เศรษฐศาสตร์จุลภาค

vition........

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

Posted by เศรษฐศาสตร์ On 23:48

ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
คำว่า “เศรษฐศาสตร์” มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- เศรษฐศาสตร์ เป็นความรู้เกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ เพื่อได้มาซึ่งสิ่งของและบริการสำหรับใช้ในการเลี้ยงชีพ เพื่อความคงอยู่ในโลกที่มีอารยธรรม
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตสิ่งของและบริการเพื่อบำบัด ความต้องการของมนุษย์ และจำแนกแจกจ่ายสิ่งของและบริการเหล่านี้ไปยังบุคคลที่ต้องการ
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการดำรงชีวิต โดยศึกษาเป็นหน่วยย่อยหรือส่วนรวมของสังคมว่าหารายได้มาอย่างไรและจะใช้จ่าย ไปอย่างไร
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่าง จำกัด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการที่มนุษย์และสังคมจะโดยมีการใช้เงินหรือไม่ก็ตาม เลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีจำกัดซึ่งอาจนำทรัพยากรนี้ไปใช้ในทางอื่นได้ หลายทาง ผลิตสินค้าต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันและจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าเหล่านั้นไปยังประชาชนทั่วไป และกลุ่มชนในสังคมเพื่อการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต

จะเห็นได้ว่าความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นแตกต่างกันออกไปแล้วแต่จะมองในแง่ใด อย่างไรก็ตามพอสรุปสาระสำคัญได้ว่า เศรษฐศาสตร์ คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการที่มนุษย์และสังคมเลือกใช้วิธีการในการนำเอา ทรัพยากรการผลิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อบำบัดความ ต้องการและหาวิถีทางที่จะจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการที่ผลิตไปยังประชาชน ทั่วไป
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ครอบครัว
เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การที่สังคมจะพัฒนาได้นั้น ต้องอาศัยครอบครัวและมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัว การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ครอบครัวจะช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักตัดสินใจในการเลือกซื้อสิ่งของและบริการที่มีความจำเป็นต่อการดำรง ชีวิต รู้จักวิธีการออมและการลงทุนในลักษณะต่างๆ รู้ภาวะเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงและใช้ความรู้ทาง เศรษฐศาสตร์เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์มีขอบข่ายในเรื่องของการผลิต การบริโภค การแบ่งสรร การแลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือ การกินดีอยู่ดี

ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาเศรษฐศาสตร์

ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ควรมีความรู้เบื้องต้นดังต่อไปนี้

1. ความต้องการ

ความต้องการ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์ และปัญหา

ราก ฐานทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นด้วยเพราะความต้องการของคนเรามีอยู่มากมาย แต่สิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการตามธรรมชาติได้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ด้วยเหตุที่ความต้องการของคนเรากับสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่สมดุลกัน จึงจำเป็นต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาให้พอกับความต้องการ เมื่อสร้างแล้วก็ต้องหาวิธีแจกจ่ายออกไปเพื่อสนองความต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดปัญหาในด้านการผลิต การขนส่ง การค้า การเงิน การธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมายตามมา ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวเศรษฐศาสตร์จะมีส่วนเข้าร่วมในการแก้ปัญหา ฉะนั้นในขั้นแรกควรได้รู้ลักษณะของความต้องการก่อน ในที่นี้ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น

1.1 ความต้องการโดยทั่วไปไม่มีที่สิ้นสุด ในสมัยโบราณคนเรามีความต้องการเพียงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมในเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์มีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น ต้องการเสื้อผ้าที่ทันสมัย บ้านที่สวยงาม ความต้องการเหล่านี้เมื่อได้มาแล้ว ก็ไม่สิ้นสุด และเกิดความต้องการอื่นๆอีกต่อไป

1.2 ความต้องการเฉพาะอย่าง แม้ว่าความต้องการโดยทั่วไปจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่ความต้องการเฉพาะอย่าง ย่อมมีที่สิ้นสุดได้เสมอ เช่น เมื่อเกิดความหิวก็ย่อมต้องการอาหาร และเมื่อได้รับประทานอิ่มแล้ว ความต้องการก็จะหมดไป

1.3 ความต้องการที่อาจทดแทนกันได้ หมายความว่า เมื่อเราต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะได้สิ่งนั้น เราอาจเลือกหาสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อสนองความต้องการ เช่น เมื่อเราหิวข้าวแต่ไม่มีข้าว เราอาจรับประทานก๋วยเตี๋ยวแทนได้

1.4 ความต้องการที่อาจกลายเป็นนิสัยได้ เมื่อเราต้องการสิ่งใด และสามารถหาสิ่งเหล่านั้นมาสนองความต้องการได้ทุกครั้งไป ในที่สุดจะกลายเป็นนิสัยเลิกไม่ได้ เช่น ผู้ที่ติดกาแฟ เป็นต้น

1.5 ความต้องการที่มีส่วนเกี่ยวพันกัน ความต้องการประเภทนี้ แยกออกจากกันได้ยาก เพราะเป็นส่วนประกอบของกันและกัน เช่น ถ้าต้องการปากกาหมึกซึม ก็ต้องการน้ำหมึกด้วยเป็นต้น

DOWNLOADFREE

Read more!

0 Response to "ความหมายของเศรษฐศาสตร์"

Post a Comment

Followers