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อขับรถได้ทุก ๆ ระยะ 3,000-4,000 ไมล์ และควรเลือกใช้ไส้กรองที่ดีที่สุดด้วย

22. การเพิ่มออกซิเจนในน้ำมัน

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดมลพิษให้กับรถยนต์ ก็คือ การเพิ่มส่วนผสมของออกซิเจนในน้ำมัน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้เป็นจำนวนมาก

23. อันตรายจากก๊าซเรดอน

ก๊าซเรดอน เป็นก๊าซกัมมันตภาพรังสี มักพบแทรกอยู่ในดินและหิน มีคุณสมบัติที่สามารถซึมผ่านขึ้นมาบนผิวดิน และกระจายออกสู่อากาศได้โดยผ่านทางรอยร้าวและโพรงของคอนกรีตบล็อค ตามท่อ ก๊าซเรดอนเป็นก๊าซที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ

24. พิษของก๊าซเรดอนต่อร่างกาย

ก๊าซเรดอนเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของปอด การได้รับสารกัมมันตภาพรังสีจากก๊าซเรดอนติดต่อกันนานกว่า 20-30 ปี จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งที่ปอดได้

25. วิธีป้องกันอันตรายจากก๊าซเรดอน

การป้องกันอันตรายจากก๊าซเรดอน ทำได้โดยการไม่สูบบุหรี่ในบ้าน หรือในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้น้อย เปิดหน้าต่างให้มีการถ่ายเทระหว่างอากาศภายในบ้านกับอากาศนอกบ้านทุก ๆ วัน

26. ปลูกต้นไม้ในห้องช่วยลดมลพิษ

ปลูกต้นไม้ในห้อง โดยปลูกไม้กระถางผสมถ่านกับดิน ถ่านจะเป็นตัวช่วยดูดซับสารมลพิษและจุลินทรีย์ภายในห้องได้

27. พิษภัยของฝุ่นฝ้าย

ฝุ่นฝ้ายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคปอดอักเสบ โดยฝุ่นฝ้ายจะเข้าไปทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกและหัวใจ

โปรดป้องกันตนเองจากฝุ่นฝ้ายด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันในการหายใจ

28. วิธีใช้น้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน

มีสารเคมีมากกว่า 63 ชนิด ที่ใช้เป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน เช่น น้ำยาถูพื้น น้ำยาขัดห้องน้ำ

โปรดอ่านคำแนะนำในฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเองให้พ้นจากพิษภัยอันตราย

29. เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิล

เก้าอี้พลาสติกส่วนใหญ่ผลิตขึ้นใหม่จากพลาสติที่ใช้แล้ว เช่น เก้าอี้พลาสติกที่มีขนาดความยาว 6 ฟุต นั้น ทำมาจากถังพลาสติก ที่ใช้บรรจุนมเป็นจำนวนถึง 1050 ใบ

30. รักษาสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นที่ใกล้ตัว

ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจนถึงพื้นที่ป่าใหญ่ เพื่อปลูกป่า แต่เราสามารถเริ่มต้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายได้ในพื้นที่ใกล้บ้านเราเอง

31. พืชท้องถิ่นมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม

พืชดั้งเดิมของท้องถิ่นมีความสำคัญต่อระบบนิเวศวิทยา และมีความเหมาะสมกับสภาพอากาศและดินมากกว่าพืชที่นำเข้ามาจากที่อื่น ๆ

ดังนั้น เราจึงควรต้องช่วยกันป้องกันและอนุรักษ์พืชท้องถิ่นไว้ไม่ให้สูญพันธุ์

32. รถยนต์ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์

ทุก ๆ ปี รถยนต์คันหนึ่ง ๆ จะผลิต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมาสู่บรรยากาศโลกได้ในปริมาณที่มีน้ำหนักเท่ากับตัวรถเอง

33. น้ำมันก๊าซโซลีนเผาไหม้เกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์

ทุก ๆ แกลลอน ของก๊าซโซลีนในรถยนต์ที่ถูกเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนถึง 9000 กรัม กระจายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก

34. ปรากฏการณ์เรือนกระจก

การเผาไหม้เชื้อเพลิง จากเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด ภาวะปรากฏการณ์เรือนกระจกขึ้น หากสามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากแหล่งอื่น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะช่วยลดอุณหภูมิความร้อนที่เกิดขึ้นกับโลกได้

35. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่แพร่หลายมากที่สุด คือ เครื่องคิดเลขที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งในแต่ละปี ผลิตออกจำหน่ายถึงกว่า 2,000,000 เครื่อง

36. การลดการใช้สำคัญกว่าการผลิตใช้ใหม่

การนำของที่ใช้แล้วมาผลิตใช้ใหม่ อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่สำคัญเพราะความสำคัญไม่ได้อยู่ที่วิธีการนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาผลิตใช้ใหม่ได้อีก แต่สำคัญตรงที่เราควรจะหาวิธีลดการใช้พลาสติกให้น้อยลงต่างหาก

37. ผักปลอดสารพิษ

เมื่อใดก็ตามที่ได้ลงมือทำสวนครัวด้วยตนเอง เมื่อนั้นเราจึงจะเชื่อมั่นได้อย่างแน่นอนว่า เรากำลังมีโอกาสได้กินพืชผักที่ปลอดจากยาฆ่าแมลงแล้วจริง ๆ

38. สวนสาธารณะของเมือง

สวนสาธารณะนอกจากจะช่วยรักษาพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังทำให้มีพื้นที่โล่งว่างขึ้นในท่ามกลางตึกอาคารสิ่งก่อสร้างที่เติบโตอย่างแออัดในเมืองใหญ่

สวนสาธารณะไม่เพียงจะช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ แต่ยังเป็นสัญญลักษณ์จากธรรมชาติให้ผู้คนได้ตระหนักว่า เมืองมิใช่เป็นที่ตั้งของถนน อาคารระฟ้า และรถยนต์ เท่านั้น แต่ควรจะเป็นที่อยู่ของธรรมชาติด้วย

39. ดื่มน้ำสะอาดให้หมดแล้ว

ดื่มน้ำสะอาดให้หมดแก้วทุกครั้งอย่าเหลือทิ้ง เพราะน้ำสะอาดมีเหลืออยู่น้อยในโลกนี้ และกระบวนการทำน้ำให้สะอาดก็ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา

40. สมุนไพรแก้กลิ่นอับ

ในห้องที่มีกลิ่นอับ ให้ใช้สมุนไพรแห้ง หรือเครื่องหอมจากดอกไม้แห้ง ห่อด้วยเศษผ้าที่โปร่งบางแขวนไว้ในห้องที่มีกลิ่นอับ จะช่วยให้ห้องหายจากกลิ่นอับได้

41. ปิดเตาอบก่อนอาหารสุก

ทุกครั้งที่ปรุงอาหารด้วยเตาอบ ให้ปิดเตาอบก่อนอาหารสุกประมาณ 2-3 นาที เพราะความร้อนในเตาอบจะยังคงมีอยู่อย่างเพียงพอที่จะทำให้อาหารสุก

42. วิธีดูแลรักษาพรม

ดูแลรักษาพรมที่ปูพื้นให้สะอาดด้วยการดูดฝุ่น อย่างสม่ำเสมอ และในการกำจัดกลิ่นพรม ก็จะต้องใช้ผงเบกกิ้งโซดา (Baking Soda) โรยให้ทั่วพื้นพรม แล้วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จึงทำการดูดฝุ่น จะทำให้พรมปลอดจากกลิ่นได้

43. การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์

การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำผสมสบู่ บิดให้หมาดแล้วใช้เช็ดถูเฟอร์นิเจอร์ จากนั้นใช้ผ้าแห้งซ้ำอีกครั้ง

44. กระดาษใช้แล้วนำมาผลิตใช้ใหม่

การนำกระดาษที่ใช้แล้ว กลับมาผลิตใช้ใหม่ ในจำนวนทุก ๆ 1 ตันนั้น เป็นการช่วยอนุรักษ์ต้นไม้ได้ถึง 17 ต้น

45. หมั่นปัดฝุ่นจากหลอดไฟ

ให้หมั่นปัดฝุ่นจากหลอดไฟเสมอ ๆ เพราะฝุ่นและความสกปรกบนส่วนที่เป็นแก้ว จะลดความสว่างของแสงที่ส่องจากหลอดไฟ ลงไปถึง 33 เปอร์เซ็นต์ทำให้แสงจากหลอดไฟไม่สว่างเท่าที่ควร

46. คุณค่าของต้นไม้ที่มีอายุกว่า 50 ปี

ต้นไม้ทุกต้นที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป มีคุณค่าในการทำให้อากาศบริสุทธิ์ ควบคุมการกัดเซาะผิวดินและน้ำป่า ปกป้อง คุ้มครองชีวิตของสัตว์ป่าและสามารถควบคุมมลภาวะ ในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

47. ต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ต้นไม้ที่อยู่ในสภาพสภาวะสมบูรณ์ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากอากาศได้ถึง 40 ปอนด์ ในเวลา 1 ปี

48. พลังงานจากแก้วรีไซเคิล

พลังงานที่ได้จากการนำแก้วที่ใช้แล้วมาผลิตใช้ใหม่ 1 ใบ นั้น เทียบได้เท่ากับพลังงานของหลอดไฟ 60 วัตถ์ ที่ส่องสว่างได้เป็นเวลานานถึง 4 ชั่วโมง

49. พลังงานจากกระป๋องรีไซเคิล

พลังงานที่ได้จากการนำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาผลิตใช้ใหม่ 1 ใบนั้น เทียบเท่าได้กับพลังงานแสงสว่างที่ใช้กับทีวีเป็นเวลานานถึง 3 ชั่วโมง

50. เวลาที่ควรรดน้ำต้นไม้

การรดน้ำต้นไม้ระหว่างเวลา 9 โมงเช้า จนถึง 5 โมงเย็น ปริมาณน้ำที่รดจะสูญเสียไปในการระเหยมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนน้ำที่รด ดังนั้นเวลาที่ควรรดน้ำต้นไม้ที่ดีที่สุด คือ เวลา หลัง 6 โมงเย็น หรือก่อน 9 โมงเช้า


--------------------------------------------------------------------------------

51. เงาต้นไม้ประหยัดพลังงาน

เงาของต้นไม้ช่วยลดความต้องการเครื่องปรับอากาศลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และในฤดูร้อนต้นไม้จะทำให้เมืองเย็นลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์

52. คุณทำอย่างไรกับใบไม้ที่กวาดแล้ว

การเผาเศษใบไม้ทุก ๆ 1 ตัน จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ถึง 117 ปอนด์ ฝุ่น 41 ปอนด์ และคาร์ซิโนเจน 7 ปอนด์ หรือมากกว่านั้น เศษใบไม้ที่กวาดแล้วควรนำมาทำปุ๋ยหมักหรือสุมไว้โคนต้นไม้ เพื่อให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย ต่อไป

53. หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงาน

การใช้หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน 1 หลอด แทนการใช้หลอดไฟฟ้าแบบฟลูออเรสเซนต์ จะช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นปริมาณเท่ากับ ถ่านหินหนัก 600 ปอนด์ ตลอดชั่วอายุของหลอดไฟฟ้าตลอดนั้น

54. วิธีลดมลพิษจากรถยนต์

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดมลพิษจากรถยนต์ ก็คือการเพิ่มส่วนผสมของออกซิเจนในน้ำมัน การเพิ่มออกซิเจนในน้ำมันก็เพื่อช่วยลดปริมาณการเกิดของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ให้ลดน้อยลง

55. ทำอย่างไรกับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว

น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วจากรถยนต์ จะก่อมลภาวะให้เกิดกับแหล่งน้ำ และผิวดินได้หากมีการกำจัดที่ไม่เหมาะสม ทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ให้ถ่ายเทน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วลงในภาชนะที่ปิดฝา แล้วส่งคืนให้กับสถานีบริการ

56. มลพิษจากเตาแก๊ส

แหล่งมลพิษของอากาศในบ้านที่สำคัญ ก็คือ เตาแก๊สในห้องครัวที่ไม่มีช่องหรือระบบระบายอากาศ จะเป็นแหล่งสะสมของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกิดจากเตาแก๊ส

สารมลพิษในห้องครัวจะลดลงได้ด้วยการระบายอากาศที่ดี

57. วิธีปลูกต้นไม้ในอาคาร

การปลูกต้นไม้ไว้ในอาคาร วิธีการที่เหมาะสมคือ การปลูกลงในกระถางที่ผสมถ่านกับดินไว้ด้วยกัน ถ่านจะเป็นตัวช่วยดูดซับสารมลพิษ และจุลินทรีย์ได้

58. ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ

ในอาคารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จะต้องทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศบ่อย ๆ และไม่ควรใช้ยากำจัดกลิ่นหรือแอร์เฟรชเชอเนอร์

59. ถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน

ทุกครั้งก่อนจะเข้าบ้าน ต้องถอดรองเท้าไว้ที่หน้าประตูบ้าน จะต้องไม่ใส่รองเท้าเข้าบ้าน เพราะพื้นรองเท้าเป็นที่รวมของสารพิษทั้งหลาย ที่เราไปเหยียบย่ำมาจากที่ต่าง ๆ

60. สัดส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

โดยสัดส่วนความสมดุลย์ของธรรมชาติ จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่เป็นประมาณ 0.03% ของบรรยากาศ

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่นที่พอเหมาะ

61. ทำไมโลกจึงร้อนขึ้น

กิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ได้เป็นสาเหตุของการเพิ่มความร้อนให้กับโลก ได้แก่ การเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิง การเผาป่าเขตร้อนของโลก ได้ทำให้ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ในบรรยากาศ โลกจึงร้อนขึ้น

62. วิธีหยุดความร้อนให้กับโลก

เราสามารถหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการลดการใช้พลังงานที่ก่อให้เกิดความร้อนให้น้อยลง และต้องหยุดการเผาทำลายป่าลงให้ได้ ณ ทุกหนทุกแห่งของพื้นพิภพนี้

63. ปลูกป่าเพื่อให้โลกร่มเย็น

เพื่อให้โลกเย็นลง เราทุกคนจะต้องช่วยกันปลูกป่าคลุมพื้นที่ว่างเปล่าให้ได้มากที่สุด เพราะป่าเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดีที่สุดของโลก

64. สารอันตรายในถ่านอัลคาไลน์

ถ่านอัลคาไลน์เป็นถ่านที่ใช้ใส่กล้องถ่ายรูป ไฟฉาย นาฬิกา เครื่องคิดเลขที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งจัดเป็นของเสียที่เป็นอันตรายเพราะมีส่วนประกอบของสารอันตราย ได้แก่ แมงกานีส สังกะสี และปรอท

65. การเลือกใช้ถ่านแคดเมี่ยมแทนถ่านอัลคาไลน์

ควรเลือกใช้ถ่านแคดเมี่ยมแทนการใช้ถ่านอัลคาไลน์ เพราะถ่านแคดเมี่ยมเมื่อใช้หมดแล้วสามารถนำมาชาร์ตไฟใหม่ใช้ได้อีก ในขณะที่ถ่านอัลคาไลน์ใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็ต้องทิ้ง

66. อ่านคำอธิบายก่อนใช้

ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย ควรอ่านคำอธิบายให้เข้าใจก่อนใช้ทุกครั้ง และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต ของตัวเอง

67. การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

ทุกครั้งที่เลือกซื้ออาหารกระป๋อง จะต้องตรวจหาวันหมดอายุที่บอกไว้บนภาชนะบรรจุสินค้านั้น ๆ และควรซื้ออาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุเท่านั้น

68. อันตรายจากอาหารกระป๋องที่หมดอายุ

อย่าซื้ออาหารกระป๋องที่หมดอายุแล้ว เพราะอาหารกระป๋องที่หมดอายุแล้วจะเป็นสาเหตุของพิษภัยอันตรายต่อร่างกาย เช่น มะเร็งที่ตับ

โปรดระมัดระวังทุกครั้งที่ซื้ออาหารกระป๋อง เพราะที่หมดอายุแล้ว มักถูกนำมาลดราคาให้ถูกนำชวนซื้อ

69. แอมโมเนียในน้ำยาซักล้าง

ในน้ำยาซักล้างทุก ๆ ชนิด เช่น น้ำยาล้างกระจก น้ำยาย้อมผม น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ จะมีส่วนประกอบของแอมโมเนียอยู่ด้วย โปรดใช้อย่างระมัดระวังทุกครั้ง เพราะแอมโมเนียมีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ

70. สารฟอร์มาลดีไฮด์

ในไม้อัด เสื้อผ้าใหม่ ๆ และน้ำยาล้างเล็บ จะมีสารฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารประกอบอยู่ด้วย สารฟอร์มาลดีไฮด์จะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ฉะนั้นโปรดระมัดระวังทุกครั้งที่ใช้

71. บรรจุภัณฑ์ถนอมอาหาร

มีอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ที่ต้องอาศัยบรรจุภัณฑ์ ที่ช่วยในการถนอมอาหารเพื่อรักษาความกรอบของอาหารบรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการห่อหุ้มอาหาร

72. บรรจุภัณฑ์ที่ฟุ่มเฟือย

ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ได้ถูกนำมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยจนเกินความจำเป็น และได้กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาล ฉะนั้นโปรดช่วยกันลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ด้วยการไม่ซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น

73. ผลิตภัณฑ์เข้มข้นช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์ได้

ผลิตภัณฑ์บางชนิดที่พัฒนาการผลิตให้เข้มข้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำไปเจือจางก่อนใช้เป็นการช่วยลดปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์ได้

74. ใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษแทนการใช้พลาสติกและโฟม

ปัจจุบันมีการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษ เพื่อใช้บรรจุอาหารแทนบรรจุภัณฑ์พลาสติกและโฟม เช่น กล่องบรรจุน้ำผลไม้ นม เป็นต้น

75. บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้

ควรเลือกซื้อสินค้าที่บรรจุในภาชนะที่สามารถนำกลับไปผลิตใช้ได้ใหม่ ดีกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วต้องทิ้ง

76. ควรเลือกซื้อสินค้าที่บรรจุกระป๋องอลูมิเนียมและแก้ว

ควรเลือกซื้อสินค้าที่บรรจุในกระป๋องอลูมิเนียมหรือแก้ว แทนสินค้าที่บรรจุในภาชนะพลาสติกและโฟม เพราะอลูมิเนียมและแก้วสามารถนำกลับไปผลิตใช้ได้ใหม่อีก

77. การเลือกซื้อ

ไม่ควรเลือกซื้อสินค้าที่ถูกบรรจุหรือหุ่มหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์ ที่ฟุ่มเฟือยมากเกินไป

78. ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเข้มข้น

ควรซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเข้มข้นแล้วนำไปเจือจางเอง โดยการเติมน้ำก่อนใช้เป็นการประหยัดภาชนะบรรจุได้

79. ซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น

ควรเลือกซื้อสินค้าเท่าที่ต้องการและใช้ให้หมด

80. สินค้าปลอดสารพิษ

ควรเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดสารพิษเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพร่างกายของตัวท่านเอง

81. คุณสมบัติของสารละลาย

สารละลายเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการละลายวัตถุอื่น ๆ โดยปรกติแล้วสารละลายนี้จะอยู่ในรูปของเหลว เช่น ผสมอยู่ในทินเนอร์ที่ใช้ผสมสีและอยู่ในแลคเกอร์

82. วิธีป้องกันอันตรายจากสารละลาย

ส่วนประกอบของสารเคมีในสารละลาย เป็นอันตรายโดยตรงต่อดวงตา ผิวหนังและปอด

ทุกครั้งที่ต้องใช้สารละลายควรจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว สวมถุงมือ ใส่แว่นตา และใช้สารละลายในที่ที่เปิดโล่งเท่านั้น

83. ในห้องปรับอากาศควรระบายอากาศ

ในห้องปรับอากาศควรเปิดหน้าต่างให้อากาศระบายได้ในบางช่วง และควรเปิดพัดลมดูดอากาศด้วยทุกครั้งที่เปิดแอร์

84. ผลิตภัณฑ์อันตรายไม่ควรทิ้งลงแม่น้ำ

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายได้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ติดไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำยาละลายสี ผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรด น้ำยาทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษ เช่น ยากำจัดศัตรูพืช เมื่อใช้แล้วต้องมีวิธีกำจัดที่ถูกต้องและต้องไม่ทิ้งลงแม่น้ำ

85. สารอันตรายไดออกซิน

สารพิษที่มีอันตรายมากที่สุดที่เป็นส่วนประกอบของยาฆ่าแมลงคือ ไดออกซิน ไดออกซินแม้เพียงจำนวนเล็กน้อย ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ จึงไม่ควรใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่มีส่วนผสมของไดออกซิน

86. อันตรายจากเบนซิน

เบนซินเป็นตัวทำละลายที่มีพิษต่อร่างกายที่รุนแรงที่สุด คือ เป็นต้นเหตุของการป่วยเป็นโรคลูคีเมียและทำลายไขกระดูก

87. ช่วยกันปลูกต้นไม้อีก 5 เท่าจึงจะเพียงพอ

ในปริมาณการใช้ไม้และจำนวนพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง ในปัจจุบันนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการปลูกต้นไม้โตเร็วมากกว่าที่ปลูกอยู่ในปัจจุบันมากถึง 5 เท่า จึงจะเพียงพอกับการใช้ประโยชน์ในอนาคต

88. ไฮโดรเจนคือพลังงานทดแทน

ไฮโดรเจนเป็นพลังงานทดแทนที่ได้มาจากการแยกละลายสาร เช่น ไฟฟ้าจากน้ำ ไฮโดรเจนจัดเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศด้วย

89. รถยนต์พลังงานไฟฟ้า

โลกได้ผลิตรถยนต์ชนิดใหม่เพื่อลดมลพิษให้กับท้องถนน รถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่นี้ขับเคลื่อนโดยขบวนการเปลี่ยนไฮโดรเจนเหลว ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องผ่านขบวนการเผาไหม้

90. ลักษณะของรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเหลว

รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเหลวนี้มีลักษณะเดียวกับรถไฟฟ้า แต่แตกต่างกันตรงที่มีถังเก็บไฮโดรเจนเหลวแทนแบตเตอรี่ ปัจจุบันพลังงานไฮโดรเจนเหลวกำลังได้รับการพัฒนารูปแบบเพื่อที่จะนำมาใช้บนท้องถนนแล้ว

91. รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเหลวไม่ก่อมลพิษ

รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเหลวไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม เพราะไฮโดรเจนเหลวที่ใช้กับตัวรถได้มาจากแหล่งที่สะอาด

92. หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์

หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอดไฟฟ้าที่สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 75% และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดแบบขดลวดถึง 10 เท่า

93. วิธีลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับโลก

หากเราเผาถ่านให้น้อยลงและเผาพลาญน้ำมันให้น้อยลง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกขึ้นกับโลกก็จะลดน้อยลง

94. ขยะกระดาษ

ทุก ๆ อาทิตย์เราทิ้งกระดาษลงตระกร้าขยะมากถึง 1,000 ตัน แต่มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ที่กระดาษเหล่านั้นถูกนำกลับมาผลิตใช้ได้ใหม่อีก

95. อันตรายจากสีทาบ้าน

ในสีน้ำมันที่ใช้ทาบ้านนั้นมีส่วนประกอบของแคดเมี่ยมและไททาเนี่ยมออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นสารที่มีอันตราย

ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารอันตรายควรใช้สีน้ำในการทาสีบ้าน

96. การเติมลมยางรถช่วยประหยัดน้ำมัน

ในการบำรุงรักษารถ การเติมยางรถที่พอดีจะช่วยในการประหยัดน้ำมันได้

การเติมลมยางรถถ้าเติมอ่อนเกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 ตามการหมุนรอบของวงล้อที่เพิ่มขึ้น

97. เติมลมยางรถช่วยยืดอายุยางรถยนต์

การเติมลมยางรถยนต์ที่พอเหมาะพอดียังช่วยยืดอายุการใช้งาน ช่วยป้องกันไม่ให้ยางรถยนต์ฉีกขาดได้ง่ายจากสาเหตุที่เติมลมอ่อนหรือแข็งเกินไปอีกด้วย

98. เตาไมโครเวฟประหยัดไฟกว่าเตาอบ

การใช้เตาไมโครเวฟ จะช่วยประหยัดพลังงานจากไฟฟ้ามากกว่าเตาอบถึง 1-2 เท่า

99. ถ่านไฟฉายที่ชาร์ตไฟใหม่ได้ประหยัดกว่าถ่านไฟฉายธรรมดา

ถ่านไฟฉายที่ชาร์ตไฟได้ใหม่นั้นแม้จะมีส่วนประกอบของแคดเมี่ยม แต่ก็มีอายุการใช้งานได้นานกว่าถ่านไฟฉายแบบธรรมดาถึง 500 เท่า และช่วยลดปริมาณการใช้ถ่านธรรมดาได้มากที่สุด

100. อันตรายจากน้ำยาปรับอากาศ

ในน้ำยาปรับอากาศแอร์รีเฟรชเชอเนอร์นั้น มีส่วนประกอบของสารเคมีประเภทอเทอนอล ไซลีน ซึ่งเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์


--------------------------------------------------------------------------------

100 คำถามสิ่งแวดล้อม


1. สิ่งแวดล้อมคืออะไร ?

สิ่งแวดล้อมคือทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา และส่งผลต่อเราทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น แสดแดดจากดวงอาทิตย์ อากาศที่เราหายใจ ทะเล ป่าไม้ สัตว์และพืช และที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ

2. คุณภาพสิ่งแวดล้อมหมายความว่าอย่างไร ?

คุณภาพสิ่งแวดล้อมหมายถึงดุลยภาพของธรรมชาติ อันได้แก่ สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพของประชาชน และความสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชาติ

3. เขตอนุรักษ์คืออะไร ?

เขตอนุรักษ์ หมายความถึงเขตอุทยานแห่งชาติ เขตสงวนเพื่อการท่องเที่ยวและเขตพื้นที่คุ้มครองอย่างอื่นเพื่อสงวนและรักษาสภาพธรรมชาติ ตามที่กฎหมายกำหนด

4. พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหมายความว่าอะไร ?

พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหมายถึง พื้นที่ใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยทั่วไป หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ ที่อาจถูกทำลายหรืออาจได้รับความกระทบกระเทือน จากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ หรือสมบัติอันควรแก่การอนุรักษ์

5. นิเวศวิทยาคืออะไร ?

นิเวศวิทยาคือ การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่พืชและสัตว์พึ่งพาสิ่งแวดล้อมของมันและพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอด ตัวอย่างเช่น ต้นไม้ต้องการแสงอาทิตย์ อากาศ น้ำและดิน เพื่อการเติบโต เมื่อต้นไม้ทิ้งใบลงสู่ดิน ใบไม้ทั้งหลายก็จะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ ให้กลับกลายไปเป็นธาตุอาหารให้กับดินต่อไป

6. ระบบนิเวศคืออะไร ?

ระบบนิเวศคือ ระบบความผูกพันของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ในพื้นที่เฉพาะแห่งที่ต้องพึ่งพากันและกัน ตั้งแต่ห่วงโซ่ อาหารการค้ำจุนชีวิต เช่น ระบบนิเวศป่าของป่าไม้ ระบบนิเวศของทะเล เป็นต้น

7. ห่วงโซ่อาหารคืออะไร ?

ห่วงโซ่อาหารคือ ระบบของการเป็นอาหารให้กันและกันของสิ่งมีชีวิตซึ่งในกระบวนการดังกล่าว พลังงานจะผ่านจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปอีกชีวิตหนึ่ง เช่น พืชสีเขียวผลิตอาหารโดยการสังเคราะห์แสงจากดวงอาทิตย์ จากนั้น พืชสีเขียวก็จะเป็นอาหารให้แก่สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารและสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารก็จะเป็นอาหารให้กับสัตว์ที่กินสัตว์เป็นอาหารต่อไป

8. มลพิษหมายความถึงอะไร ?

มลพิษหมายถึง ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษหรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตาม ธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิด หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นภัย อันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และหมายความรวมถึงรังสีความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือนหรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ ด้วย

9. ภาวะมลพิษคืออะไร ?

ภาวะมลพิษคือ สภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือปนเปื้อนโดยมลพิษ ซึ่งทำให้ คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษในดิน

10. แหล่งกำเนิดมลพิษหมายความว่าอย่างไร ?

10. แหล่งกำเนิดมลพิษหมายความถึงชุมชนโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ สถานที่ประกอบกิจการใด ๆ หรือสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นแหล่งที่มาของมลพิษ

11. สารพิษที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมเกิดจากอะไร ?

สารพิษที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม เป็นสารพิษที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม จากการ เกษตรกรรม จากสารปรุงแต่งอาหาร ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกาย

12. อันตรายของสารพิษเกิดจากอะไร ?

อันตรายจากสารพิษเกิดจาก โมเลกุลของสารพิษซึ่งมีขนาดเล็กมากและสามารถละลายน้ำได้ง่าย จึงสามารถดูดซึมผ่านลำไส้ข้าสู่กระแสเลือด และถูกนำพาไปยังเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายให้ไปสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเซลในร่างกาย

13. ภาวะอันตรายของสารพิษในร่างกายเกิดขึ้นเมื่อใด ?

ภาวะอันตรายของสารพิษในร่างกายเกิดขึ้นเมื่อโมเลกุล ของสารพิษเกิดการรวมตัวกับโครโมโซมในร่างกายของมนุษย์ ทำให้การขับออกจากร่างกายเป็นไปได้ยากทำให้เกิดความเป็น พิษขึ้นกับกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

14. ของเสียคืออะไร ?

ของเสียคือ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษรวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นมีทั้งที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ

15. เราช่วยลดภาวะของเสียได้หรือไม่ ?

เราสามารถช่วยลดภาวะของเสียได้ โดยปฏิบัติตาม 3R ซึ่งเป็นแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ ดังนี้

R1 คือ การลดการใช้ (Reducing)

R2 คือ การใช้อีก (Reusing)

R3 คือ การนำของเสียกลับมาผลิตใช้ใหม่ (Recycling)

16. R1 การลดการใช้คืออะไร ?

R1 (Reducing) หมายถึง การใช้ให้น้อยลง หากเราพยายามใช้ของที่ทำให้เกิดขยะน้อยลง ก็เท่ากับเราได้เริ่มต้นช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

17. R2 การใช้อีก คืออะไร ?

การใช้อีก (Reusing) คือการนำของที่ใช้แล้วและจะทิ้ง มาดูว่าจะดัดแปลงใช้ประโยชน์ทำอะไรได้บ้าง เช่น กล่อง กระดาษแข็ง ขวดกาแฟ ถุงใส่ของ ซองใส่เอกสาร

18. R3 การนำของเสียกลับมาผลิตใช้ใหม่คืออะไร ?

การนำของเสียกลับมาผลิตใช้ใหม่ (Recycling) คือกระบวนการผลิตของเสีย เพื่อนำ กลับมาใช้อีก เช่น กระเบื้อง อลูมิเนียม กระจก กระดาษ พลาสติก ซึ่งเป็นวิธีลดขยะ ลดการใช้พลังงาน และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลให้กับโลก

19. เครื่องหมาย หมายถึงอะไร ?

เครื่องหมาย เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เคยใช้แล้วนำกลับมาผลิตใช้ใหม่หรือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาผลิตใช้ได้ใหม่อีก

20. อะไรบ้างที่นำกลับมาผลิตใช้ใหม่ได้ ?

สิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้แล้วนำกลับมาผลิตใช้ใหม่ได้ ได้แก่ แก้ว พลาสติก อลูมิเนียม กระดาษ

21. ในร่างกายของมนุษย์มีน้ำอยู่เท่าใด ?

ในร่างกายของมนุษย์มีน้ำอยู่ประมาณ 65% ในแอปเปิ้ลมีน้ำอยู่ถึง 80% และในมะเขือเทศและแตงโมมีน้ำอยู่เป็นปริมาณมากถึง 90%

22. น้ำมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันกี่สถานะ ?

น้ำมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน 3 สถานะ คือ
n น้ำในสถานะที่เป็นของเหลวได้แก่น้ำในแม่น้ำลำธาร ห้วย หนอง คลองบึง ทะเล
n น้ำในสถานะที่เป็นของแข็งได้แก่ น้ำแข็ง หิมะ และลูกเหน็บ
n น้ำในสถานะที่เป็นก๊าซได้แก่ไอน้ำ ที่ลอยอยู่ในอากาศ

23. วัฏจักรของน้ำคืออะไร ?

วัฏจักรของน้ำคือกระบวนการหมุนเวียนของน้ำตามระบบธรรมชาติ ที่เกิดต่อเนื่องกันโดยไม่มีจุดจบตั้งแต่การระเหยเป็นไอน้ำ การกลั่นตัวของไอน้ำ การรวมตัวเป็นก้อนเมฆ และตกลงมาสู่พื้นโลกของฝนหิมะ และลูกเห็บ

24. คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำคืออะไร ?

คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำคือการเป็นตัวทำละลายสารอื่น ๆ คือน้ำสามารถละลายสิ่งต่าง ๆ ให้กลายเป็นองค์ประกอบในตัวมันเองได้ น้ำจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่สะสมธาตุอาหารต่าง ๆ ไว้ในตัวมากที่สุด

25. น้ำ สูญหายไปจากโลกหรือไม่ ?

น้ำไม่เคยสูญหายไปจากโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ในโลก ในปัจจุบันมีเท่ากับปริมาณน้ำที่มีอยู่ในโลกเมื่อ 6000 ปีที่แล้ว อันเป็นช่วงเวลาของการเกิดอารยธรรมลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส เพียงแต่ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับปริมาณน้ำ ณ ที่ต่าง ๆ ขึ้น เช่น ที่หนึ่งปริมาณน้ำอาจเพิ่มขึ้น ขณะที่อีกที่หนึ่งปริมาณน้ำอาจลดลง


--------------------------------------------------------------------------------

26. อะไรเป็นสาเหตุให้ปริมาณน้ำแต่ละที่ไม่คงที่ ?

ความเปลี่ยนแปลงผันแปรของภูมิอากาศ ทำให้การคืนกลับของน้ำ ณ บริเวณหนึ่ง ๆ ไม่คงที่และไม่สม่ำเสมอ คือ ทำให้อัตราส่วนการคืนกลับไม่เท่ากับอัตราส่วน ที่ได้ระเหยไปจากบริเวณผิวโลก ณ ที่นั้น

27. ความผันแปรของภูมิอากาศทำให้เกิดอะไรขึ้นกับโลก ?

ความผันแปรของภูมิอากาศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล การเกิดอุทกภัย และสภาวะความแห้งแล้งในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

28. เขื่อนสร้างขึ้นเพื่ออะไร ?

เขื่อนสร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำ ณ บริเวณพื้นที่ต้นน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลบ่าไปจนหมดในหน้าฝน และเพื่อปล่อยน้ำลงมาใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง นอกจากนี้ยังช่วยเปลี่ยนแปลงทิศทางการ ไหลของน้ำให้ไหลเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการใช้ประโยชน์ได้ตามที่ต้องการ

29. น้ำทิ้งคืออะไร ?

น้ำทิ้งคือน้ำโสโครกที่ผ่านการใช้ประโยชน์แล้วจากกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ เช่น น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม

30. น้ำทิ้งจากโรงงานมีอันตรายหรือไม่ ?

น้ำทิ้งจากโรงงานเป็นน้ำโสโครกที่มีอันตรายเพราะมีกากสารพิษได้แก่ โลหะหนัก น้ำมัน และสารละลายเจือปนอยู่

31. สารอินทรีย์คืออะไร ?

สารอินทรีย์คือ สารที่ประกอบด้วยไขมัน น้ำมัน และโปรตีน

32. สารอินทรีย์ทำให้เกิดอะไรขึ้นกับน้ำ ?

สารอินทรีย์เป็นสิ่งปฏิกูลตัวสำคัญที่ทำให้เกิดความเน่าเสีย ขึ้นกับแหล่งน้ำทำให้น้ำเน่า มีกลิ่น หรือมีสีดำคล้ำ

33. จุลินทรีย์คืออะไร ?

จุลินทรีย์ คือ ชีวิตเล็ก ๆ ที่อยู่ในน้ำ หน้าที่ของจุลินทรีย์ก็คือการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยการใช้ออกซิเจนเข้ามาช่วย ดังนั้น ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำยิ่งเพิ่มขึ้นเท่าใด จุลินทรีย์ก็ จะดึงออกซิเจนมาช่วยในการย่อยสลายมากขึ้นเท่านั้น และการนำเอาออกซิเจนมาใช้มากเกินไป ทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ขาดแคลนออกซิเจน กลายเป็นแหล่งน้ำเสีย

34. บีโอดีคืออะไร ?

บีโอดี เป็นคำศัพท์ที่ย่อมาจากคำว่า Biochemical Oxyen Demand เป็นค่าที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ โดยใช้ปริมาณของความสกปรกของน้ำทิ้งเป็นตัววัด

35. ค่าบีโอดีได้จากอะไร ?

ค่าของบีโอดีจะแสดงถึงปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ ถ้าน้ำทิ้งมีสารอินทรีย์สูง มีปริมาณของออกซิเจนที่ถูกจุลินทรีย์ดึงไปใช้ ในการย่อยสลายก็สูงค่าบีโอดีน้ำนั้นก็จะสูงด้วย

36. ค่าบีโอดีบอกถึงอะไร ?

ค่าบีโอดีบอกถึงความเน่าเสียของน้ำ นั่นคือค่าบีโอดียิ่งสูงก็หมายถึงความเน่าเสียของน้ำในแหล่งน้ำนั้นยิ่งมากขึ้นด้วย

37. การรั่วไหลของน้ำมันในทะเลเกิดจากสาเหตุอะไร ?

การรั่วไหลของน้ำมันในทะเล บางครั้งเกิดจากการรั่วไหลซึมของบ่อน้ำมันหรือท่อน้ำมัน หรือจากเรือบรรทุกน้ำมัน เมื่อรั่วไหลลงสู่ทะเลแล้ว น้ำมันก็จะกระจายแผ่เป็นแผ่นบางๆ ปกคลุมพื้นผิวน้ำ

38. อันตรายที่เกิดจากคราบน้ำมันคืออะไร ?

คราบน้ำมันจะเกาะจับบนปีกนก ที่บินโฉบลงมาหากินในทะเล ทำให้ปีกของนกเหนียวหนืด แผ่กางปีกออกบินไม่ได้ นอกจากนี้บางครั้งคราบน้ำมันก็เข้าไปอุดตันในเหงือกปลาทำให้ปลาหายใจไม่ได้ และบางส่วนของน้ำมันก็จะซึมลงไปในฟองไข่ของสัตว์น้ำที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ทำให้ตัวอ่อนในไข่ตาย

39. การบำบัดน้ำเสียคืออะไร ?

การบำบัดน้ำเสียคือกระบวนการฟื้นฟูคุณภาพความสะอาด ให้กับน้ำที่ผ่านการใช้มาแล้ว

40. การบำบัดน้ำเสียมีกี่ประเภท?

มี 4 ประเภทคือ

1. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางกายภาพ

2. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางเคมี

3. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางชีววิทยา

4. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางฟิสิกส์เคมี

41. ในอากาศบริสุทธิ์มีส่วนผสมของก๊าซไนโตรเจนอยู่เท่าใด ?

ในอากาศบริสุทธิ์นั้นมีส่วนผสมของก๊าซไนโตรเจนอยู่ร้อยละ 78

42. ก๊าซไนโตรเจนสำคัญต่อโลกอย่างไร ?

ก๊าซไนโตรเจนเป็นตัวช่วยเจือจางก๊าซออกซิเจน ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิตและช่วยให้เกิดชั้นโอโซน เพื่อช่วยปกป้องโลกจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต

43. เมฆหมอก ไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สำคัญต่อโลกอย่างไร ?

เมฆหมอก ไอน้ำ และก๊าซคาร์ไดออกไซด์ ช่วยทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิบริเวณพื้นผิวโลก ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลย์ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน

44. อะไรเป็นสาเหตุให้โลกร้อนขึ้น ?

โลกร้อนขึ้นเพราะการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศ

45. อะไรเป็นสาเหตุให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ?

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ อาทิ การเผาไหม้เชื้อเพลิงและถ่านหิน การเผายังทำให้เกิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนมากลอยขึ้นไปสะสม เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศ และกลายเป็นตัวสกัดกั้น ความร้อนจากโลกไม่ให้กระจายออกไปทำให้โลกร้อนขึ้น

46. โอโซนคืออะไร?

ก๊าซที่พบอยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ซึ่งอยู่สูงจากผิวโลกประมาณ 20-60 กิโลเมตร

47. โอโซนเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

โอโซนเป็นก๊าซที่เกิดจากการที่รังสีอุลตร้าไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ส่องมากระทบกับโมเลกุลของออกซิเจนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ทำให้อะตอมของออกซิเจนแตกตัวเป็นอะตอมอิสระเมื่ออะตอมอิสระนี้รวมตัวเข้ากับโมเลกุล ของออกซิเจนที่ยังไม่แตกตัว ก็เกิดกลายเป็นโมเลกุลใหม่เกิดเป็นก๊าซโอโซนขึ้น

48. ก๊าซโอโซนมีความสำคัญต่อโลกอย่างไร ?

ก๊าซโอโซนมีคุณสมบัติพิเศษในการสามารถดูดซึมซับ รังสีอุลตร้าไวโอเลต ไม่ให้ส่องกระทบโดยตรงยังพื้นผิวโลก หน้าที่ของโอโซนจึงคล้ายเป็นหลังคาให้กับโลก

49. มีโอโซนอยู่มากน้อยเท่าใดในบรรยากาศ ?

ในความสมดุลย์ของธรรมชาตินั้น โอโซนเป็นก๊าซที่มีปริมาณน้อยมาก + ในชั้น บรรยากาศโลกประมาณกันว่า มีความหนาเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น

50. โอโซนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร ?

โฮโซนเป็นก๊าซที่ช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตทุกชีวิต ให้รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายจากความร้อนแรงของรังสีอุลตร้าไวโอเลต


--------------------------------------------------------------------------------

51. สารซีเอฟซีคืออะไร ?

สารซีเอฟซี คือ ชื่อย่อของสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารเคมีที่มนุษย์คิดค้นและผลิตขึ้นใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1930

52. สารซีเอฟซี ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ?

คุณประโยชน์ของสารซีเอฟซี ก็คือใช้เป็นสารทำความเย็นในตู้เย็นและในระบบความ เย็นต่าง ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ น้ำยาดับเพลิง น้ำยาซักแห้งและใช้เป็นก๊าซขับดันใน กระป๋องสเปรย์

53. ทำไมสารซีเอฟซีจึงเป็นก๊าซอันตราย ?

ซีเอฟซี เป็นสารที่มีความคงตัวสูงมาก ดังนั้นมันจึงสลายตัวได้ช้าที่สุดและจึงทำให้สารซีเอฟซีกลายเป็นสารมหาภัยของโลก

54. สารซีเอฟซี ก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างไร ?

เมื่อสารซีเอฟซี ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ มันก็จะลอยขึ้นไปถึงชั้นสตร้าโทสเฟียร์ ณ ที่นั้นรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้ทำให้ซีเอฟซีแตกตัวออก และปล่อยอะตอมของคลอรีนออกมา อะตอมของคลอรีนนี้ก็ไปดึงอะตอมของออกซิเจน จากโมเลกุลของโอโซนออกมาเพื่อสร้างสารชนิดใหม่ชื่อคลอรีนมอนอกไซด์ ดังนั้น ยิ่งสารซีเอฟซีเพิ่มมากขึ้นเท่าใดอะตอมของโอโซนก็จะถูกทำลายลงมากขึ้นด้วย

55. รังสีอุลตร้าไวโอเลตคืออะไร ?

รังสีอุลตร้าไวโอเลต เป็นรังสีที่เกิดมาจากดวงอาทิตย์เป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ในปริมาณที่พอเหมาะ รังสีอุลตร้าไวโอเลตจะมีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดี แต่ หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เป็นอันตรายต่อผิวหนัง เช่น ทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นมะเร็ง ที่ผิวหนังและเป็นอันตรายกับดวงตา

56. เชื้อเพลิงฟอสซิสคืออะไร ?

เชื้อเพลิงฟอสซิล คือ เชื้อเพลิงที่เกิดจากซากของสิ่งมีชีวิตภายใต้กระบวนการตามธรรมชาติ ณ ใต้พื้นพิภพเป็นเวลาหลายล้านปีมาแล้ว

57. กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในโลกส่วนใหญ่ได้มาจากไหน ?

กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในโลกส่วนใหญ่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งส่วนใหญ่ คือ ถ่านหิน

58. การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้เกิดอะไรขึ้นกับโลก ?

การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และกิจการอุตสาหกรรมทั้งหลายนั้น ได้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กระทบออกสู่บรรยากาศเป็นปริมาณมากในทุก ๆ ปี

59. เพราะเหตุใด การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจึงมีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกขึ้น ?

เพราะน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อถูกเผาผลาญก็จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น และการเพิ่มของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกขึ้นกับโลก

60. คาร์บอนคืออะไร ?

คาร์บอนเป็นธาตุที่สำคัญมากที่สุดธาตุหนึ่ง ในองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในร่างกายของมนุษย์นั้น องค์ประกอบครึ่งหนึ่งของสสารที่เป็นของแข็งคือส่วนที่เป็นคาร์บอน

61. ในต้นไม้มีส่วนประกอบของธาตุคาร์บอนอยู่เท่าใด ?

ในต้นไม้ต้นหนึ่งๆ จะมีส่วนประกอบที่เป็นธาตุคาร์บอนอยู่ถึง 90 ส่วน

62. การหมุนเวียนของธาตุคาร์บอนเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อใดก็ตามที่สิ่งมีชีวิตตายลง ต้นไม้ถูกโค่นและเผา ธาตุคาร์บอนที่สะสมอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและในเนื้อไม้ ก็จะกลับคืนสู่อากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

63. สารมลพิษในอากาศที่สำคัญมีอะไรบ้าง ?

สารมลพิษ ในอากาศที่สำคัญที่มีอันตรายต่อมนุษย์โดยตรง ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนและตะกั่ว

64. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศมากที่สุด คือการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

65. ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมและจากรถยนต์

66. ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไร ?

ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำลายเนื้อเยื่อปอด และเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ

67. ฝนกรดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เมื่อใดก็ตามที่ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ได้สัมผัสกับความชื้นในบรรยากาศก็จะเกิดปฏิกิริยากลายเป็นกรดซัลฟูริคและกรดไนตริค ถ้าความชื้นไม่มากนักก็จะเป็นกรดที่แห้งและมีขนาดเล็ก แต่ในความชื้นสูงจะทำให้เกิดเป็นฝนกรดตกลงสู่พื้นโลก เป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

68. มลพิษทางอากาศในอาคารบ้านเรือนเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

มลพิษทางอากาศในอาคารบ้านเรือนเกิดขึ้น เนื่องจากการขาดการระบายถ่ายเทของอากาศ อากาศจะบริสุทธิ์และสมดุลย์ได้ก็ด้วยการถ่ายเทและการเคลื่อนที่ การปิดกั้นอากาศจะ ทำให้อากาศสะสมมลพิษไว้และส่งผลถึง ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารบ้านเรือนนั้น ๆ

69. ความสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายมนุษย์คืออะไร ?

ความสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายมนุษย์ คือการถ่ายเทความร้อนระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อม และความสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายมนุษย์ เกิดขึ้นเมื่อความร้อนที่ร่างกายได้รับมีค่าเท่ากับความร้อนที่ถูกปล่อยออกจากร่างกาย

FROM HER
FROM HER
PROGRAM FREE
DOWNLOADFREE

มนุษย์กับทรัพยากร

Posted by เศรษฐศาสตร์ On 01:54 0 comments

มนุษย์ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ มนุษย์จะอยู่รอดได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบอื่นๆ อยู่อย่างสมบูรณ์ ซึ่งองค์ประกอบต่างๆนั้น ต่างก็มีหน้าที่เฉพาะของตน มีการไหลผ่านพลังงานอยู่ตลอดเวลา มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆทั้งในด้านคุณภาพ หรือ ปริมาณ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้โดยตรงหรือใช้ทางอ้อมโดยการนำมาแปรรูปต่างๆ เพื่อเป็นปัจจัยสี่ แต่พฤติกรรมต่างๆ ที่มนุษย์กำลังทำอยู่ในขณะนี้ กลับเป็นสิ่งที่ทำลายทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือ ไม่ตั้งใจก็ตาม อาจจะ เกิดจากความรู้เท่าไม่ทันการณ์ หรืออาจจะเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตน โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา เช่น การทำลายดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ จับสัตว์ป่า ทำให้สัตว์สูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นนี้ ได้ลุกลามไปทั่ว มิได้เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นปัญหาที่ระบาดไปทั่ว โลกแล้ว ซึ่งก็อาจมีสาเหตุมาจาก การเพิ่มจำนวนของมนุษย์ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่มีผลในการทำลายสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก รวมทั้งผู้ที่นำสิ่งต่างๆ มาใช้นี้ ก็ใช้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำไปใช้อย่างผิดๆ อย่างขาดความระมัดระวัง ความรอบคอบ ทำให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติลดลงโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งใจ หรือ อาจจะคิดว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่ส่งผลมาถึงตัวเอง ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้น มีผลต่อตัว เราโดยตรง หรือ อาจจะมีผลต่อคนในรุ่นลูกหลานของเรา


ฉะนั้น ปัญหาทรัพยากรเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรที่จะใส่ใจเป็นอย่างมาก ควรที่จะศึกษา เกี่ยวกับความสำคัญ ประโยชน์ต่างๆ ของทรัพยากรเหล่านี้ เพื่อที่จะได้เห็นคุณค่า และรู้ว่าควรที่จะดูแลรักษาทรีพยากรเหล่านั้นให้คงอยู่ต่อไป ตราบรุ่นลูกรุ่นหลานของตน
ทรัพยากรนํ้า
พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ลุ่มชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรหรือชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล น้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็มรวมไปถึงชายฝั่งทะเลและที่ในทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร
ดัชนีคุณภาพน้ำ
1. ออกซิเจนที่ละลานในน้ำ ( DO = Dissolved oxygen ) ปริมาณออกซิเจนในน้ำ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำมาจากบรรยากาศ หรือ จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความกดดันของออกซิเจนในบรรยากาศสูงออกเจนก็จะละลายในน้ำได้มาก แต่จะเป็นปฏิภาคกับอุณหภูมิของน้ำและออกซิเจนละลายในน้ำน้อยลง โดยทั่วไปปริมาณออกซิเจนในน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ คือ 5 มิลลิกรัม/ลิตร หากปริมารออกซิเจนในน้ำมีค่าต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตร จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
2. บีโอดี ( BOD = Bichemical Oxygen Demand ) คือปริมาณออกซิเจนที่ถูกจินทรีย์ใช้ไปในสำหรับการย่อยสลายสารอินทรีย์ ชนิดที่ย่อยสลายได้ สัมพันธ์กับเวลาและอุณหภูมิ ตามมาตรฐานสากลจึงวัดค่าบีโอดีทั้งหมดในเวลา 5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ค่าบีโอดี ใช้เป็นดัชนีวัดความสกปรกของน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตรกรรมและใช้กำหนดลักษณะน้ำที่ทิ้งลงสู่แม่น้ำ
แหล่งที่มาของน้ำเสีย
1. จากธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวของพืช สิ่งปฏิกูลของสัตว์ในรูปของสารอินทรีย์เมื่อลงสู่แหล่งน้ำค่อยๆ สลายตัวโดยจุลินทรีย์ ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำลง
2. จากแหล่งชุมชน ได้แก่น้ำเสียจากที่พักอาศัยแหล่งต่างๆ
3. จากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการต่างๆ
4. จากการเกษตร ของเสียจากกาเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
5. กรดและเบส น้ำจะสะอาดมีค่า ph ความเป็นกรด - เบสเท่ากับ 7
กระบวนการบำบัดน้ำเสียทั่วไป
1. ด้วยวิธีทางกายภาพ เป็นวิธีการที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้แก่ การดักด้วยตะแกรง การตกตะกอน การทำให้ลอย การกรอง การแยกตัวโดยการเหวี่ยง
2. โดยวิธีทางเคมี เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการเติมสารเคมีลงไปหรือโดยปฏิกิริยาเคมีอื่น ๆ ได้แก่ การทำให้เกิดตะกอน การเติมหรือลดออกซิเจน การฆ่าเชื้อโรค
3. โดยวิธีทางชีววิทยา เป็นการใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยการกำจัดพวกสารอินทรีย ์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยพวกจุลินทรีย์ คือ กระบวนการกำจัดแบบใช้ออกซิเจน และ กะบวนการกำจัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือการใช้พืชน้ำชนิดต่าง ๆ ช่วยในบำบัดน้ำเสีย เช่น ผักตบชวา บัว จอก
1.ทรัพยากรป่าไม้
การใช้ประโยชน์ ปัญหาและการจัดการ
ป่า เป็นระบบนิเวศที่มีรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่ามีสิ่งชีวิตที่สำคัญอยู่ 3กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่สำคัญที่สำ ได้แก่ พืช ต้นไม้ใหญ่น้อยและเถาวัลย์ ไม้เลื้อย กลุ่มที่สอง ได้แก่ จุลินทรีย์ ไส้เดือน แมลง กลุ่มที่สาม ได้แก่ สัตว์ป่า
ป่าดิบชื้น ลักษณะเป็นป่าทึบเขียวชอุ่มอยู่ในเขตฝนตกชุกตลอดปี พบมากที่สุดทางภาคใต้ ชายฝั่งใต้ ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จันทบุรีภาคเหนือมีตามลำห้วยหุบเขา และไหล่เขาที่ชุ่มชื้น พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน สยา ตาเสือ ตะแบก มะม่วงป่า
ป่าดิบแล้ง เป็นป่าไม่ผลัดใบ ป่ามีลักษณะโปร่งชื้น ขนาดไม้เล็กกว่า พื้นที่ป่าสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 เมตร พบในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ยางแดง ตะเคียนหิน มะค่า โมง กะบาก เคี่ยม หลุมพอ
ป่าดิบเขา เป็นป่าไม่ผลัดใบ พบบริเวณเขตเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่อยู่บนภูเขาในภาคเหนือพื้นที่ป่าสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธาร โปร่งกว่าป่าดิบชื้น อากาศค่อนข้างเย็น พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ไม้วงศ์ก่อ มะขามป้อมดง ยมหอม พญาเสือโคร่ง สนแผง อบเชย
ป่าพรุหรือป่าบีง เป็นป่าที่มีน้ำจืดท่วมขังและชื้นตลอดปี สภาพดินเป็นดินพรุซึ่งเกิดจากการย่อยสลายอินทรียสาร มีมากในภาคใต้ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ เสม็ด สำโรง ระกำ จิก อ้อ แขม หวายน้ำ หวายโป่ง กก เฟิน
ป่าสนเขา พบในบริเวณเทือกเขาสูงและที่ราบสูงกระจายเป็นย่อม ๆ ตามภูเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 750 เมตร มีมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พรรณไม้ในป่ามีไม้สนเป็นหลัก ได้แก่ สนสองใบและสนสามใบ
ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิดขึ้นปะปนกัน บางแห่งมีไผ่ขึ้นผสม พื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย มีมากในภาคเหนือ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ชิงชัน ตะแบก
ป่าเต็งรัง หรือ ป่าแดง ป่าแพะ เป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ขนาดใหญ่ พื้นที่แห้งแล้ง ดินร่วนปนทรายหรือกรวด ลูกรัง มีมากในภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นป่าที่แห้งมากมักเกิดไฟป่าบ่อย ๆ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ เต็งรัง มะขามป้อม พะยอม ติ้ว แต้ว ประดู่แดง สมอไทย
ป่าชายหาด เป็นป่าไม้โปร่งผลัดใบ อยู่ตามหาดทรายริมทะเลที่น้ำท่วมไม่ถึง พรรณไม้ในป่า ได้แก่ สนทะเล หูกวาง กระทิง โพธิ์ทะเล ตีนเป็ดทะเล
มีการกำหนดสัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก 15 ชนิด ตามพระราชบัญญติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้แก่ แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ นกกระเรียน เลียงผา กวางผา ละองหรือละมั่ง สมัน กูปรี ความป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกแต้วแร้วท้องดำ และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
การใช้ประโยชน์จากป่าไม้
1. ประโยชน์ที่ได้รับจากป่าโดยตรง ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่ได้มาจากป่าไม้เช่นการนำไม้มาสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องเรือน ใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม เนื้อที่ป่าไม้ซึ่งควรจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของประเทศ ในปัจจุบันคงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 20 ของเนื้อที่ของประเทศไทย
2. ประโยชน์ที่ได้รับจากป่าโดยอ้อม ได้แก่ การเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ ต้นไม้ในป่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เกิดการหมุนเวียนคาร์บอน ไนโตรเจน น้ำ และแร่ธาตุอื่น
2.อากาศ
อากาศ : คุณภาพอากาศ ปัญหา และการจัดการ
โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ มีความหนาประมาณ 1,000 กิโลเมตรแต่ชั้นบรรยากาศที่มีออกซิเจนเพียงพอสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีความหนาเพียง 5 – 6 กิโลเมตรเท่านั้นบรรยากาศชั้นนี้มีแก๊สต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่ คือ ไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 78 ออกซิเจนประมาณร้อยละ 21 คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 0.03 ไอน้ำและแก๊สอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย
แหล่งที่มาของอากาศเสีย
การคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้มีสารที่เกิดจากการกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ปล่อยสู่บรรยากาศ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของซัลเฟอร์ ออกไซด์ของไนโตรเจน
สารที่ก่อให้เกิดมลภาวะของอากาศ
1. อนุภาคสาร อาจเป็นของแข็ง เช่น ฝุ่นละออง หรือของเหลว เช่น ละอองกรดกำมะถัน ฝุ่นละออง เขม่า ควัน เป็นมลพิษทางอากาศที่รุนแตงที่สุดในกรุงเทพมหานคร ฝุ่นและเขม่าเหล่านี้จะปลิวฟุ้งมาจากพื้นถนน และกองหินดินทรายในบริเวณที่มีการก่อสร้าง ยานพาหนะหลายประเภทก็ปล่อยควันดำออกมา โดยเฉพาะรถที่ใช้น้ำมันดีเซล โรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ไม่มีการสกัดฝุ่นและเขม่าก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก
2. คาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 % ต่อป ี ปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากสาเหตุใหญ่ 2 ประการ ประการแรกคือ การเผาผลาญสารอินทรย์และเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่ง คือ การที่มนุษย์ทำลายป่า
3. คาร์บอนมอนออกไซด์ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ทั่วไปที่เกิดอย่างไม่สมบูรณ์ ทำให้มีแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ออกมา เครื่องยนต์เบนซินมีการระบายออกของแก๊สนี้มากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถรวมตัวกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจน 200-250 เท่า ทำให้เลือดที่ถูกนำไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขาดออกซิเจน ถ้าได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณน้อย ๆ จะเป็นผลให้เกิดอาการหน้ามือ วิงเวียน อ่อนเพลีย ถ้าได้รับเข้าไปมากทำให้ถึงตายได้
4. ซัลเฟอร์ออกไซด์ เป็นแก๊สที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อภูเขาไฟระเบิด แต่ในปัจจุบันแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศเกือบทั้งหมดเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง จากโรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีกลิ่นฉุนแสบจมูก และจะมีอันตรายมากขึ้นเกาะตัวกับฝุ่นละอองคือทำให้แสบตา ระคายคอ แน่นหน้าอก ความชื้นและออกซิเจนในอากาศทำให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์กลายเป็นละอองกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นฝนกรดที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อเนื้อเยื่อบุผิวของร่างกาย
5. ออกไซด์ของไนโตรเจน ได้แก่ ไนตริกออกไซด์ ( NO ) ไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO ) และไนตรัสออกไซด์ ( N O ) ออกไซด์ของไนโตรเจนเกิดขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เมื่อมีออกซิเจนมาก และการเผาไหม้เกิดอย่างสมบูรณ์ และเมื่อออกไซด์ของไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับน้ำฝนก็กลายเป็นกรดไนตริก ซึ่งหากมีความเข้มข้นมาก คือมีค่าความเป็นกรดเบสต่ำ เรียกว่า ฝนกรด ก็จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์และพืช ออกไซด์ของไนโตรเจนยังเกิดจากการเผาไหม้อขงถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติที่อุณหภูมิสูง ซึ่งมักจะเป็นกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานแยกหรือแปรสภาพแก๊สธรรมชาติ โรงงานแก้ว ปูนซีเมนต์ และโรงไฟฟ้า เป็นต้น แก๊สไตริกออกไซด์ไม่จัดเป็นแก๊สพิษ แต่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเปลี่ยนไปเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งมีสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นฉุน เป็นแก๊สพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อปอดและหลอดลม นอกจากนี้ยังทำให้พืชเติบโตช้ากว่าปกติ
6. สารตะกั่ว ตะกั่วเป็นโบหะหนัก มีความทนทานและสามารถอ่อนตัวได้ เมื่อได้รับความร้อนจึงทำให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย
7. สารอินทรีย์ที่ระเหยง่าย เช่น ไฮโดรคาร์บอน ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารอินทรีย์คลอไรด์ เป็นต้น ส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์โดยเฉพาะที่เห็นเป็นควันขาวจากท่อไอเสียรถจักรยานยนต์และโรงงานอะตสาหกรรมเคมี
8. เขม่าและขี้เถ้า ฝุ่นละออง เขม่าและขี้เถ้าเกิดจากการเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ของสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เขม่าและขี้เถ้าจะแขวนลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ
แสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต( UV ) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงคลื่น คือ A B และ C
รังสี UVA มีช่วงคลื่นยาว พลังงานต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังช่วยในการสร้างวิตามินในสิ่งมีชีวิต
รังสี UVC มีช่วงคลื่นสั้นที่สุด มีพลังงานสูงเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก
ยิ่งชั้นโอโซนถูกทำลายไปมากเท่าใด รังสี UVB และ UVC ก็สามารถส่องลงมาถึงผิวโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรจะได้รัะบรังสีในระยะเวลามากกว่ารังสีอัลตราไวโอแลตช่วงคลื่นสั้น
ทำให้เกิดมะเร็งในผิวหนัง ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำลายสารพันธุกรรม โปรตีนในร่างกายรวมทั้งดวงตา และทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กตายได้ ผละกระทบที่มีต่อพืชนั้นพบว่า การเจริญเติบโตจะช้าลง ผลผลิตทางการเกษตรและป่าไม้ลดลง ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหาร
+
ทรัพยากรณ์ธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่เองตามธรรมชาติ และสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ

ในการแบ่งประเภทของทรัพยากรธรรมชาติมีวิธีการแบ่งอยู่หลายวิธี
แต่ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติที่เราใช้แล้วไม่สามารถ
สร้างเสริมขึ้นมาใหม่ได้ หรือจะเกิดขึ้นใหม่นั้นต้องใช้เวลานานมาก เช่น น้ำมัน ถ่านหิน
และแร่ธาตุเป็นต้น
2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วมีการหมดเปลือง ได้แก่ ทรัพยากรที่ใช้แล้วถึงแม้จะหมดเปลือง
แต่สามารถที่จะเสริมสร้างขึ้นมาใหม่ได้ เช่น ป่าไม้ แสงแดด ลม น้ำ เป็นต้น
************************

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่ควรทราบมีดังนี้


###ดิน###
ดิน ดินเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินเปลือกโลกทับถมกับซากพืชซากสัตว์
เป็นเวลานานนับพัน ๆ ปี ทรัพยากรดินมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
และสามารถทำให้พืชและสัตว์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนที่มีฝนตกชุก ดินจึงเป็นดินสีแดงหรือแดงปนเหลืองมักจะขาด
ธาตุอาหารของพืช เพราะธาตุอาหารเหล่านั้นจะถูกน้ำชะล้างไปด้วย ดังนั้น จึงทำให้บางแห่ง
มีพืชน้อยและประชากรอาศัยอยู่น้อยด้วย

ส่วนบริเวณที่ดินอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง ที่ราบลุ่มแม่น้ำภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาคเหนือ รวมทั้งบริเวณที่ราบระหว่าง
หุบเขาในทางเหนือ

ลักษณะโดยสรุปของดินในภาคต่าง ๆ มีดังนี้

1. ภาคกลาง ดินในภาคกลางนับได้ว่าเป็นดินที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะภาคกลาง
เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่แม่น้ำสายต่าง ๆ พัดมาทับถมกัน
จึงทำให้ดินในเขตที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกมาก โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าว ยกเว้น
ภาคกลางตอนล่างที่มีดินเปรี้ยว

2. ภาคเหนือ ดินในภาคเหนือเป็นดินที่คุณภาพไม่ค่อยดีมากนัก เพราะเป็นดินร่วนที่อุ้มน้ำได้ดี
แต่ดินที่มีคุณภาพดีเหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่ บริเวณที่ราบระหว่างหุบเขาและที่ราบลุ่มแม่น้ำ

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ซึ่งไม่อุ้มน้ำ
จึงทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำ ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ดีเท่ากับภาคอื่น ๆ

4. ภาคตะวันออก ดินในภาคตะวันออกเกิดจากการผุกร่อนของหิน ซึ่งสามารถระบายน้ำได้ดี
แต่ปลูกพืชได้ไม่นาน เพราะธาตุอาหารหมด ดังนั้น จึงต้องเพิ่มปุ๋ยเพื่อให้เหมาะกับการปลูกพืช

5. ภาคตะวันตก ดินในภาคตะวันตกส่วนใหญ่เป็นดินร่วนที่เกิดจากการสลายตัว
ของหินจากเทือกเขา และการทับถมของอินทรีย์วัตถุ ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีน้อยเพราะ
เป็นดินร่วน ที่ระบายน้ำได้ดี

สำหรับดินที่อุดมสมบูรณ์ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และที่ราบลุ่มแม่กลอง

6. ภาคใต้ ดินในภาคใต้เกิดจากปัจจัยสำคัญสองประการ คือ การสลายตัวของหินจากเทือกเขา
และการทับถมของดินตะกอนจากแม่น้ำลำธารและน้ำทะเลที่พัดมาทับถมกันกลายเป็นที่ราบ
ดินเหล่านี้เป็นดินร่วน ซึ่งเหมาะในการเพาะปลูก


###น้ำ###
น้ำ น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์
และพืชเป็นอย่างมาก เพราะถ้าสิ่งมีชีวิตขาดน้ำแล้วก็จะตายในเวลาไม่นานนัก
นอกจากนี้ยังใช้น้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกด้วย

แหล่งที่มาของน้ำมาจากแหล่งสำคัญ 3 แหล่ง คือ

1. น้ำฝน เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมทำให้ฝนตกจากการนำมาของ
ลมมรสุม ฝนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม
ประชากรส่วนใหญ่ของไทยประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม โดยอาศัยแหล่งน้ำฝนเป็นสำคัญ
ดังนั้น ถ้าปีใดมีฝนน้อยเกินไปหรือมากเกินไปจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรด้วย

2. น้ำผิวดิน ได้แก่ น้ำตามแม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึงทั่วไป ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำเหล่านี้
จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณของน้ำฝนด้วย คือ ถ้าบริเวณใดอยู่ในเขตฝนตกชุก
ระดับน้ำสะสมจะมีมากด้วย สำหรับแหล่งน้ำที่อยู่ตามผิวดินนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญเพราะ
จะต้องใช้น้ำจากแหล่งดังกล่าวตลอดปี

3. น้ำใต้ดิน ได้แก่ น้ำที่อยู่ภายใต้พื้นดินหรือเรียกว่า "น้ำบาดาล" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำฝน
ที่ซึมลงไปสะสมในชั้นดินหรือชั้นหินเบื้องล่าง

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในเขตมรสุมฝนตกชุกก็ตาม แต่ฝนไม่ได้ตกติดต่อกันทั้งปี
และไม่ทั่วทุกภูมิภาค จึงทำให้บางภูมิภาคขาดแคลนน้ำและแห้งแล้ง ดังนั้น จึงจำเป็นที่รัฐบาล
จะต้องสร้างอ่างเก็บน้ำ เขื่อน หรือ เหมือง ฝาย เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง

วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำที่สำคัญมีดังนี้
1. การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
2. ไม่ตัดไม้ทำลายป่า และไม่ทำไร่เลื่อนลอย เพราะป่าไม้จะช่วยรักษาความสมดุลตามธรรมชาติ
ทำให้ฝนตกตามฤดูกาล และยังสามารถป้องกันน้ำท่วมด้วย
3. ไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งเป็นการรักษาแหล่งน้ำด้วย

แหล่งน้ำในประเทศไทย

แหล่งน้ำสำคัญในภาคต่าง ๆ ของไทยมีดังนี้

1. ภาคเหนือ เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา และสาขา เช่น แม่น้ำสุพรรณบุรี แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อย
และแม่น้ำอื่น ๆ เช่น แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำเมย แม่น้ำปาย เป็นต้น
สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ได้แก่ กว๊านพะเยา ในจังหวัดพะเยา
มีเนื้อที่ประมาณ 12,100 ไร่ และเขื่อนขนาดใหญ่ที่เป็นอ่างเก็บน้ำใช้เพื่อการชลประทาน
และผลิตกระแสไฟฟ้าในภาคเหนือ คือ เขื่อนสิริกิติ์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้น

2. ภาคกลาง เป็นภาคที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น ๆ เพราะเป็นเขตที่ราบลุ่ม
มีแม่น้ำสายสำคัญหลายสายไหลผ่านภาคนี้ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแควน้อย
และแม่น้ำแควใหญ่ เป็นต้น
ส่วนแหล่งน้ำจืดธรรมชาติขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลางตอนบน คือ บึงบรเพ็ด
ตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ประมาณ 30,100 ไร่
สำหรับเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท
เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนพระรามหก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำมากที่สุด ทั้งที่ปริมาณน้ำฝน
ที่ตกมาแต่ละปีมิได้น้อยไปกว่าภาคอื่น ๆ เลย แต่ทั้งนี้เพราะดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ ส่วนแม่น้ำในภาคนี้
ส่วนมากจะมีน้ำน้อย โดยเฉพาะในฤดูแล้ง แม่น้ำที่สำคัญ เช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม แม่น้ำเลย
แม่น้ำพอง และแม่น้ำโขง เป็นต้น
ส่วนแหล่งน้ำจืดธรรมชาติที่สำคัญ คือ "หนองหาน" จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในภาคนี้
คือมีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ไร่ สำหรับเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บน้ำในภาคนี้ได้แก่เขื่อนอุบลรัตน์
จังหวัดขอนแก่น เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ และเขื่อนสิรินทร จังหวัดอุบลราชธานี

4. ภาคตะวันออก เป็นภูมิภาคที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เพราะเป็นเขตที่มีฝนตกชุก แม่น้ำในภาคนี้
เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ที่สำคัญ เช่น แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำประแส แม่น้ำจันทบุรี
และแม่น้ำตราด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เขตนี้ยังมีเขตที่ขาดแคลนน้ำ จึงต้องมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ
เพื่อสนองความต้องการของประชาชน เช่น อ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน จังหวัดชลบุรี
อ่างเก็บน้ำเขาระกำ จังหวัดตราด และอ่างเก็บน้ำห้วยยาง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น

5. ภาคตะวันตก เป็นภาคที่ค่อนข้างจะขาดแคลนน้ำ เพราะเป็นเขตที่มีฝนตกน้อย และตั้งอยู่ในเขตอับฝน
แต่มีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำเพชรบุรี
และแม่น้ำปราณบุรี

6. ภาคใต้ นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ฝนตกชุกมากอีกภาคหนึ่ง เพราะอยู่ในเขตของอิทธิพลลมมรสุม
สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ แม่น้ำ แม่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำตาปี
แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตรัง แม่น้ำปัตตานี เป็นต้น

###ป่าไม้###


ป่าไม้ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนตกชุก ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น แบบมรสุม
โดยปริมาณน้ำฝนกระจายทั่วประเทศ ทำให้มีป่าไม้กระจายอยู่ทั่วไป โดยกรมป่าไม้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แบ่งป่าไม้ในประเทศไทยออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ไว้ดังนี้

1. ป่าไม้ผลัดใบ ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้น
บริเวณภาคใต้ที่เริ่มทิ้งใบตั้งแต่ปลายฤดูหนาว แล้วเริ่มผลิใบใหม่หลังจากทิ้งใบไม่นาน

2. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ ป่าไม้ผลัดใบหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าป่าดงดิบ เป็นป่าไม้มีใบเขียวชอุ่มตลอดปี
เพราะเป็นเขตที่มีความชุ่มชื้น เพราะมีผลตกชุกตลอดปี ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของไทย
บริเวณเทือกเขาในภาคเหนือและเทือกเขาในเขตภาคตะวันตก
และบริเวณเทือกเขาทางด้านตะวันออกของอ่าวไทย

ป่าไม้ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวข้างต้นนั้นสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีก 5 ชนิด ดังนี้

1. ป่าดงดิบ เป็นป่าไม้ประเภทไม้ผลัดใบ มีใบเขียวชอุ่มตลอดปี มีต้นไม้ขึ้นอยู่รวมกันหนาทึบ
แสงแดดแทบจะส่องลงไม่ถึงพื้นดิน มีต้นไม้สูงใหญ่ ส่วนบริเวณด้านล่างจะมีไม้เลื้อย
และเถาวัลย์ขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่ บริเวณที่มีฝนตกชุก เช่น ในภาคใต้ ภาคตะวันออก
และบริเวณเทือกเขาที่ได้รับลมฝนและมีความชุ่มชื้นตลอดปี เช่น ภูเขาเพชรบูรณ์
ภูเขาพนมดงรัก ภูเขาผีปันน้ำ สำหรับไม้ที่สำคัญในป่าดงดิบ ได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียน
ตะแบก พะยูง กระบาก จำปา นอกจากนี้มีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิด

2. ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าไม้ผลัดใบในฤดูแล้ง มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ป่าไม้ประเภทนี้
เป็นป่าไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด เพราะมีไม้ที่มีคุณค่า และราคาแพง ซึ่งพบมาก
ในภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้สัก ไม้เต็ง รัง ประดู่ มะค่า แดง ชิงชัง
นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากไม้ไผ่ เปลือกไม้ ยางไม้ และสมุนไพร

3. ป่าแดง หรือป่าโคกหรือป่าแพะ เป็นป่าไม้ผลัดใบในฤดูแล้งเป็นป่าที่พบทั่วไปในที่ราบ
และบนภูเขา หรือบริเวณที่เป็นโคกหรือที่ดอน ดินเป็นดินทรายหรือดินลูกรังที่มีสีแดง
จึงเรียกว่าป่าแดง ป่าประเภทนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก ซึ่งมีมากในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และมีอยู่เป็นหย่อม ๆ ในภาคเหนือ และภาคกลาง ไม้ที่สำคัญได้แก่
ไม้ยาง พลวง เต็ง รัง พะยอม พะยูง แต้ว เหียง และไม้แดง เป็นต้น

4. ป่าสนเขา เป็นป่าไม้ผลัดใบที่ขึ้นในที่สูงหรือตามยอดเขาหรือเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเล
ตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป ได้แก่ บริเวณเทือกเขาทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
ไม้ที่สำคัญได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ

5. ป่าชายเลน เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินเลน
ป่าชายเลนเป็นป่าไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากเพราะไม้ที่ขึ้นในเขตป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นป่าไม้ที่เจริญเติบโตเร็ว และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นไม้
และยังเป็นบริเวณที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางนิเวศน์วิทยา เพราะเป็นแหล่ง
เพาะพันธุ์ของตัวอ่อน และแหล่งอาหารของสัตว์น้ำหลายชนิด บริเวณป่าชายเลนของไทย
ได้แก่ ชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย และบริเวณชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
*************************

วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
1. ควรใช้ไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การนำเอาเศษไม้มาทำเป็นไม้อัด
2. งดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า และโค่นถางป่าบริเวณภูเขาเพื่อทำไรเลื่อนลอย


###แร่ธาตุ###

แร่ธาตุ เป็นทรัพยากรธรรมชาตที่สำคัญที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบัน
เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิต เช่น การใช้ก๊าซในครัวเรือน
การใช้น้ำมันกับยานพาหนะและจะเห็นว่าปัจจุบันน้ำมันปิโตรเลียม
มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจของโลก เป็นต้น

ทรัพยากรแร่ธาตุแบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. แร่โลหะ เป็นแร่ที่มีความวาว โดยสามารถทำเป็นแผ่นบาง ๆ หรือดึงเป็นเส้นยาวได้
และเป็นสื่อความร้อนได้ดี แร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่

ดีบุก ใช้ทำแผ่นดีบุกสำหรับห่ออาหาร และผลิตภัณฑ์กันชื้น หรือใช้เคลือบโลหะ
กับสนิมโลหะผสมหล่อตัวพิมพ์ หลอดบรรจุของเหลว ซึ่งพบมากบริเวณเทือกเขา
ด้านตะวันตกของประเทศตลอดแนวเหนือถึงใต้ ผลิตได้มากที่จังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง
ตรัง สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร และราชบุรี ประเทศไทยสามารถ
ผลิตแร่ดีบุกได้มากเป็นอันดับสามของโลก รองจากประเทศมาเลเซีย และโบลิเวีย

แมงกานีส ใช้ประโยชน์ในการทำแบตเตอรี อุตสาหกรรมเคมีและถลุงเหล็ก
แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลำพูน ลงขลา ยะลา เชียงใหม่ เลย ชลบุรี กาญจนบุรี
และปัตตานี แร่ที่ผลิตได้ส่งไปขายยังฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย และใต้หวัน

วุลแฟรม นำมาใช้ทำโลหะผสมที่แข็งกว่าเหล็กกล้า และไม่เป็นสนิม ใช้เป็นเครื่องมือเจาะเหล็ก
และโลหะอื่นได้ทุกชนิด ทำเกราะเรือรบ รถถัง กระสุนเจาะเกราะ ไส้หลอดวิทยุ เป็นต้น
แหล่งผลิตส่วนมากมักพบอยู่รวมกับแร่ดีบุก ปัจจุบันมีการทำเหมืองที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
สงขลา และยะลา เมื่อผลิตได้ส่งไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมณี และญีปุ่น

พลวง นำมาใช้ทำโลหะผสมในอุตสาหกรรมทำสีทาบ้าน ตัวพิมพ์ และการบัดกรีโลหะ
แหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี ลพบุรี เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก และแพร่
เมื่อผลิตแล้วนำขายต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมเยอรมนี ญี่ปุ่น และไต้หวัน

เหล็ก เป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทั้งอุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมหนัก แหล่งผลิตที่สำคัญ
ได้แก่ จังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช สระบุรี และยังมีแหล่งแร่เหล็กที่ยังไม่ได้เปิดเหมืองแร่เหล็ก
คือที่จังหวัดเลย ฉะเชิงเทรา และแพร่

ตะกั่ว ใช้ประโยชน์ในการทำลูกปืน ทำแผ่นกรีตแบตเตอรี สารประกอบของตะกั่วใช้ทาสีแก้ว โลหะผสม
แหล่งผลิตที่สำคัญคือจังหวัดกาญจนบุรี และเชียงใหม่

สังกะสี ใช้เคลือบแผ่นเหล็กกันสนิม ได้แก่ การเคลือบแผ่นเหล็กมุงหลังคาที่เรียกว่าสังกะสี แหล่งผลิตสำคัญ
ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี แพร่ ลำปาง และตาก

2. แร่อโลหะ เป็นแร่ที่ไม่มีความวาว เป็นสื่อความร้อนและสื่อนำไฟฟ้าที่ไม่ดี และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตรงข้ามกับโลหะ
แร่อโลหะที่สำคัญ ได้แก่

ฟลูออไรต์ ประโยชน์สำคัญคือ ถ้าเป็นเนื้อบริสุทธิ์ใช้ทำกรดไฮไดรฟลูออริก และอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
สำหรับชนิดรองลงมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว โลหะเคลือบและถลุงเหล็ก แหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ จังหวัดลำพูน
เชียงใหม่ เพชรบุรี ราชบุรี และยังพบที่แม่ฮ่องสอน และประจวบคีรีขันธ์ แร่ที่ผลิตได้จะส่งไปขายที่ญี่ปุ่น

ยิปซัม ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์และชอล์ก แหล่งผลิตสำคัญที่จังหวัดพิจิตร และสุราษฎร์ธานี

หินปูนและหินอ่อน หินปูนคือหินที่ใช้ผลิตคอนกรีต หรือใช้รองไม้หมอนตามรางรถไฟ หรือนำมาเผาทำปูนขาว
มีอยู่ตามเทือกเขาทั่วไป หินอ่อนเป็นหินซึ่งแปรสภาพมาจากหินปูน เป็นหินที่มีความสวยงาม และราคาแพง
พบมากที่จังหวัดสุโขทัย และสระบุรี

ทราย ทรายที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยทรายที่ใช้ในการถมที่และก่อสร้างมีอยู่ตามแม่น้ำทั่ว ๆ ไป
เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนทรายแก้วเป็นทรายขาวบริสุทธิ์ ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมแก้ว
พบมากที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และสงขลา

เกลือ เกลือเป็นแร่ธาตุที่ใช้ในการประกอบอาหาร ถนอมอาหาร และใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ในประเทศไทย
มีเกลืออยู่ 2 ประเภท คือ
ก. เกลือสมุทร เป็นเกลือที่ได้มาจากการกักน้ำทะเล แล้วปล่อยให้ระเหยแห้งไปเอง ทำกันมากใน
จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสมุทรปราการ
ข. เกลือสินเธาว์ เป็นเกลือที่ได้จากผลึกเกลือในดิน หรือน้ำละลายสารเกลือในดิน พบมากในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และมหาสารคาม

หินดินดาน หินดินดานที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นหินดินดานที่เป็นหินน้ำมัน คือเป็นหินที่มีเนื้อละเอียด
และมีอินทรีย์สาร เมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันคุณภาพต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้ในเชื้อเพลิงได้ พบมากตาม
ภูเขาทางภาคเหนือ เช่น ในจังหวัดตาก และกระบี่

ดินมาร์ลหรือดินสอพอง ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ผลิตมากในจังหวัดลพบุรี
นครสวรรค์ และกาญจนบุรี

3. แร่เชื้อเพลิง แร่เชื้อเพลิงเป็นแร่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันเราต้องสั่งแร่เชื้อเพลิงเข้าประเทศปีละมากๆ ทำให้เราต้องขาดดุลการค้าต่างประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

สำหรับแร่เชื้อเพลิงที่ขุดพบในประเทศไทย มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศที่สำคัญได้แก่

ถ่านหินลิกไนต์ ถ่านหินประเภทลิกไนต์ที่ขุดพบในประเทศไทยเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ คือเมื่อมีการเผาไหม้
ให้ความร้อนไม่สูงมาก แต่จะมีเถ้าถ่านมาก ไม่เหมาะในการถลุงเหล็กปัจจุบันเราใช้ประโยชน์กับโรงงานไฟฟ้า
และบ่มใบยาสูบ พบมากที่ลำปาง กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครพนม กาฬสินธุ์ และลำพูน

ปิโตรเลี่ยม เป็นน้ำมันดิบ เมื่อนำมากลั่นจะให้น้ำมันประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้กับเครื่องจักร เครื่องยนต์
ในประเทศไทยขุดพบน้ำมันปิโตรเลียมบริเวณลุ่มแม่น้ำกก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลานกระบือ
จังหวัดกำแพงเพชร บริเวณอ่าวไทย และบริเวณในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรี

ก๊าซธรรมชาติ เป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ติดไฟ และใช้พลังงานความร้อน และแสงสว่าง ปัจจุบันสามารถขุด
และนำมาใช้แล้วคือบริเวณอ่าวไทย โดยตั้งสถานีใหญ่แยกก๊าซที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
และมีการสำรวจพบในเขตอำเภอน้ำพอง และอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

หินน้ำมัน เป็นหินที่สามารถนำมากลั่นเอาน้ำมันมาทำเชื้อเพลิงได้ แต่ปัจจุบันไทยเราไม่นำมากลั่น เพราะ
ต้นทุนการผลิตสูงมาก แหล่งที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่บริเวณจังหวัดตาก และจังหวัดกระบี่








FROM HER
FROM HER
PROGRAM FREE
DOWNLOADFREE

Followers