เศรษฐศาสตร์จุลภาค

vition........

มนุษย์กับทรัพยากร

Posted by เศรษฐศาสตร์ On 01:54

มนุษย์ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ มนุษย์จะอยู่รอดได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบอื่นๆ อยู่อย่างสมบูรณ์ ซึ่งองค์ประกอบต่างๆนั้น ต่างก็มีหน้าที่เฉพาะของตน มีการไหลผ่านพลังงานอยู่ตลอดเวลา มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆทั้งในด้านคุณภาพ หรือ ปริมาณ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้โดยตรงหรือใช้ทางอ้อมโดยการนำมาแปรรูปต่างๆ เพื่อเป็นปัจจัยสี่ แต่พฤติกรรมต่างๆ ที่มนุษย์กำลังทำอยู่ในขณะนี้ กลับเป็นสิ่งที่ทำลายทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือ ไม่ตั้งใจก็ตาม อาจจะ เกิดจากความรู้เท่าไม่ทันการณ์ หรืออาจจะเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตน โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา เช่น การทำลายดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ จับสัตว์ป่า ทำให้สัตว์สูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นนี้ ได้ลุกลามไปทั่ว มิได้เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นปัญหาที่ระบาดไปทั่ว โลกแล้ว ซึ่งก็อาจมีสาเหตุมาจาก การเพิ่มจำนวนของมนุษย์ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่มีผลในการทำลายสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก รวมทั้งผู้ที่นำสิ่งต่างๆ มาใช้นี้ ก็ใช้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำไปใช้อย่างผิดๆ อย่างขาดความระมัดระวัง ความรอบคอบ ทำให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติลดลงโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งใจ หรือ อาจจะคิดว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่ส่งผลมาถึงตัวเอง ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้น มีผลต่อตัว เราโดยตรง หรือ อาจจะมีผลต่อคนในรุ่นลูกหลานของเรา


ฉะนั้น ปัญหาทรัพยากรเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรที่จะใส่ใจเป็นอย่างมาก ควรที่จะศึกษา เกี่ยวกับความสำคัญ ประโยชน์ต่างๆ ของทรัพยากรเหล่านี้ เพื่อที่จะได้เห็นคุณค่า และรู้ว่าควรที่จะดูแลรักษาทรีพยากรเหล่านั้นให้คงอยู่ต่อไป ตราบรุ่นลูกรุ่นหลานของตน
ทรัพยากรนํ้า
พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ลุ่มชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรหรือชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล น้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็มรวมไปถึงชายฝั่งทะเลและที่ในทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร
ดัชนีคุณภาพน้ำ
1. ออกซิเจนที่ละลานในน้ำ ( DO = Dissolved oxygen ) ปริมาณออกซิเจนในน้ำ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำมาจากบรรยากาศ หรือ จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความกดดันของออกซิเจนในบรรยากาศสูงออกเจนก็จะละลายในน้ำได้มาก แต่จะเป็นปฏิภาคกับอุณหภูมิของน้ำและออกซิเจนละลายในน้ำน้อยลง โดยทั่วไปปริมาณออกซิเจนในน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ คือ 5 มิลลิกรัม/ลิตร หากปริมารออกซิเจนในน้ำมีค่าต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตร จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
2. บีโอดี ( BOD = Bichemical Oxygen Demand ) คือปริมาณออกซิเจนที่ถูกจินทรีย์ใช้ไปในสำหรับการย่อยสลายสารอินทรีย์ ชนิดที่ย่อยสลายได้ สัมพันธ์กับเวลาและอุณหภูมิ ตามมาตรฐานสากลจึงวัดค่าบีโอดีทั้งหมดในเวลา 5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ค่าบีโอดี ใช้เป็นดัชนีวัดความสกปรกของน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตรกรรมและใช้กำหนดลักษณะน้ำที่ทิ้งลงสู่แม่น้ำ
แหล่งที่มาของน้ำเสีย
1. จากธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวของพืช สิ่งปฏิกูลของสัตว์ในรูปของสารอินทรีย์เมื่อลงสู่แหล่งน้ำค่อยๆ สลายตัวโดยจุลินทรีย์ ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำลง
2. จากแหล่งชุมชน ได้แก่น้ำเสียจากที่พักอาศัยแหล่งต่างๆ
3. จากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการต่างๆ
4. จากการเกษตร ของเสียจากกาเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
5. กรดและเบส น้ำจะสะอาดมีค่า ph ความเป็นกรด - เบสเท่ากับ 7
กระบวนการบำบัดน้ำเสียทั่วไป
1. ด้วยวิธีทางกายภาพ เป็นวิธีการที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้แก่ การดักด้วยตะแกรง การตกตะกอน การทำให้ลอย การกรอง การแยกตัวโดยการเหวี่ยง
2. โดยวิธีทางเคมี เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการเติมสารเคมีลงไปหรือโดยปฏิกิริยาเคมีอื่น ๆ ได้แก่ การทำให้เกิดตะกอน การเติมหรือลดออกซิเจน การฆ่าเชื้อโรค
3. โดยวิธีทางชีววิทยา เป็นการใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยการกำจัดพวกสารอินทรีย ์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยพวกจุลินทรีย์ คือ กระบวนการกำจัดแบบใช้ออกซิเจน และ กะบวนการกำจัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือการใช้พืชน้ำชนิดต่าง ๆ ช่วยในบำบัดน้ำเสีย เช่น ผักตบชวา บัว จอก
1.ทรัพยากรป่าไม้
การใช้ประโยชน์ ปัญหาและการจัดการ
ป่า เป็นระบบนิเวศที่มีรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่ามีสิ่งชีวิตที่สำคัญอยู่ 3กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่สำคัญที่สำ ได้แก่ พืช ต้นไม้ใหญ่น้อยและเถาวัลย์ ไม้เลื้อย กลุ่มที่สอง ได้แก่ จุลินทรีย์ ไส้เดือน แมลง กลุ่มที่สาม ได้แก่ สัตว์ป่า
ป่าดิบชื้น ลักษณะเป็นป่าทึบเขียวชอุ่มอยู่ในเขตฝนตกชุกตลอดปี พบมากที่สุดทางภาคใต้ ชายฝั่งใต้ ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จันทบุรีภาคเหนือมีตามลำห้วยหุบเขา และไหล่เขาที่ชุ่มชื้น พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน สยา ตาเสือ ตะแบก มะม่วงป่า
ป่าดิบแล้ง เป็นป่าไม่ผลัดใบ ป่ามีลักษณะโปร่งชื้น ขนาดไม้เล็กกว่า พื้นที่ป่าสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 เมตร พบในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ยางแดง ตะเคียนหิน มะค่า โมง กะบาก เคี่ยม หลุมพอ
ป่าดิบเขา เป็นป่าไม่ผลัดใบ พบบริเวณเขตเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่อยู่บนภูเขาในภาคเหนือพื้นที่ป่าสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธาร โปร่งกว่าป่าดิบชื้น อากาศค่อนข้างเย็น พรรณไม้ในป่า ได้แก่ ไม้วงศ์ก่อ มะขามป้อมดง ยมหอม พญาเสือโคร่ง สนแผง อบเชย
ป่าพรุหรือป่าบีง เป็นป่าที่มีน้ำจืดท่วมขังและชื้นตลอดปี สภาพดินเป็นดินพรุซึ่งเกิดจากการย่อยสลายอินทรียสาร มีมากในภาคใต้ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ เสม็ด สำโรง ระกำ จิก อ้อ แขม หวายน้ำ หวายโป่ง กก เฟิน
ป่าสนเขา พบในบริเวณเทือกเขาสูงและที่ราบสูงกระจายเป็นย่อม ๆ ตามภูเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 750 เมตร มีมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พรรณไม้ในป่ามีไม้สนเป็นหลัก ได้แก่ สนสองใบและสนสามใบ
ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิดขึ้นปะปนกัน บางแห่งมีไผ่ขึ้นผสม พื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย มีมากในภาคเหนือ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ชิงชัน ตะแบก
ป่าเต็งรัง หรือ ป่าแดง ป่าแพะ เป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ขนาดใหญ่ พื้นที่แห้งแล้ง ดินร่วนปนทรายหรือกรวด ลูกรัง มีมากในภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นป่าที่แห้งมากมักเกิดไฟป่าบ่อย ๆ พรรณไม้ในป่า ได้แก่ เต็งรัง มะขามป้อม พะยอม ติ้ว แต้ว ประดู่แดง สมอไทย
ป่าชายหาด เป็นป่าไม้โปร่งผลัดใบ อยู่ตามหาดทรายริมทะเลที่น้ำท่วมไม่ถึง พรรณไม้ในป่า ได้แก่ สนทะเล หูกวาง กระทิง โพธิ์ทะเล ตีนเป็ดทะเล
มีการกำหนดสัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก 15 ชนิด ตามพระราชบัญญติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้แก่ แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ นกกระเรียน เลียงผา กวางผา ละองหรือละมั่ง สมัน กูปรี ความป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกแต้วแร้วท้องดำ และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
การใช้ประโยชน์จากป่าไม้
1. ประโยชน์ที่ได้รับจากป่าโดยตรง ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่ได้มาจากป่าไม้เช่นการนำไม้มาสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องเรือน ใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม เนื้อที่ป่าไม้ซึ่งควรจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของประเทศ ในปัจจุบันคงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 20 ของเนื้อที่ของประเทศไทย
2. ประโยชน์ที่ได้รับจากป่าโดยอ้อม ได้แก่ การเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ ต้นไม้ในป่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เกิดการหมุนเวียนคาร์บอน ไนโตรเจน น้ำ และแร่ธาตุอื่น
2.อากาศ
อากาศ : คุณภาพอากาศ ปัญหา และการจัดการ
โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ มีความหนาประมาณ 1,000 กิโลเมตรแต่ชั้นบรรยากาศที่มีออกซิเจนเพียงพอสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีความหนาเพียง 5 – 6 กิโลเมตรเท่านั้นบรรยากาศชั้นนี้มีแก๊สต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่ คือ ไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 78 ออกซิเจนประมาณร้อยละ 21 คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 0.03 ไอน้ำและแก๊สอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย
แหล่งที่มาของอากาศเสีย
การคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้มีสารที่เกิดจากการกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ปล่อยสู่บรรยากาศ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของซัลเฟอร์ ออกไซด์ของไนโตรเจน
สารที่ก่อให้เกิดมลภาวะของอากาศ
1. อนุภาคสาร อาจเป็นของแข็ง เช่น ฝุ่นละออง หรือของเหลว เช่น ละอองกรดกำมะถัน ฝุ่นละออง เขม่า ควัน เป็นมลพิษทางอากาศที่รุนแตงที่สุดในกรุงเทพมหานคร ฝุ่นและเขม่าเหล่านี้จะปลิวฟุ้งมาจากพื้นถนน และกองหินดินทรายในบริเวณที่มีการก่อสร้าง ยานพาหนะหลายประเภทก็ปล่อยควันดำออกมา โดยเฉพาะรถที่ใช้น้ำมันดีเซล โรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ไม่มีการสกัดฝุ่นและเขม่าก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก
2. คาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 % ต่อป ี ปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากสาเหตุใหญ่ 2 ประการ ประการแรกคือ การเผาผลาญสารอินทรย์และเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่ง คือ การที่มนุษย์ทำลายป่า
3. คาร์บอนมอนออกไซด์ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ทั่วไปที่เกิดอย่างไม่สมบูรณ์ ทำให้มีแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ออกมา เครื่องยนต์เบนซินมีการระบายออกของแก๊สนี้มากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถรวมตัวกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจน 200-250 เท่า ทำให้เลือดที่ถูกนำไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขาดออกซิเจน ถ้าได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณน้อย ๆ จะเป็นผลให้เกิดอาการหน้ามือ วิงเวียน อ่อนเพลีย ถ้าได้รับเข้าไปมากทำให้ถึงตายได้
4. ซัลเฟอร์ออกไซด์ เป็นแก๊สที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อภูเขาไฟระเบิด แต่ในปัจจุบันแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศเกือบทั้งหมดเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง จากโรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีกลิ่นฉุนแสบจมูก และจะมีอันตรายมากขึ้นเกาะตัวกับฝุ่นละอองคือทำให้แสบตา ระคายคอ แน่นหน้าอก ความชื้นและออกซิเจนในอากาศทำให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์กลายเป็นละอองกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นฝนกรดที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อเนื้อเยื่อบุผิวของร่างกาย
5. ออกไซด์ของไนโตรเจน ได้แก่ ไนตริกออกไซด์ ( NO ) ไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO ) และไนตรัสออกไซด์ ( N O ) ออกไซด์ของไนโตรเจนเกิดขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เมื่อมีออกซิเจนมาก และการเผาไหม้เกิดอย่างสมบูรณ์ และเมื่อออกไซด์ของไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับน้ำฝนก็กลายเป็นกรดไนตริก ซึ่งหากมีความเข้มข้นมาก คือมีค่าความเป็นกรดเบสต่ำ เรียกว่า ฝนกรด ก็จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์และพืช ออกไซด์ของไนโตรเจนยังเกิดจากการเผาไหม้อขงถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติที่อุณหภูมิสูง ซึ่งมักจะเป็นกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานแยกหรือแปรสภาพแก๊สธรรมชาติ โรงงานแก้ว ปูนซีเมนต์ และโรงไฟฟ้า เป็นต้น แก๊สไตริกออกไซด์ไม่จัดเป็นแก๊สพิษ แต่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเปลี่ยนไปเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งมีสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นฉุน เป็นแก๊สพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อปอดและหลอดลม นอกจากนี้ยังทำให้พืชเติบโตช้ากว่าปกติ
6. สารตะกั่ว ตะกั่วเป็นโบหะหนัก มีความทนทานและสามารถอ่อนตัวได้ เมื่อได้รับความร้อนจึงทำให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย
7. สารอินทรีย์ที่ระเหยง่าย เช่น ไฮโดรคาร์บอน ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารอินทรีย์คลอไรด์ เป็นต้น ส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์โดยเฉพาะที่เห็นเป็นควันขาวจากท่อไอเสียรถจักรยานยนต์และโรงงานอะตสาหกรรมเคมี
8. เขม่าและขี้เถ้า ฝุ่นละออง เขม่าและขี้เถ้าเกิดจากการเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ของสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เขม่าและขี้เถ้าจะแขวนลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ
แสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต( UV ) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงคลื่น คือ A B และ C
รังสี UVA มีช่วงคลื่นยาว พลังงานต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังช่วยในการสร้างวิตามินในสิ่งมีชีวิต
รังสี UVC มีช่วงคลื่นสั้นที่สุด มีพลังงานสูงเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก
ยิ่งชั้นโอโซนถูกทำลายไปมากเท่าใด รังสี UVB และ UVC ก็สามารถส่องลงมาถึงผิวโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรจะได้รัะบรังสีในระยะเวลามากกว่ารังสีอัลตราไวโอแลตช่วงคลื่นสั้น
ทำให้เกิดมะเร็งในผิวหนัง ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำลายสารพันธุกรรม โปรตีนในร่างกายรวมทั้งดวงตา และทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กตายได้ ผละกระทบที่มีต่อพืชนั้นพบว่า การเจริญเติบโตจะช้าลง ผลผลิตทางการเกษตรและป่าไม้ลดลง ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหาร
+
ทรัพยากรณ์ธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่เองตามธรรมชาติ และสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ

ในการแบ่งประเภทของทรัพยากรธรรมชาติมีวิธีการแบ่งอยู่หลายวิธี
แต่ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติที่เราใช้แล้วไม่สามารถ
สร้างเสริมขึ้นมาใหม่ได้ หรือจะเกิดขึ้นใหม่นั้นต้องใช้เวลานานมาก เช่น น้ำมัน ถ่านหิน
และแร่ธาตุเป็นต้น
2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วมีการหมดเปลือง ได้แก่ ทรัพยากรที่ใช้แล้วถึงแม้จะหมดเปลือง
แต่สามารถที่จะเสริมสร้างขึ้นมาใหม่ได้ เช่น ป่าไม้ แสงแดด ลม น้ำ เป็นต้น
************************

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่ควรทราบมีดังนี้


###ดิน###
ดิน ดินเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินเปลือกโลกทับถมกับซากพืชซากสัตว์
เป็นเวลานานนับพัน ๆ ปี ทรัพยากรดินมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
และสามารถทำให้พืชและสัตว์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนที่มีฝนตกชุก ดินจึงเป็นดินสีแดงหรือแดงปนเหลืองมักจะขาด
ธาตุอาหารของพืช เพราะธาตุอาหารเหล่านั้นจะถูกน้ำชะล้างไปด้วย ดังนั้น จึงทำให้บางแห่ง
มีพืชน้อยและประชากรอาศัยอยู่น้อยด้วย

ส่วนบริเวณที่ดินอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง ที่ราบลุ่มแม่น้ำภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาคเหนือ รวมทั้งบริเวณที่ราบระหว่าง
หุบเขาในทางเหนือ

ลักษณะโดยสรุปของดินในภาคต่าง ๆ มีดังนี้

1. ภาคกลาง ดินในภาคกลางนับได้ว่าเป็นดินที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะภาคกลาง
เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่แม่น้ำสายต่าง ๆ พัดมาทับถมกัน
จึงทำให้ดินในเขตที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกมาก โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าว ยกเว้น
ภาคกลางตอนล่างที่มีดินเปรี้ยว

2. ภาคเหนือ ดินในภาคเหนือเป็นดินที่คุณภาพไม่ค่อยดีมากนัก เพราะเป็นดินร่วนที่อุ้มน้ำได้ดี
แต่ดินที่มีคุณภาพดีเหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่ บริเวณที่ราบระหว่างหุบเขาและที่ราบลุ่มแม่น้ำ

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ซึ่งไม่อุ้มน้ำ
จึงทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำ ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ดีเท่ากับภาคอื่น ๆ

4. ภาคตะวันออก ดินในภาคตะวันออกเกิดจากการผุกร่อนของหิน ซึ่งสามารถระบายน้ำได้ดี
แต่ปลูกพืชได้ไม่นาน เพราะธาตุอาหารหมด ดังนั้น จึงต้องเพิ่มปุ๋ยเพื่อให้เหมาะกับการปลูกพืช

5. ภาคตะวันตก ดินในภาคตะวันตกส่วนใหญ่เป็นดินร่วนที่เกิดจากการสลายตัว
ของหินจากเทือกเขา และการทับถมของอินทรีย์วัตถุ ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีน้อยเพราะ
เป็นดินร่วน ที่ระบายน้ำได้ดี

สำหรับดินที่อุดมสมบูรณ์ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และที่ราบลุ่มแม่กลอง

6. ภาคใต้ ดินในภาคใต้เกิดจากปัจจัยสำคัญสองประการ คือ การสลายตัวของหินจากเทือกเขา
และการทับถมของดินตะกอนจากแม่น้ำลำธารและน้ำทะเลที่พัดมาทับถมกันกลายเป็นที่ราบ
ดินเหล่านี้เป็นดินร่วน ซึ่งเหมาะในการเพาะปลูก


###น้ำ###
น้ำ น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์
และพืชเป็นอย่างมาก เพราะถ้าสิ่งมีชีวิตขาดน้ำแล้วก็จะตายในเวลาไม่นานนัก
นอกจากนี้ยังใช้น้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกด้วย

แหล่งที่มาของน้ำมาจากแหล่งสำคัญ 3 แหล่ง คือ

1. น้ำฝน เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมทำให้ฝนตกจากการนำมาของ
ลมมรสุม ฝนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม
ประชากรส่วนใหญ่ของไทยประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม โดยอาศัยแหล่งน้ำฝนเป็นสำคัญ
ดังนั้น ถ้าปีใดมีฝนน้อยเกินไปหรือมากเกินไปจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรด้วย

2. น้ำผิวดิน ได้แก่ น้ำตามแม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึงทั่วไป ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำเหล่านี้
จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณของน้ำฝนด้วย คือ ถ้าบริเวณใดอยู่ในเขตฝนตกชุก
ระดับน้ำสะสมจะมีมากด้วย สำหรับแหล่งน้ำที่อยู่ตามผิวดินนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญเพราะ
จะต้องใช้น้ำจากแหล่งดังกล่าวตลอดปี

3. น้ำใต้ดิน ได้แก่ น้ำที่อยู่ภายใต้พื้นดินหรือเรียกว่า "น้ำบาดาล" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำฝน
ที่ซึมลงไปสะสมในชั้นดินหรือชั้นหินเบื้องล่าง

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในเขตมรสุมฝนตกชุกก็ตาม แต่ฝนไม่ได้ตกติดต่อกันทั้งปี
และไม่ทั่วทุกภูมิภาค จึงทำให้บางภูมิภาคขาดแคลนน้ำและแห้งแล้ง ดังนั้น จึงจำเป็นที่รัฐบาล
จะต้องสร้างอ่างเก็บน้ำ เขื่อน หรือ เหมือง ฝาย เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง

วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำที่สำคัญมีดังนี้
1. การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
2. ไม่ตัดไม้ทำลายป่า และไม่ทำไร่เลื่อนลอย เพราะป่าไม้จะช่วยรักษาความสมดุลตามธรรมชาติ
ทำให้ฝนตกตามฤดูกาล และยังสามารถป้องกันน้ำท่วมด้วย
3. ไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งเป็นการรักษาแหล่งน้ำด้วย

แหล่งน้ำในประเทศไทย

แหล่งน้ำสำคัญในภาคต่าง ๆ ของไทยมีดังนี้

1. ภาคเหนือ เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา และสาขา เช่น แม่น้ำสุพรรณบุรี แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อย
และแม่น้ำอื่น ๆ เช่น แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำเมย แม่น้ำปาย เป็นต้น
สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ได้แก่ กว๊านพะเยา ในจังหวัดพะเยา
มีเนื้อที่ประมาณ 12,100 ไร่ และเขื่อนขนาดใหญ่ที่เป็นอ่างเก็บน้ำใช้เพื่อการชลประทาน
และผลิตกระแสไฟฟ้าในภาคเหนือ คือ เขื่อนสิริกิติ์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้น

2. ภาคกลาง เป็นภาคที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น ๆ เพราะเป็นเขตที่ราบลุ่ม
มีแม่น้ำสายสำคัญหลายสายไหลผ่านภาคนี้ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแควน้อย
และแม่น้ำแควใหญ่ เป็นต้น
ส่วนแหล่งน้ำจืดธรรมชาติขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลางตอนบน คือ บึงบรเพ็ด
ตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ประมาณ 30,100 ไร่
สำหรับเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท
เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนพระรามหก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำมากที่สุด ทั้งที่ปริมาณน้ำฝน
ที่ตกมาแต่ละปีมิได้น้อยไปกว่าภาคอื่น ๆ เลย แต่ทั้งนี้เพราะดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ ส่วนแม่น้ำในภาคนี้
ส่วนมากจะมีน้ำน้อย โดยเฉพาะในฤดูแล้ง แม่น้ำที่สำคัญ เช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม แม่น้ำเลย
แม่น้ำพอง และแม่น้ำโขง เป็นต้น
ส่วนแหล่งน้ำจืดธรรมชาติที่สำคัญ คือ "หนองหาน" จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในภาคนี้
คือมีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ไร่ สำหรับเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บน้ำในภาคนี้ได้แก่เขื่อนอุบลรัตน์
จังหวัดขอนแก่น เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ และเขื่อนสิรินทร จังหวัดอุบลราชธานี

4. ภาคตะวันออก เป็นภูมิภาคที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เพราะเป็นเขตที่มีฝนตกชุก แม่น้ำในภาคนี้
เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ที่สำคัญ เช่น แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำประแส แม่น้ำจันทบุรี
และแม่น้ำตราด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เขตนี้ยังมีเขตที่ขาดแคลนน้ำ จึงต้องมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ
เพื่อสนองความต้องการของประชาชน เช่น อ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน จังหวัดชลบุรี
อ่างเก็บน้ำเขาระกำ จังหวัดตราด และอ่างเก็บน้ำห้วยยาง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น

5. ภาคตะวันตก เป็นภาคที่ค่อนข้างจะขาดแคลนน้ำ เพราะเป็นเขตที่มีฝนตกน้อย และตั้งอยู่ในเขตอับฝน
แต่มีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำเพชรบุรี
และแม่น้ำปราณบุรี

6. ภาคใต้ นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ฝนตกชุกมากอีกภาคหนึ่ง เพราะอยู่ในเขตของอิทธิพลลมมรสุม
สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ แม่น้ำ แม่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำตาปี
แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตรัง แม่น้ำปัตตานี เป็นต้น

###ป่าไม้###


ป่าไม้ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนตกชุก ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น แบบมรสุม
โดยปริมาณน้ำฝนกระจายทั่วประเทศ ทำให้มีป่าไม้กระจายอยู่ทั่วไป โดยกรมป่าไม้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แบ่งป่าไม้ในประเทศไทยออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ไว้ดังนี้

1. ป่าไม้ผลัดใบ ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้น
บริเวณภาคใต้ที่เริ่มทิ้งใบตั้งแต่ปลายฤดูหนาว แล้วเริ่มผลิใบใหม่หลังจากทิ้งใบไม่นาน

2. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ ป่าไม้ผลัดใบหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าป่าดงดิบ เป็นป่าไม้มีใบเขียวชอุ่มตลอดปี
เพราะเป็นเขตที่มีความชุ่มชื้น เพราะมีผลตกชุกตลอดปี ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของไทย
บริเวณเทือกเขาในภาคเหนือและเทือกเขาในเขตภาคตะวันตก
และบริเวณเทือกเขาทางด้านตะวันออกของอ่าวไทย

ป่าไม้ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวข้างต้นนั้นสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีก 5 ชนิด ดังนี้

1. ป่าดงดิบ เป็นป่าไม้ประเภทไม้ผลัดใบ มีใบเขียวชอุ่มตลอดปี มีต้นไม้ขึ้นอยู่รวมกันหนาทึบ
แสงแดดแทบจะส่องลงไม่ถึงพื้นดิน มีต้นไม้สูงใหญ่ ส่วนบริเวณด้านล่างจะมีไม้เลื้อย
และเถาวัลย์ขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่ บริเวณที่มีฝนตกชุก เช่น ในภาคใต้ ภาคตะวันออก
และบริเวณเทือกเขาที่ได้รับลมฝนและมีความชุ่มชื้นตลอดปี เช่น ภูเขาเพชรบูรณ์
ภูเขาพนมดงรัก ภูเขาผีปันน้ำ สำหรับไม้ที่สำคัญในป่าดงดิบ ได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียน
ตะแบก พะยูง กระบาก จำปา นอกจากนี้มีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิด

2. ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าไม้ผลัดใบในฤดูแล้ง มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ป่าไม้ประเภทนี้
เป็นป่าไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด เพราะมีไม้ที่มีคุณค่า และราคาแพง ซึ่งพบมาก
ในภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้สัก ไม้เต็ง รัง ประดู่ มะค่า แดง ชิงชัง
นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากไม้ไผ่ เปลือกไม้ ยางไม้ และสมุนไพร

3. ป่าแดง หรือป่าโคกหรือป่าแพะ เป็นป่าไม้ผลัดใบในฤดูแล้งเป็นป่าที่พบทั่วไปในที่ราบ
และบนภูเขา หรือบริเวณที่เป็นโคกหรือที่ดอน ดินเป็นดินทรายหรือดินลูกรังที่มีสีแดง
จึงเรียกว่าป่าแดง ป่าประเภทนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก ซึ่งมีมากในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และมีอยู่เป็นหย่อม ๆ ในภาคเหนือ และภาคกลาง ไม้ที่สำคัญได้แก่
ไม้ยาง พลวง เต็ง รัง พะยอม พะยูง แต้ว เหียง และไม้แดง เป็นต้น

4. ป่าสนเขา เป็นป่าไม้ผลัดใบที่ขึ้นในที่สูงหรือตามยอดเขาหรือเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเล
ตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป ได้แก่ บริเวณเทือกเขาทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
ไม้ที่สำคัญได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ

5. ป่าชายเลน เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินเลน
ป่าชายเลนเป็นป่าไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากเพราะไม้ที่ขึ้นในเขตป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นป่าไม้ที่เจริญเติบโตเร็ว และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นไม้
และยังเป็นบริเวณที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางนิเวศน์วิทยา เพราะเป็นแหล่ง
เพาะพันธุ์ของตัวอ่อน และแหล่งอาหารของสัตว์น้ำหลายชนิด บริเวณป่าชายเลนของไทย
ได้แก่ ชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย และบริเวณชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
*************************

วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
1. ควรใช้ไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การนำเอาเศษไม้มาทำเป็นไม้อัด
2. งดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า และโค่นถางป่าบริเวณภูเขาเพื่อทำไรเลื่อนลอย


###แร่ธาตุ###

แร่ธาตุ เป็นทรัพยากรธรรมชาตที่สำคัญที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบัน
เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิต เช่น การใช้ก๊าซในครัวเรือน
การใช้น้ำมันกับยานพาหนะและจะเห็นว่าปัจจุบันน้ำมันปิโตรเลียม
มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจของโลก เป็นต้น

ทรัพยากรแร่ธาตุแบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. แร่โลหะ เป็นแร่ที่มีความวาว โดยสามารถทำเป็นแผ่นบาง ๆ หรือดึงเป็นเส้นยาวได้
และเป็นสื่อความร้อนได้ดี แร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่

ดีบุก ใช้ทำแผ่นดีบุกสำหรับห่ออาหาร และผลิตภัณฑ์กันชื้น หรือใช้เคลือบโลหะ
กับสนิมโลหะผสมหล่อตัวพิมพ์ หลอดบรรจุของเหลว ซึ่งพบมากบริเวณเทือกเขา
ด้านตะวันตกของประเทศตลอดแนวเหนือถึงใต้ ผลิตได้มากที่จังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง
ตรัง สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร และราชบุรี ประเทศไทยสามารถ
ผลิตแร่ดีบุกได้มากเป็นอันดับสามของโลก รองจากประเทศมาเลเซีย และโบลิเวีย

แมงกานีส ใช้ประโยชน์ในการทำแบตเตอรี อุตสาหกรรมเคมีและถลุงเหล็ก
แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลำพูน ลงขลา ยะลา เชียงใหม่ เลย ชลบุรี กาญจนบุรี
และปัตตานี แร่ที่ผลิตได้ส่งไปขายยังฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย และใต้หวัน

วุลแฟรม นำมาใช้ทำโลหะผสมที่แข็งกว่าเหล็กกล้า และไม่เป็นสนิม ใช้เป็นเครื่องมือเจาะเหล็ก
และโลหะอื่นได้ทุกชนิด ทำเกราะเรือรบ รถถัง กระสุนเจาะเกราะ ไส้หลอดวิทยุ เป็นต้น
แหล่งผลิตส่วนมากมักพบอยู่รวมกับแร่ดีบุก ปัจจุบันมีการทำเหมืองที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
สงขลา และยะลา เมื่อผลิตได้ส่งไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมณี และญีปุ่น

พลวง นำมาใช้ทำโลหะผสมในอุตสาหกรรมทำสีทาบ้าน ตัวพิมพ์ และการบัดกรีโลหะ
แหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี ลพบุรี เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก และแพร่
เมื่อผลิตแล้วนำขายต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมเยอรมนี ญี่ปุ่น และไต้หวัน

เหล็ก เป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทั้งอุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมหนัก แหล่งผลิตที่สำคัญ
ได้แก่ จังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช สระบุรี และยังมีแหล่งแร่เหล็กที่ยังไม่ได้เปิดเหมืองแร่เหล็ก
คือที่จังหวัดเลย ฉะเชิงเทรา และแพร่

ตะกั่ว ใช้ประโยชน์ในการทำลูกปืน ทำแผ่นกรีตแบตเตอรี สารประกอบของตะกั่วใช้ทาสีแก้ว โลหะผสม
แหล่งผลิตที่สำคัญคือจังหวัดกาญจนบุรี และเชียงใหม่

สังกะสี ใช้เคลือบแผ่นเหล็กกันสนิม ได้แก่ การเคลือบแผ่นเหล็กมุงหลังคาที่เรียกว่าสังกะสี แหล่งผลิตสำคัญ
ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี แพร่ ลำปาง และตาก

2. แร่อโลหะ เป็นแร่ที่ไม่มีความวาว เป็นสื่อความร้อนและสื่อนำไฟฟ้าที่ไม่ดี และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตรงข้ามกับโลหะ
แร่อโลหะที่สำคัญ ได้แก่

ฟลูออไรต์ ประโยชน์สำคัญคือ ถ้าเป็นเนื้อบริสุทธิ์ใช้ทำกรดไฮไดรฟลูออริก และอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
สำหรับชนิดรองลงมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว โลหะเคลือบและถลุงเหล็ก แหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ จังหวัดลำพูน
เชียงใหม่ เพชรบุรี ราชบุรี และยังพบที่แม่ฮ่องสอน และประจวบคีรีขันธ์ แร่ที่ผลิตได้จะส่งไปขายที่ญี่ปุ่น

ยิปซัม ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์และชอล์ก แหล่งผลิตสำคัญที่จังหวัดพิจิตร และสุราษฎร์ธานี

หินปูนและหินอ่อน หินปูนคือหินที่ใช้ผลิตคอนกรีต หรือใช้รองไม้หมอนตามรางรถไฟ หรือนำมาเผาทำปูนขาว
มีอยู่ตามเทือกเขาทั่วไป หินอ่อนเป็นหินซึ่งแปรสภาพมาจากหินปูน เป็นหินที่มีความสวยงาม และราคาแพง
พบมากที่จังหวัดสุโขทัย และสระบุรี

ทราย ทรายที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยทรายที่ใช้ในการถมที่และก่อสร้างมีอยู่ตามแม่น้ำทั่ว ๆ ไป
เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนทรายแก้วเป็นทรายขาวบริสุทธิ์ ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมแก้ว
พบมากที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และสงขลา

เกลือ เกลือเป็นแร่ธาตุที่ใช้ในการประกอบอาหาร ถนอมอาหาร และใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ในประเทศไทย
มีเกลืออยู่ 2 ประเภท คือ
ก. เกลือสมุทร เป็นเกลือที่ได้มาจากการกักน้ำทะเล แล้วปล่อยให้ระเหยแห้งไปเอง ทำกันมากใน
จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสมุทรปราการ
ข. เกลือสินเธาว์ เป็นเกลือที่ได้จากผลึกเกลือในดิน หรือน้ำละลายสารเกลือในดิน พบมากในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และมหาสารคาม

หินดินดาน หินดินดานที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นหินดินดานที่เป็นหินน้ำมัน คือเป็นหินที่มีเนื้อละเอียด
และมีอินทรีย์สาร เมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันคุณภาพต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้ในเชื้อเพลิงได้ พบมากตาม
ภูเขาทางภาคเหนือ เช่น ในจังหวัดตาก และกระบี่

ดินมาร์ลหรือดินสอพอง ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ผลิตมากในจังหวัดลพบุรี
นครสวรรค์ และกาญจนบุรี

3. แร่เชื้อเพลิง แร่เชื้อเพลิงเป็นแร่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันเราต้องสั่งแร่เชื้อเพลิงเข้าประเทศปีละมากๆ ทำให้เราต้องขาดดุลการค้าต่างประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

สำหรับแร่เชื้อเพลิงที่ขุดพบในประเทศไทย มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศที่สำคัญได้แก่

ถ่านหินลิกไนต์ ถ่านหินประเภทลิกไนต์ที่ขุดพบในประเทศไทยเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ คือเมื่อมีการเผาไหม้
ให้ความร้อนไม่สูงมาก แต่จะมีเถ้าถ่านมาก ไม่เหมาะในการถลุงเหล็กปัจจุบันเราใช้ประโยชน์กับโรงงานไฟฟ้า
และบ่มใบยาสูบ พบมากที่ลำปาง กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครพนม กาฬสินธุ์ และลำพูน

ปิโตรเลี่ยม เป็นน้ำมันดิบ เมื่อนำมากลั่นจะให้น้ำมันประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้กับเครื่องจักร เครื่องยนต์
ในประเทศไทยขุดพบน้ำมันปิโตรเลียมบริเวณลุ่มแม่น้ำกก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลานกระบือ
จังหวัดกำแพงเพชร บริเวณอ่าวไทย และบริเวณในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรี

ก๊าซธรรมชาติ เป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ติดไฟ และใช้พลังงานความร้อน และแสงสว่าง ปัจจุบันสามารถขุด
และนำมาใช้แล้วคือบริเวณอ่าวไทย โดยตั้งสถานีใหญ่แยกก๊าซที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
และมีการสำรวจพบในเขตอำเภอน้ำพอง และอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

หินน้ำมัน เป็นหินที่สามารถนำมากลั่นเอาน้ำมันมาทำเชื้อเพลิงได้ แต่ปัจจุบันไทยเราไม่นำมากลั่น เพราะ
ต้นทุนการผลิตสูงมาก แหล่งที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่บริเวณจังหวัดตาก และจังหวัดกระบี่








FROM HER
FROM HER
PROGRAM FREE
DOWNLOADFREE

Read more!

0 Response to "มนุษย์กับทรัพยากร"

Post a Comment

Followers