เศรษฐศาสตร์จุลภาค

vition........

สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

Posted by เศรษฐศาสตร์ On 21:08

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประโยชน์กับสังคมในหลายรูปแบบ ดังนั้นในการประเมิน
มูลค่าสิ่งแวดล้อมต้องคำนึงถึงประเภทของประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการ
ประเมิน โดยมูลค่ารวมทางเศรษฐศาสตร์ของสิ่งแวดล้อม (Total Economic Value) ประกอบด้วย 3 ส่วน
(รูปที่ 1) ได้แก่
Use Value มูลค่าจากการที่สิ่งแวดล้อมให้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมกับประชาชนแบ่งเป็น 2
ประเภท คือ
Direct Use Value คือ มูลค่าจากการที่ประชาชนในฐานะผู้บริโภคได้รับประโยชน์โดยตรงจาก
สิ่งแวดล้อม เช่น การเข้าชมอุทยานแห่งชาติ ผลกระทบของคุณภาพอากาศต่อสุขภาพ ผลกระทบของระดับ
กลิ่นและเสียงบริเวณที่อยู่อาศัย หรือผลกระทบของความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทิ้งสารเคมีผิดวิธี เป็นต้น
Indirect Use Value คือ มูลค่าจากการที่สิ่งแวดล้อมทำหน้าที่เป็นปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่งและให้
ประโยชน์ต่อประชาชนโดยผ่านกระบวนการผลิต เช่น คุณภาพน้ำในแม่น้ำที่สะอาดช่วยลดต้นทุนการผลิต
น้ำประปาทำให้ค่าน้ำประปาลดลง หรือคุณภาพน้ำที่มีผลต่อการเลี้ยงกุ้ง เป็นต้น
Non-Use Value มูลค่าจากการที่สิ่งแวดล้อมให้ประโยชน์กับประชาชนในรูปของการสร้างความ
รู้สึกที่ดีเมื่อทราบว่าสิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่ดีโดยที่ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้สิ่งแวดล้อมนั้น
เลยไม่ว่าทางตรง (Direct Use) หรือทางอ้อม (Indirect Use) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
Existence Value คือ มูลค่าจากการที่ประชาชนได้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมเมื่อทราบว่า
สิ่งแวดล้อมยังอยู่ในสภาพที่ดี เช่น การอนุรักษ์เต่าทะเล ช้าง หรือสัตว์สงวนอื่นๆ เป็นต้น


Bequest Value คือ มูลค่าจากการที่ประชาชนได้ประโยชน์เมื่อทราบว่าสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในสภาพ
ที่ดีเพราะลูกหลานหรือประชาชนรุ่นหลังจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต
Option Value มูลค่าจากการที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะในรูปแบบใดใน
ขณะนี้ แต่คิดว่าจะมีโอกาสใช้ประโยชน์ในอนาคต ดังนั้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ขณะนี้ประชาชนอาจได้
รับประโยชน์เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เขาสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ถ้าเขา
ต้องการ
2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
รูปที่ 1 ประเภทของมูลค่าสิ่งแวดล้อม
ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2543
วิธีการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม
วิธีการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมมีหลายวิธี ทั้งที่เป็นการประเมินทางตรงและทางอ้อม การ
ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยวิธีทางตรง (Direct Methods) ได้แก่ Contingent Valuation Methods
(CVM)1 เป็นการถามคำถามให้ประชาชนบอกถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำลังศึกษาอยู่ว่ามีมูลค่าเท่าไร
หรือมูลค่าที่ประชาชนยินยอมจ่ายเพื่อป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่วนวิธีการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางอ้อม (Indirect Methods) เป็นการศึกษา มูลค่าสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีการซื้อขาย
โดยตรงแต่มูลค่านี้อาจซ่อนอยู่ในมูลค่าของสินค้าอื่นๆ ได้แก่ วิธี Travel Cost Methods (TCM)2 เป็นการ
ศึกษาที่นิยมใช้เพื่อประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมในเชิงนันทนาการ โดยใช้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและต้นทุน
ค่าเสียโอกาสของเวลาของนักท่องเที่ยวเป็นข้อมูลบอกมูลค่าเชิงนันทนาการของสถานที่นั้น และวิธี
1 CVM เป็นวิธีที่มีความคล่องตัวมากและสามารถนำมาใช้กับการประเมินมูลค่าได้ทุกประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะ
การตั้งคำถามที่จะสัมภาษณ์ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะเกิดขึ้น
หรือด้วยการสร้างสถานการณ์สมมติ (Hypothetical Market) โดยการถามคำถามในลักษณะของความเต็มใจที่
จะจ่าย (willingness to pay: WTP) หรือ ความเต็มใจที่ยอมรับเงินชดเชย (willingness to accept
compensation: WTAC) ทั้งนี้ลักษณะคำถามจะเป็นแบบใดจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ของสถานการณ์
นั้นๆ ประกอบกันอีกทีหนึ่ง
2 TCM เป็นวิธีที่ใช้ประเมินมูลค่า Direct Use Value ที่เป็นมูลค่าเชิงนันทนาการเท่านั้น วิธีการนี้มีข้อสมมุติฐานว่า
ประชาชนที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวจะเดินทางมาท่องเที่ยวบ่อยกว่าประชาชนที่พักอาศัยอยู่ไกลกว่า และแหล่ง
ท่องเที่ยวใดที่อยู่ไกล แต่สามารถดึงดูดประชาชนให้เดินทางมาท่องเที่ยวได้ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงการที่
ประชาชนให้มูลค่าเชิงนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวนั้นสูงด้วยเช่นกัน
ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2543
นอกจากการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยทางตรงและทางอ้อมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการ
ประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตในกระบวนการผลิตด้วยวิธี Environmental quality
as a Factor Input4 ซึ่งสามารถกระทำผ่าน Production Function หรือ Cost Function เพื่อการศึกษาถึงการ
เปลี่ยนแปลงสวัสดิการของผู้ผลิตหรือผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป วิธีการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดย
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคเมื่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป หรือเรียกว่าวิธี
Market Valuation และ วิธี Benefit Transfer Approach ซึ่งเป็นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยใช้
มูลค่าสิ่งแวดล้อมที่มีผู้อื่นประเมินไว้แล้วจากสถานที่อื่นมาปรับค่าตามความแตกต่างของสภาพแวดล้อม
หรือสภาพทางสังคม วิธี Benefit Transfer Approach เป็นวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินมูลค่าได้
ทุกประเภท เพราะวิธีนี้ไม่ต้องทำการสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในกรณีที่เกิด
3 HPM เป็นวิธีที่ใช้ประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมประเภท Direct Use Value และ Indirect Use Value ที่เกี่ยวข้องกับ
มูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือค่าจ้าง กล่าวคือ เป็นการใช้ราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาที่ดินเป็นราคาตัวแทน
มูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือการใช้ความแตกต่างของค่าจ้างเป็นราคาตัวแทน
มูลค่าของคุณภาพและความปลอดภัยของการทำงาน เช่น มลพิษทางอากาศทำให้ราคาบ้านลดต่ำลง หรือ
ความเสี่ยงจากการทำงานในโรงงานที่มีอันตรายจากสารเคมีทำให้ต้องจ้างคนงานในอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้น
เป็นต้น
4 Environmental quality as a Factor Input เป็นวิธีการประเมินเฉพาะกรณีที่สิ่งแวดล้อมทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่ง
ของปัจจัยการผลิต โดยใช้ข้อมูลในระบบตลาดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเอกชนเพื่อนำมาประเมินมูลค่าสินค้า/
บริการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เช่น น้ำเสียทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำประปาสูงขึ้น
การสูญเสียป่าชายเลนทำให้จำนวนลูกปลาลดลง ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลให้ปริมาณปลาลดลงด้วย เป็นต้น
4 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกระทันหันและต้องการข้อมูลอย่างเร่งด่วนในการตัดสินใจดำเนินการ และไม่มี
เวลามากพอในการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีทางตรง ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณที่สูง
กว่ามาก
วิธี Benefit Transfer เป็นวิธีที่ผู้ประเมินไม่ต้องทำการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยตรงตามวิธี
ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีการโอนมูลค่าสิ่งแวดล้อมจากสถานที่ที่ได้มีผู้ทำการศึกษาประเมินไว้แล้ว
(Study Site) มายังพื้นที่ที่กำลังตัดสินใจดำเนินโครงการ(Policy Site) ซึ่งพื้นที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวจะต้องมี
ลักษณะสภาพพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน โดยอาจจะเป็นการโอนในรูปประโยชน์ กล่าวคือ โครงการที่กำลังจะเกิด
ขึ้นมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร หรือในรูปของความเสียหายของสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น การประเมิน
ความเสียหายของป่าไม้ในประเทศก. ผู้ประเมินอาจนำมูลค่าป่าที่ศึกษาไว้แล้วจากประเทศข. แล้วมาทำ
การปรับค่าเพื่อนำมาใช้เป็นมูลค่าของป่าในประเทศก. แทนในการปรับมูลค่า ผู้ประเมินอาจพิจารณาจาก
ความแตกต่างของระดับรายได้ของคนในประเทศก. และประเทศข. ขนาดของพื้นที่ป่าที่แตกต่างกัน หรือ
จำนวนประชากรที่รับผลกระทบที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ถึงแม้วิธี Benefit Transfer จะมีข้อจำกัดแต่ก็ถือว่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์ทั้งในด้านการประหยัด
เวลา และงบประมาณในการทำการศึกษา เพราะในกรณีที่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกระทันหัน รัฐบาล
อาจต้องการข้อมูลอย่างเร่งด่วนในการช่วยตัดสินใจว่าควรดำเนินการอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่
มีเวลามากพอที่จะให้ทำการศึกษาเพื่อประเมินมูลค่าโดยตรง เพราะต้องใช้เวลามากในการสำรวจหรือเก็บ
ข้อมูลภาคสนาม และวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นวิธี Benefit Transfer จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์เพราะสามารถ
คำนวณมูลค่าสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้เป็นตัวเลขคร่าวๆ ว่าการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่
เกิดขึ้นมีมูลค่าประมาณเท่าไร ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ที่นำตัวเลขมูลค่าสิ่งแวดล้อมไปใช้ควรระวังว่ามูลค่าที่
ได้มานั้นคำนวณมาด้วยวิธีใดและมีข้อจำกัดอะไรบ้าง นอกจากนี้วิธี Benefit Transfer จะมีประโยชน์อีก
ทางหนึ่ง เมื่อต้องการที่จะประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีอื่นๆ แต่ยังขาดแคลนบุคลากร นักวิจัย หรือ
ผู้ชำนาญการ ที่จะมาทำการประเมินมูลค่าด้วยเครื่องมือนั้นๆ ประกอบกับการที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอ ที่จะ
ทำการประเมินมูลค่าด้วยวิธีอื่นๆ จึงต้องอาศัยวิธีการโอนมูลค่าจากแหล่งที่ทำการศึกษาไว้แล้วมาใช้เช่น
เดียวกัน อย่างไรก็ตามในประเทศไทย การศึกษาวิจัยทางด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้าน
เศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ต่อการศึกษา จึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายและเกิดการยอมรับเท่าที่ควร
ผลการศึกษาที่ได้ยังขาดความแม่นยำ ดังนั้น เมื่อมีความจำเป็นต้องทำการประเมินเพื่อตีมูลค่าสิ่งแวดล้อม
ควรจะใช้วิธี Benefit Transfer ซึ่งย่อมจะให้ผลการศึกษาที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
การโอนประโยชน์สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ (1) การโอนผ่านสมการโดยนำสมการทำนายที่ได้จากการ
คัดเลือก Study Site นั้นๆ โอนมาใช้ทั้งสมการ (Transfer of Function) และ (2) การโอนเฉพาะมูลค่า/
ตัวเลข (Transfer of Value)
ทุกวิธีที่นำมาใช้ประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการสอบถาม หรือศึกษาถึงพฤติกรรมของ
ประชาชนต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทราบว่าประชาชนให้ความสำคัญต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างไร และ
ระดับความสำคัญนี้เองจะเป็นตัวกำหนดมูลค่าสิ่งแวดล้อมที่ต้องการคำนวณ ดังนั้น วิธีการประเมินมูลค่า
สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐศาสตร์แท้จริงแล้วก็คือการวัดระดับความสำคัญของผลกระทบสิ่งแวดล้อมใน
ทัศนคติของประชาชนนั่นเอง
FROM HER
FROM HER
PROGRAM FREE
DOWNLOADFREE

Read more!

0 Response to "สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย"

Post a Comment

Followers