เศรษฐศาสตร์จุลภาค

vition........

เศรษฐศาสตร์

Posted by เศรษฐศาสตร์ On 23:56

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ
วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน(เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน
เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจกิจกรรมของตัวแทนปัจเจก เช่นครัวเรือนและหน่วยธุรกิจเป็นต้น 2. เศรษฐศาสตร์มหาภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานรวมและอุปสงค์รวม สำหรับปริมาณเงิน ทุน และสินค้าโภคภัณฑ์
สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรร ทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัด

ด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆ นั่นเอง
ในวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบนี้โอคลาสสิก
ความหมายของเศรษฐศาสตร์
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
โดยทั่วไปก่อนที่จะศึกษาอะไร สิ่งที่ผู้ศึกษาควรจะต้องทราบเป็นลำดับแรกก็คือสาขาวิชานั้นๆเป็นศาสตร์ที่ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด สำหรับการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ก็เช่นเดียวกัน มีผู้รู้ได้ให้คำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้มากมายหลายท่าน อาทิ
อัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงความหมาย ของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้ในหนังสือ Principle of Economics ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ของมนุษย์ทั้งระดับบุคคลและสังคม ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการดำรงชีพให้ได้รับความสุขสมบูรณ์
พอล แซมมวลสัน (Pual Samuelson) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ให้คำนิยามวิชาเศรษฐศาสตร์ว่าคือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่มนุษย์ และสังคมจะโดยใช้เงินหรือไม่ก็ตาม ตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้าและ บริการ และจำหน่ายจ่ายแจกสินค้า และบริการเหล่านั้นไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆในสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ส่วนคำนิยามที่ได้รับความนิยมได้แก่คำนิยามของไลโอเนล รอบบินส์ (Lionel Robbins) ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ An Essay on the Nature and Significance of Economic Science ว่าเศรษฐศาสตร์คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอัน มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
ประยูร เถลิงศรี ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ หลักเศรษฐศาสตร์ ว่าวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาว่ามนุษย์เลือก ตัดสินใจอย่างไรในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสิ่งของและบริการ และแบ่งปันสิ่งของและบริการเหล่านั้นเพื่ออุปโภคและบริโภคระหว่างบุคคล ต่างๆในสังคม ทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคต
มนูญ พาหิระ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ ทฤษฎีราคา ว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาในเรื่อง ที่เกี่ยวกับการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจมาทำการผลิตสินค้าและ บริการเพื่อสนองหรือบำบัดความต้องการของมนุษย์
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของคำว่าเศรษฐศาสตร์ไว้ อย่างไรก็ตาม พอสรุปได้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งโดยทั่วไปมีความ ต้องการไม่จำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ความหมายของเศรษฐศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสารรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด
ที่มาของเศรษฐศาสตร์
คำว่า “เศรษฐศาสตร์” มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- เศรษฐศาสตร์ เป็นความรู้เกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ เพื่อได้มาซึ่งสิ่งของและบริการสำหรับใช้ในการเลี้ยงชีพ เพื่อความคงอยู่ในโลกที่มีอารยธรรม
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตสิ่งของและบริการเพื่อบำบัด ความต้องการของมนุษย์ และจำแนกแจกจ่ายสิ่งของและบริการเหล่านี้ไปยังบุคคลที่ต้องการ
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการดำรงชีวิต โดยศึกษาเป็นหน่วยย่อยหรือส่วนรวมของสังคมว่าหารายได้มาอย่างไรและจะใช้จ่าย ไปอย่างไร
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่าง จำกัด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการที่มนุษย์และสังคมจะโดยมีการใช้เงินหรือไม่ก็ตาม เลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีจำกัดซึ่งอาจนำทรัพยากรนี้ไปใช้ในทางอื่นได้ หลายทาง ผลิตสินค้าต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันและจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าเหล่านั้นไปยังประชาชนทั่วไป และกลุ่มชนในสังคมเพื่อการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต
จะเห็นได้ว่าความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นแตกต่างกันออกไป แล้วแต่จะมองในแง่ใด อย่างไรก็ตามพอสรุปสาระสำคัญได้ว่า เศรษฐศาสตร์ คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการที่มนุษย์และสังคมเลือกใช้วิธีการในการนำเอา ทรัพยากรการผลิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อบำบัดความ ต้องการและหาวิถีทางที่จะจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการที่ผลิตไปยังประชาชน ทั่วไป
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ครอบครัว
เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การที่สังคมจะพัฒนาได้นั้น ต้องอาศัยครอบครัวและมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัว การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ครอบครัวจะช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักตัดสินใจในการเลือกซื้อสิ่งของและบริการที่มีความจำเป็นต่อการดำรง ชีวิต รู้จักวิธีการออมและการลงทุนในลักษณะต่างๆ รู้ภาวะเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงและใช้ความรู้ทาง เศรษฐศาสตร์เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์มีขอบข่ายในเรื่องของการผลิต การบริโภค การแบ่งสรร การแลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือ การกินดีอยู่ดี
ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาเศรษฐศาสตร์
ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ควรมีความรู้เบื้องต้นดังต่อไปนี้
1. ความต้องการ
ความต้องการ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์ และปัญหา
รากฐานทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นด้วยเพราะความต้องการของคนเรามีอยู่มากมาย แต่สิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการตามธรรมชาติได้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ด้วยเหตุที่ความต้องการของคนเรากับสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่สมดุลกัน จึงจำเป็นต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาให้พอกับความต้องการ เมื่อสร้างแล้วก็ต้องหาวิธีแจกจ่ายออกไปเพื่อสนองความต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดปัญหาในด้านการผลิต การขนส่ง การค้า การเงิน การธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมายตามมา ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวเศรษฐศาสตร์จะมีส่วนเข้าร่วมในการแก้ปัญหา ฉะนั้นในขั้นแรกควรได้รู้ลักษณะของความต้องการก่อน ในที่นี้ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น
1.1 ความต้องการโดยทั่วไปไม่มีที่สิ้นสุด ในสมัยโบราณคนเรามีความต้องการเพียงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมในเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์มีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น ต้องการเสื้อผ้าที่ทันสมัย บ้านที่สวยงาม ความต้องการเหล่านี้เมื่อได้มาแล้ว ก็ไม่สิ้นสุด และเกิดความต้องการอื่นๆอีกต่อไป
1.2 ความต้องการเฉพาะอย่าง แม้ว่าความต้องการโดยทั่วไปจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่ความต้องการเฉพาะอย่าง ย่อมมีที่สิ้นสุดได้เสมอ เช่น เมื่อเกิดความหิวก็ย่อมต้องการอาหาร และเมื่อได้รับประทานอิ่มแล้ว ความต้องการก็จะหมดไป
1.3 ความต้องการที่อาจทดแทนกันได้ หมายความว่า เมื่อเราต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะได้สิ่งนั้น เราอาจเลือกหาสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อสนองความต้องการ เช่น เมื่อเราหิวข้าวแต่ไม่มีข้าว เราอาจรับประทานก๋วยเตี๋ยวแทนได้
1.4 ความต้องการที่อาจกลายเป็นนิสัยได้ เมื่อเราต้องการสิ่งใด และสามารถหาสิ่งเหล่านั้นมาสนองความต้องการได้ทุกครั้งไป ในที่สุดจะกลายเป็นนิสัยเลิกไม่ได้ เช่น ผู้ที่ติดกาแฟ เป็นต้น
1.5 ความต้องการที่มีส่วนเกี่ยวพันกัน ความต้องการประเภทนี้ แยกออกจากกันได้ยาก เพราะเป็นส่วนประกอบของกันและกัน เช่น ถ้าต้องการปากกาหมึกซึม ก็ต้องการน้ำหมึกด้วยเป็นต้น




คำว่า เศรษฐศาสตร์
คำว่า เศรษฐศาสตร์ ในภาษาอังกฤษ Economics มาจากภาษากรีก οίκος [ออยคอส] แปลว่า 'ครัวเรือน' และ νομος [นอมอส] แปลว่า 'กฎระเบียบ' ดังนั้นรวมกันแล้วจึงหมายความว่า "การจัดการในครัวเรือน" ; สำหรับภาษาไทย [เศรษฐศาสตร์] แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ และ [ศาสตร์] แปลว่า ระบบวิชาความรู้ มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงแปลว่าวิชาที่ว่าด้วยประสิทธิภาพ)

นิยามของเศรษฐศาสตร์
ถ้าจะให้พูดกันอย่างกว้างๆแล้ว เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการในเรื่องของความต้องการ อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากคำนิยามดังกล่าวแล้วก็ยังมีคำนิยามหลากหลายนับแต่ อดีตจนถึงปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากศัพท์คำว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง จนมาถึงศัพท์สมัยใหม่คือคำว่าเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เคยให้คำนิยามเศรษฐศาสตร์ในฐานะที่เป็น "ศาสตร์เกี่ยวกับการคิด" ซึ่งตามประวัติของเศรษฐศาสตร์นั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับ "ความมั่งคั่ง" จนกระทั่งเป็น "สวัสดิการ" ไปจนถึงการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับภาวะการได้อย่างเสียอย่าง (trade offs) แต่สำหรับสำนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่อย่างนีโอคลาสสิกจะให้ความสนใจเกี่ยวกับ ตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้ และผลกระทบของมันกับระดับราคา
หากจะกล่าวโดยสรุป สามารถกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ให้กับมนุษย์ซึ่งมีความต้องการอย่างไม่จำกัด ศาสตร์นี้จึงให้ความสนใจว่าจะจัดสรรทรัพยากรอะไร ให้กับใคร เท่าใด เมื่อใด และอย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
อุปสงค์และอุปทาน
อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของ ราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิต ได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความ ต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุล
ระดับราคา
ระดับราคาเป็นตัวแปรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวัดการ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน ระดับราคานั้นเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด ดังนั้นทฤษฎีราคาจะกล่าวถึงเส้นกราฟที่แทนการเคลื่อนไหวของปริมาณที่สามารถ วัดค่าได้ ณ เวลาต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างราคากับตัวแปรที่วัดค่าได้อื่นๆ ในหนังสือ ความมั่งคั่งของประเทศชาติ ของ อดัม สมิท ได้กล่าวเอาไว้ว่ามักจะมีภาวะได้อย่างเสียอย่างเสมอระหว่างราคาและความสะดวก สบาย ทฤษฎีทางเศรษฐาสตร์ส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นอยู่บนพื้นฐานของระดับราคาและ ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทาน ในทางทฤษฎีเศรษฐศาตร์แล้วเราสามารถส่งผ่านสัญญาณไปทั่วทั้งสังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยผ่านทางระดับราคา เช่น ระดับราคาที่ต่ำลงจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปทาน ในขณะที่ระดับราคาที่สูงขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ เป็นต้น
แบบจำลองทางเศรษฐศาตร์ในความเป็นจริงหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่ามีรูปแบบ ของ ระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแสดงถึงข้อเท็จจริงที่ระดับราคาไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระใน หลายๆตลาด ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจมักจะเข้ามาแสดงประเด็นโต้แย้งเพื่อให้เห็นถึง สาเหตุของความติดขัดในทางเศรษฐกิจ หรือระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งในที่สุดแล้วก็จะทำให้ไม่สามารถบรรลุ ดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทานได้
มีเศรษฐศาสตร์บางสาขาจะให้ความสนใจว่าระดับราคานั้นสามารถวัดมูลค่าได้ อย่างถูกต้องหรือไม่ ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นกระแสหลักมักจะพบว่าภาวะความขาดแคลนซึ่งเป็น ปัจจัยหลักนั้นไม่ได้สะท้อนลงไปยังระดับราคา จึงอาจจะกล่าวได้ว่ามีผลกระทบภายนอกของต้นทุน ด้วยเหตุที่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดจะทำนายว่าสินค้าที่มีการขาดแคลนแต่มีราคา ต่ำกว่าปกติ จะถูกบริโภคมากเกินพอดี (ให้ดูต้นทุนทางสังคม) นี่จึงเป็นที่มาของทฤษฎีสินค้าสาธารณะ
ชนิดของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Mainstream economics)
เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค(Classical Economics)
เศรษฐศาสตร์ของเคนส์ (Keynesian Economics)
เศรษฐศาสตร์คลาสสิคสมัยใหม่ (Neoclassical Economics)
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)
เศรษฐศาสตร์มหภาค(Macroeconomics)
เศรษฐศาสตร์ทางเลือก (Hetarodox Economics)
เศรษฐศาสตร์แนวมาร์กซ์ (Post Keynesian Economics)
เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economics)
เศรษฐศาสตร์สถาบันแนววิวัฒน์(Evolutionary Institutional Economics)
เศรษฐศาสตร์สถาบันแนวใหม่ (New Institutional Economics)
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Economics)
เศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง(Experimental Economics)
เศรษฐศาสตร์แนวสตรีศึกษา (Feminist Economics)
เศรษฐศาสตร์สังคม (Social Economics)
แหล่งข้อมูลอื่น
Tangnamo.com เว็บเศรษฐศาสตร์สำหรับทุกระดับ
www.pkarchive.org เว็บไซต์ของพอล ครุกแมน
MBE economics เศรษฐศาสตร์ nida mbe 11 นิด้า พัฒนาการเศรษฐกิจ รวมบทความจากแหล่งข่าวต่าง ๆ
รวมงานเขียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ของปกป้อง จันวิทย์

DOWNLOADFREE

Read more!

0 Response to "เศรษฐศาสตร์"

Post a Comment

Followers